บันทึกไว้ในความทรงจำ !!! รอยยิ้มที่น่ารักของ"โลมาอิรวดี" ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน

บันทึกไว้ในความทรงจำ !!! รอยยิ้มที่น่ารักของ"โลมาอิรวดี" ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน

บทความนี้ผู้เขียนขอนำเรื่องราวของ “ปาข่า” หรือ “ปลาข่า” ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่หายากในปัจจุบัน และ กำลังอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์เต็มทีแล้วในขณะนี้!!มาให้ท่านผู้ชมผู้อ่านได้ทำความรู้จักไปพร้อมๆกันค่ะดังนี้…


เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 60 เฟซบุ๊กเพจสนับสนุนนายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือสปป.ลาว ได้มีการโพสต์เผยแพร่เรื่องราวอันน่าเสียดายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายาก “โลมาอิรวดี” หรือโลมาน้ำจีด หรือ โลมาหัวบาตร หรือ ที่ชาวลาวเรียกขานว่า “ปาข่า” หรือ “ปลาข่า” อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง เขตมหานที
สี่พันดอน ตอนใต้ประเทศลาว ซึ่งเป็นเขตชายแดนติดต่อทางตอนเหนือของกัมพูชา กำลังอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์เต็มทนแล้ว

โดยเพจดังกล่าวระบุว่าประชากรปาข่าของลาว ลดลงอย่างน่าตกใจ ตามประกาศของกองทุนสัตว์ป่าโลก หรือ WWF ซึ่งระบุว่าทีมงานกองทุนสัตว์ป่าโลกพบฝูงปาข่าเพียง 3 ตัวเท่านั้น ลดลงจาก 6 ตัว เมื่อครั้งสำรวจเมื่อต้นปี 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนเช่นนี้ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้เลย และเชื่อว่าภายใน 1-2 ปีนี้ จะไม่มีปาข่า หรือโลมาน้ำจืดอิรวดีในลาวอีก

บันทึกไว้ในความทรงจำ !!! รอยยิ้มที่น่ารักของ"โลมาอิรวดี" ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน

 

บันทึกไว้ในความทรงจำ !!! รอยยิ้มที่น่ารักของ"โลมาอิรวดี" ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน

 

 

ค่ะทีนี้ผู้เขียนจะนำท่านผู้ชมมาทำความรู้จักกับ “ปาข่า” หรือ “ปลาข่า”กันค่ะว่ามีรูปลักษณะและประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง? เชิญรับชมได้ดังต่อไปนีค่ะ


โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (อังกฤษ: Irrawaddy dolphin, Ayeyarwaddy dolphin; ชื่อวิทยาศาสตร์: Orcaella brevirostris) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) รูปร่างหน้าตาคล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180-275 เซนติเมตร น้ำหนักไม่มีรายงาน
มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบหรือน้ำจืด เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมร ในปี พ.ศ. 2459 มีรายงานว่าพบอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา และเคยมีผู้จับได้ที่คลองรังสิต ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร


โดยถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันในน้ำจืด สามารถพบได้ 5 แห่ง คือ ทะเลสาบชิลิก้า ประเทศอินเดีย, แม่น้ำโขง, ทะเลสาบสงขลา, แม่น้ำมหาคาม ประเทศอินโดนีเซีย และปากแม่น้ำบางปะกง โดยสถานที่ ๆ พบได้น้อยที่สุดและถือเป็นแหล่งวิกฤตที่สุด คือ ทะเลสาบสงขลา ในส่วนที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อยนั่นเองค่ะ


โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง มีพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่เราสามารถพบได้บริเวณที่มีน้ำขุ่น โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง สามารถอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานถึง 70-150 วินาที แล้วจะโผล่ขึ้นมาหายใจสลับกัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 เดือน ลูกที่เกิดมามีขนาด 40 % ของตัวโตเต็มวัย อาหารได้แก่ กุ้ง ปลา และหอยที่อยู่บนผิวน้ำและใต้โคลนตม

บันทึกไว้ในความทรงจำ !!! รอยยิ้มที่น่ารักของ"โลมาอิรวดี" ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน

 

บันทึกไว้ในความทรงจำ !!! รอยยิ้มที่น่ารักของ"โลมาอิรวดี" ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน

 

บันทึกไว้ในความทรงจำ !!! รอยยิ้มที่น่ารักของ"โลมาอิรวดี" ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน

สถานภาพจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส (Appendix I) คือ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษาและขยายพันธุ์
โลมาอิรวดีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง", "โลมาน้ำจืด", "โลมาหัวหมอน" ในภาษาใต้ และ "ปลาข่า" (ປາຂ່າ) ในภาษาลาว ค่ะ

สำหรับส่วนตัวผู้เขียนเองนั้นได้มองว่า โลมาอิรวดี เป็นสัตว์ที่มีรอยยิ้มสวยมากๆ แต่ก็เป็นที่น่าใจหายที่ขณะนี้ โลมาอิรวดี กำลังจะกลายเป็นเพียงตำนาน เนื่องด้วย โลมาอิรวดี ตกอยู่ในสภาวะที่วิกฤตใกล้สูญพันธุ์เต็มทีแล้ว

บันทึกไว้ในความทรงจำ !!! รอยยิ้มที่น่ารักของ"โลมาอิรวดี" ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน

 

บันทึกไว้ในความทรงจำ !!! รอยยิ้มที่น่ารักของ"โลมาอิรวดี" ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิพีกิเดีย
, เฟซบุ๊กเพจสนับสนุนนายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และข้อมูลเพิ่มเติม
(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะเรียบเรียงโดย:โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์