"ยันต์เกราะเพชร" อานุภาพมากด้วยพุทธคุณ!!! หนุนดวง เสริมบารมี การงาน การเงิน ...มีไว้ไม่ตายโหง!

ในเรื่องของ "ยันต์" นั้นเริ่มต้นเป็นมาอย่างไรในสังคมไทยเรายังไม่มีหลักฐานเป็นที่ปรากฏแน่ชัด แต่มีเรื่องของ "ยันต์" ในตำราพระเวทของพราหมณ์ที่เผยแพร่เข้ามาในพุทธศาสนา และเรื่องของยันต์ที่ปรากฏในการสงครามแต่ครั้งโบราณ นอกจากนี้คำว่า "ยันต์" ยังมีในพจนานุกรมทั้งฉบับราชบัณฑิตยสถาน และฉบับมติชน 

โดยเขียนไว้ว่า "ยันต์" หมายถึงลายเส้นที่เขียนไขว้กันไปมาตามแบบแผน ลงอักขระเพื่อให้เกิดความขลัง
  
บางท่านก็ว่า "ยันต์" เพี้ยนมาจาก "ยัญ" หรือ "ยัญญะ" เป็นภาษาบาลี แปลว่า สิ่งที่มนุษย์พึงเซ่นสรวงบูชา ให้มีความสุข ความเจริญ หรือหมายถึงการเซ่น การบูชา พิธีบวงสรวงอย่างหนึ่งของพรามณ์
  
ลักษณะของยันต์ประกอบด้วยอะไรบ้างนั้น มีบอกกล่าวไว้ในตำรา ว่า
  
เส้นที่ขีดลากไปมานอกยันต์นั้น หมายถึง "สายรกของพระพุทธเจ้า" ส่วนเส้นที่อยู่ภายในยันต์ เรียกว่า "กระดูกยันต์" 
 
และบทความนี้เราจะมาดูเกี่ยวกับ”ประวัติและอานุภาพยันต์เกราะเพชร”กันค่ะท่านผู้ชมว่ามีความเป็นมาอย่างไร…

"ยันต์เกราะเพชร"  อานุภาพมากด้วยพุทธคุณ!!!  หนุนดวง เสริมบารมี การงาน การเงิน ...มีไว้ไม่ตายโหง!

จากการสืบค้นผู้เขียนพบว่า”ยันต์เกราะเพชร”นั้น หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดนครศรีอยุธยา 
องค์บูรพาจารย์ของหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง 
เป็นต้นตำรับการเป่ายันต์เกราะเพชร 
หลวงพ่อเมตตาเล่าว่า งานเป่ายันต์แต่ละครั้ง 
เรือแพแน่นขนัดไปทั้งแม่น้ำ เดินข้ามไปอีกฝั่งได้สบาย ๆ 
ผู้คนหลั่งไหลกันมามืดฟ้ามัวดิน หุงข้าวพร้อมกันทีละแปดกระทะ 
ตั้งแต่เช้ายันเย็นยังไม่พอเลี้ยงคนเลย...

ยันต์เกราะเพชรนี้ หลวงพ่อปานศึกษาจากตำราพระร่วง 
โดยตัดมาจากส่วนหนึ่งของธงมหาพิชัยสงคราม
 

 *****ธงมหาพิชัยสงคราม*****
 
เป็นการนำเอาพุทธคุณบทต้น
มาเขียนเป็น ตัวขอม อ่านตามขวางว่า

 
อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา
ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง
ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท
โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ
ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ
คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ
วา โธ โน อะ มะ มะ วา
อะ วิ สุ นุต สา นุส ติ

สำหรับยันต์เกราะเพชร คือเป็นคาถา 
อิติปิ โส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ 
วิชชาจรณสัมปันโน สุคโต โลกวิทู 
อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ 
สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธ ภควาติ 
เรียกกันว่า ห้องพระพุทธคุณ 
แต่เขียน ลงมาอย่างลงอย่างหนังสือเจ๊ก 
เขียนลง ไม่เขียนตามบรรทัด เขียนลงมา 7 คำ
แล้วก็ไปขึ้นต้นใหม่เรียงกันไป ก็ว่า 
อิระชาคะตะระสา ติหังจโตโรถินัง 
นี่เรียกว่า อิติโส 8 ทิศ อย่างนี้แหละ 
แล้วก็ชักเป็นยันต์ เรียกสูตรตามเส้นที่เขาชักไป 
สำหรับยันต์เกราะเพชรนี่หลวงพ่อปานปลุกได้ดีมาก
เพราะว่าเวลาท่านจะเป่าให้ใครนั้น ท่านเขียนยันต์ใส่กระดานดำไว้ 

