ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ เป็นคำที่พสกนิกรชาวไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี และนำมาใช้อย่างแพร่หลายอย่างมากในช่วงเวลาแห่งความโศกเศร้าและไว้ทุกข์เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นและแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักของปวงชนชาวไทย แม้ว่าพระองค์ท่านเสด็จสู่สวรรคาลัย แต่ความจงรักภักดีของพสกนิกรยังมิเสื่อมคลาย การกล่าวคำว่า ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ จึงเปรียบเสมือนสิ่งที่สะท้อนว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะสถิตในหัวใจของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป

ไขข้อข้องใจ ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ คำนี้มาจากไหน ? (รายละเอียด)

โดยก่อนหน้านี้ศิลปิน ‘อัสนี-วสันต์’ ได้ขับร้องบทเพลงที่มีชื่อว่า ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป (เพลงเฉลิมพระเกียรติ ‘พ่อหลวงของแผ่นดิน’ ในโอกาสต่างๆ แสนซาบซึ้งกินใจ) ซึ่งประพันธ์โดยนิติพงษ์ ห่อนาค ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ทั้งนี้บทเพลงมีเนื้อหาซาบซึ้งกินใจ ถ่ายทอดเรื่องราวพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย นับว่าเป็นอีกบทเพลงที่ประทับใจหลายๆ คนอย่างไม่รู้ลืม
เผยที่มาของคำว่า ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ ทราบหรือไม่ว่าคำๆ นี้ไม่ใช่คำใหม่ แต่เป็นคำที่มีการใช้มาแล้วเกือบ 200 ปี ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยนคำให้กลายมาเป็นคำที่เราคุ้นชินกันในปัจจุบัน

ไขข้อข้องใจ ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ คำนี้มาจากไหน ? (รายละเอียด)
‘กวีเอกของโลก’ ผู้เริ่มใช้คนแรก
‘สุนทรภู่’ (พ.ศ.2329-2398) กวีสี่แผ่นดินชื่อก้องโลก ที่ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘เชคสเปียร์เมืองไทย’ ผู้ประพันธ์กลอนนิทานเรื่อง ‘อภัยมณี’ และวรรณคดีชื่อดังอีกหลายเรื่อง สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ราชสำนักรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) และสิ้นชีวิตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

ไขข้อข้องใจ ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ คำนี้มาจากไหน ? (รายละเอียด)

ในช่วงประมาณปี พ.ศ.2371 สุนทรภู่ในขณะนั้นบวชเป็นพระภิกษุ ได้เดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้แต่งนิราศชื่อ ‘นิราศภูเขาทอง’ ซึ่งเป็นวรรณคดีประเภทนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ ทั้งนี้บทนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งได้กล่าวถึงความจงรักภักดีของสุนทรภู่ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งมีเนื้อหาอาลัยอาวรณ์และระลึกถึงพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นที่รักและเทิดทูนตลอดการเดินทาง โดยประพันธ์ตอนหนึ่งว่า ‘ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป’ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ ที่คนไทยใช้แสดงความจงรักภักดีและแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในช่วงเวลานี้

‘นิราศภูเขาทอง’ กับ ‘วรรคทองแห่งความจงรักภักดี’
หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต สุนทรภู่ได้ออกบวชนานถึง 20 ปี โดยในขณะที่อายุ 42 ปี ได้ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเดินทางไปวัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยได้แต่งนิราศภูเขาทองซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นบทนิราศที่ไพเราะ ให้แง่คิดในการดำรงชีวิต ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากสุนทรภู่บวชมาหลายพรรษา ทำให้มีความคิดสุขุมมากขึ้น ทั้งนี้มีตอนหนึ่งที่สุนทรภู่ได้ประพันธ์ไว้ว่า…

ไขข้อข้องใจ ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ คำนี้มาจากไหน ? (รายละเอียด)


 

ความหมาย : เมื่อเรือล่องมาถึงหน้าวัง ก็รู้สึกโศกเศร้าอาลัยถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ซึ่งมีพระมหากรุณาธิคุณกับสุนทรภู่ เมื่อก่อนเคยเข้าเฝ้าพระองค์ท่านอย่างใกล้ชิด แต่หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคตนั้น สุนทรภู่เองก็เหมือนได้ตายไปด้วย เพราะไม่มีผู้ให้ความเมตตาและช่วยเหลือ ชีวิตจึงยากแค้นแสนเข็ญ และมีโรคมีกรรมเข้ามารุมล้อม ไม่มีใครที่จะพึ่งพาได้ จึงได้บวชเพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พร้อมทั้งประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม เพื่อถวายอาลัยแด่พระองค์ แม้เกิดชาติใดใดก็ขอให้เป็นข้ารับใช้พระองค์ตลอดไป

ไขข้อข้องใจ ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ คำนี้มาจากไหน ? (รายละเอียด)

จะเห็นได้ว่าท่อน ‘ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป’ เป็นเสมือนวรรคทองของนิราศที่กวีเอกได้แสดงความจงรักภักดีอย่างเหลือล้นต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นอกจากนี้ในนิราศเรื่องเดียวกันนี้ ยังมีอีกหลายบทที่สุนทรภู่ได้รำพันถึงล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรีด้วยความอาลัยอาวรณ์อย่างยิ่ง
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสุนทรภู่คือผู้ใช้คำว่า ‘ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป’ เป็นคนแรก ซึ่งปรากฏครั้งแรกในนิราศภูเขาทอง ที่ประพันธ์เมื่อประมาณปี พ.ศ.2371 ต่อมาคำๆ นี้จึงปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จนกลายเป็นคำว่า ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน

ไขข้อข้องใจ ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ คำนี้มาจากไหน ? (รายละเอียด)

ทั้งนี้ ‘วินทร์ เลียววาริณ’ นักเขียนรางวัลซีไรต์และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องราวความรู้สึกและความจงรักภักดีของสุนทรภู่ในนิราศภูเขาทองนั้นเป็นความรู้สึกเดียวกันที่ประชาชนชาวไทยในวันนี้มีต่อ ‘ในหลวงรัชกาลที่ 9’ ซึ่งพสกนิกรต่างน้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้…ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป


CR.https://daily.rabbit.co.th