แล้วท่านก็ยืนอยู่ข้างหลังให้ทุกคนจุดธูปเทียน แล้วภาวนาว่า พุทโธ 
ถ้าคนไหนมีครรภ์ ผู้หญิงมีครรภ์ก็ให้จุดธูป 1 ดอกแทนลูกในครรภ์ 
แล้วท่านก็เป่า เวลาเป่ายันต์เข้าตัวจะมีความรู้สึกหนักที่ศีรษะ 
หรือว่าคันที่หน้า ยังงี้เรียกว่ายันต์เข้าจับตัวแล้ว 
ถ้ายันต์เข้าจับตัวทุกคนก็เป็นอันว่าเลิกกัน 
ท่านเป่าเฉพาะวันเสาร์ห้า คือว่าเป็นเดือนอะไรก็ตาม
เป็นขึ้น 5 ค่ำวันเสาร์ หรือวันเสาร์ตรงกัน 5 ค่ำ อันนี้ใช้ได้ 
เรียกว่าท่านทำเป็นปกติ แล้วก็วันเสาร์ 5 นี่แหละ 
เป็นวันยกครูของท่าน ท่านจะยกครูหมอ ครูอะไรก็ตาม 
ก็ทำกันวันเสาร์ห้า คนเยอะยิ่งกว่ามีงานวัดอีก 
ศาลาของท่านใหญ่จุคนเป็นพัน 
แต่เวลาเป่ายันต์เกราะเพชรจริง ๆ ต้องผลัดกัน 4 – 5 รุ่น 
เรียกว่านั่งเต็มศาลาเป่า 1 คราว ใครเป่าแล้วก็ลงมา 
คนที่ยังก็ขึ้นไป ยังงี้เปลี่ยนกันถึง 4 – 5 รุ่น

คุณสมบัติของยันต์เกราะเพชรก็เป็นการกันการกระทำ 
การกลั่นแกล้งจากคนอื่นด้วย วิชานี้ดีมาก 
หากว่าใครขืนทำเข้าคนนั้นก็เคราะห์ร้าย 
เคราะห์ร้ายเพราะอะไร ของเหล่านั้นจะกลับสะท้อน
ย้อนเข้าไปหาตัว

คราวหนึ่ง พระผลบวชพรรษาเดียวกับฉัน 
แกอยู่อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 
แกไปรับยันต์เกราะเพชร พอรับแล้วแกก็ออกไปหลังวัด 
ปรากฏว่าถูกงูเห่ากัดเห็นตัวชัดเพราะเป็นกลางคืนเดือนหงาย 
เห็นว่าเป็นงูเห่าแน่ เอาไฟส่องดูก็แผ่แม่เบี้ยหราเป็นงูเห่า
แกก็วิ่งเข้ามาหาหลวงพ่อปาน หลวงพ่อปานก็ถามว่า
แกรับยันต์เกราะเพชรหรือเปล่า พระผลก็บอกว่ารับขอรับ 
ท่านบอกว่าถ้ารับไม่รักษา ฉันอยากจะดูคนที่รับยันต์เกราะเพชร
มันตายเพราะถูกงูกัดสักคน ถ้าหากว่าแกตายฉันจะดีใจมาก 
ท่านผลหน้าซีด ปรากฏว่า ในขณะที่ท่านพูดพิษมันวิ่งขึ้นมาถึงเข่า
แล้วก็ถอยไปปวดอยู่ปากแผล เดี๋ยวมันก็ปวดขึ้นมาถึงเข่า
แล้วก็ปวดที่ปากแผล 3 ครั้ง พอวาระที่สามปรากฏว่า
อาการปวดหายไปหมดเลย พิษหมดเลยพระผลดีใจมาก 
บอกว่าหายปวดแล้วครับ หลวงพ่อปานก็บอกว่านั่นนะซิ 
ฉันแน่ใจว่ายันต์เกราะเพชรของฉันดี แต่ถ้าแกรับแล้วแกตายเพราะงูกัด 
ฉันก็จะเห็นว่าแกเป็นคนเลวมาก ไม่มีความเคารพในพระพุทธเจ้า 
เพราะว่ายันต์เกราะเพชรนี่ฉันอาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าคุ้มครองนะไม่ใช่อื่น 
ถ้าแกตายแล้วก็เป็นพระด้วย แกรับยันต์เพราะเพชรไปแล้วด้วย 
ถ้าถูกงูกัดแล้วตายเพราะงูพิษก็น่าจะตายหรอก 
เพราะว่าคนที่บวชแล้วไม่เคารพในพระพุทธเจ้า 
ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา
เป็นคนเลวก็ควรจะตาย แต่ว่าแกไม่ตาย นี่ก็แสดงว่าแกเป็นคนดีแล้ว 
ความมั่นคงในพระพุทธเจ้าใช้ได้ นี่ว่ากันถึงยันต์เกราะเพชร

"ยันต์เกราะเพชร"  อานุภาพมากด้วยพุทธคุณ!!!  หนุนดวง เสริมบารมี การงาน การเงิน ...มีไว้ไม่ตายโหง!


หลวงพ่อฤาษี เป่ายันต์เกราะเพชรที่วัดท่าซุง
หลวงพ่อเริ่มเป่ายันต์อย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ 
ที่ ศาลาพระพินิจอักษร คนมารับยันต์หลายพันคน ต้องทำพิธีเป่าอยู่หลายรอบ 
ครั้งที่ ๒ เมื่อ วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๖ ที่ ศาลา ๒ ไร่ ผู้คนแห่กันมาหลายหมื่นคน
ต่อมาหลวงพ่อได้สร้างศาลา ๓ ไร่, ๔ ไร่ และศาลา ๑๒ ไร่ เพื่อรองรับศรัทธาเพราะ
มีผู้มาร่วมพิธีเป่ายันต์กันมากขึ้นทุกปี ขนาดศาลา ๑๒ ไร่คนก็เต็มและต้องเป่าหลายรอบ

การเป่ายันต์ไม่ได้เป่าทีละคน หากแต่เป่าทีละเต็มศาลา 
กี่หมื่นกี่แสนคนก็เป่าพร้อมกันทีเดียว "พระ" ท่านบอกว่า เป่าทีเดียวทั่วจักรวาล 
จะอยู่มุมไหนของโลกก็ตาม ถ้าตั้งใจรับด้วยความเคารพ
ก็มีผลเช่นเดียวกับคนที่มาเข้าพิธีด้วยตัวเอง...
หลวงพ่อจะให้ผู้รับยันต์ สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐาน 
แล้วดูภาพยันต์ที่ตั้งไว้ในพิธี ตั้งใจจำภาพยันต์ไว้ในใจ
แล้วหลับตาภาวนาว่า พุทโธ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าหลวงพ่อจะบอกว่าเสร็จพิธี...


ยันต์เกราะเพชรคือพุทธานุภาพ ขณะที่เราหลับตาภาวนา 
พระพุทธเจ้าจะเปล่งฉัพพรรณรังสีลงมา ครอบคลุมท่านที่ตั้งใจรับยันต์ 
หลวงพ่อท่านจะคอยดูอยู่ พอพระท่านบอกว่าเต็มแล้ว หลวงพ่อก็จะบอกให้เลิกภาวนา...

เมื่อ ยันต์เกราะเพชรเริ่มจับตัว ผู้รับจะมีอาการต่าง ๆ กัน เช่นร้อนหู ร้อนหน้า 
ขนลุกขนชัน หนักศีรษะ หรือ คันยุบยิบเหมือนมีตัวไรไต่ บางคนจับไข้ไปเลย 
อาการเหล่านี้จะทรงอยู่ไม่เกิน ๒-๓ วัน พอยันต์เข้าตัวหมดก็หายไปเอง...


ผู้ที่ถูกไสยศาสตร์มา ไม่ว่าจะเป็นคุณผี-คุณคน หรืออะไรก็ตาม 
เมื่อเริ่มทำการเป่ายันต์ ท้าวจตุมหาราชและ บริวารจะช่วยขับของเหล่านั้นออกให้ 
คนที่โดนของมาจะทั้งดิ้นทั้งร้อง ต้องปล่อยให้สงบไปเอง 
เลิกดิ้นเลิกร้องเมื่อไร แปลว่า ของอาถรรพ์สลายตัวหมดแล้ว...

การเป่า ยันต์เกราะเพชร เป็นการปลุกเสกวัตถุมงคลไปในตัวด้วย 
ใครมีวัตถุมงคล ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่อง ผ้ายันต์ ตะกรุด หรือ เครื่องรางใด ๆ ก็ตาม 
เวลาเข้าพิธีให้วางไว้บนตักตัวเอง เสร็จพิธีเป่ายันต์ ก็นำไปใช้ได้เลย...

 

การรักษายันต์เกราะเพชรให้อยู่กับตัว ผู้รับยันต์ไปต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ 
หรืออย่างน้อย ต้องมีศีล ๒ ข้อ คือห้ามกินเหล้า และห้ามลักขโมย 
ตอนเช้าต้องสวดมนต์ไว้พระ นึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
อาราธนาบารมีของท่าน ลงมาเป็นเกราะเพชรคลุมกายเรา ภาวนา "พุทโธ" ให้ใจสบาย 
แล้วกลืนน้ำลาย ๓ ครั้ง ถ้าทำแบบนี้ได้ทุกวัน อานุภาพของยันต์เกราะเพชร
จะคุ้มครองรักษา ให้ท่านมีความปลอดภัยทุกประการ...

"ยันต์เกราะเพชร"  อานุภาพมากด้วยพุทธคุณ!!!  หนุนดวง เสริมบารมี การงาน การเงิน ...มีไว้ไม่ตายโหง!

ผู้ที่รับยันต์ไปแล้ว ถ้ารักษาไว้ได้จะมีอานุภาพดังนี้

๑. จะไม่ตายโหงอย่างเด็ดขาด

๒. จะไม่ตายด้วยพิษสัตว์ทุกชนิด

๓. ปลอดภัยจากไสยศาสตร์ทุกชนิด

๔. ไสยศาสตร์ทุกประเภท จะสะท้อนกลับไปเอง

ผู้รับยันต์ไปเป็นผู้ใหญ่ ถ้ารักษาไว้ด้วยดี เมื่อตายแล้วเผา 
จะมียันต์ติดอยู่ที่กระดูก สำหรับเด็กในท้อง ถ้าเป็นลูกชายคนหัวปี 
เมื่อคลอดออกมา จะมียันต์ติดอยู่ตามตัว เป็นลวดลายต่าง ๆ กันไป...

"ยันต์เกราะเพชร"  อานุภาพมากด้วยพุทธคุณ!!!  หนุนดวง เสริมบารมี การงาน การเงิน ...มีไว้ไม่ตายโหง!

ลูกศิษย์หลวงพ่อหลายคน เมื่อตายแล้วเผามียันต์ติดที่กระดูก 
บางคนกระดูกลายเป็นพระธาตุไปเลย 
เด็กที่เกิดมามียันต์เกราะเพชรติดตัวเป็นจำนวนมาก 
บางคนลายเป็นแตงไทย บางคนหูดำทั้งสองข้าง 
บางคนเป็นยันต์เกราะเพชรอย่างชัดเจน...

รายหนึ่งอยู่ลพบุรี ผู้เป็นแม่รับยันต์ไปแล้ว ตั้งใจรักษาศีล ๘ อย่างเคร่งครัด 
ลูกเกิดมามียันต์เป็นสีแดง และปรากฏขึ้นทุกวันพระ 
อีกรายมียันต์ติดกระหม่อมเป็นรูปกงจักร 
ซึ่งลวดลายยันต์เหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมเข้าเนื้อ ไปอยู่ที่กระดูกจนหมด

อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่ได้รับการเป่ายันต์เกราะเพชรแล้วนั้น การจะรักษายันต์ให้อยู่กับตัว ผู้รับยันต์ต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์ หรืออย่างน้อย ต้องมีศีล 2 ข้อ ในข้อที่ว่า "ห้ามดื่มเหล้า" และ "ศีลข้อสาม" ตอนเช้าต้องสวดมนต์ไหว้พระ อาราธนาบุญบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมนาสัมพุทธเจ้ามาปกป้องคุ้มครอง
  
อย่างนี้แล้ว จึงเป็นการรับยันต์ที่ได้ประโยชน์ คือผู้ที่ได้รับคิดดี ทำดี เมื่อคิดดีทำดี ย่อมผ่านพ้นจากสิ่งเลวร้ายและภยันตรายทั้งปวงค่ะ

"ยันต์เกราะเพชร"  อานุภาพมากด้วยพุทธคุณ!!!  หนุนดวง เสริมบารมี การงาน การเงิน ...มีไว้ไม่ตายโหง!

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย, บ้านสวนพระเครื่อง,และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)

จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย: โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์