จาก"คุกนรกสุดโหด"บนเกาะกลางทะเล!..."ตะรุเตา"ที่เต็มไปด้วย โจรสลัดปล้นฆ่า.. กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติ (รายละเอียด)

เรื่องที่จะได้พูดถึงต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการจัดอันดับของ"คุกสุดโหด"อันเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า"คุกบางขวาง"ของไทยติดอยู่ในระดับ Top Ten และถึงแม้จะถูกจัดให้อยู่ในอันดับต่ำสุด แต่ก็ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยได้ไม่น้อย

จาก"คุกนรกสุดโหด"บนเกาะกลางทะเล!..."ตะรุเตา"ที่เต็มไปด้วย โจรสลัดปล้นฆ่า.. กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติ (รายละเอียด)

จริงแล้วประเทศไทยของเรายังมีคุก"สุดโหด"เหนือกว่า"คุกบางขวาง"อยู่อีกหนึ่งแห่ง โดยจะจัดส่งนักโทษอุกฉกรรจ์หรือนักโทษเด็ดขาด ไปกักกันคุมขังไว้ที่คุกแห่งนั้น...นั่นก็คือ"คุกนรกบนดิน"ที่ตั้งอยู่บนเกาะ"ตะรุเตา"กลางทะเลอันดามัน บริเวนช่องแคบมะละกา
มหาสมุทรอินเดีย

เกาะ"ตะรุเตา"เป็นหนึ่งในเกาะที่หลากหลายในจังหวัดสตูล ณ ตำบลเกาะสาหร่าย อ.เมือง ไปทางทิศตะวันออก

ย้อนหลังไป 80 ปีคือในปี พศ.2480 กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ได้ทำการสำรวจ"เกาะตะรุเตา"เพื่อจัดเป็นทัณฑสถาน และประกาศ พรก.เป็นเขตหวงห้าม ใช้เฉพาะกิจการของกรมราชทัณฑ์ โดยใช้เป็นสถานกักกันและป้อมฝึกอาชีพ ให้กับนักโทษ ด้วยเห็นว่า"เกาะตะรุเตา"มีทะเลกว้างใหญ่เป็นกำแพงธรรมชาติ ยากต่อการหลบหนีของนักโทษ

จาก"คุกนรกสุดโหด"บนเกาะกลางทะเล!..."ตะรุเตา"ที่เต็มไปด้วย โจรสลัดปล้นฆ่า.. กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติ (รายละเอียด)

กาลนั้น...ป้อมฝึกอาชีพดังกล่าวมีสถานภาพเป็น"กอง"ในสังกัดกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย มี"ผู้บัญชาการ"ในตำแหน่งผู้อำนวยการกอง เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด(ขุนอภิพัฒน์สุรทัณฑ์) แบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 แผนกคือ

แผนกอำนวยการ

แผนกงาน และแผนกควบคุม

บรรดาเหล่านักโทษที่ถูกส่งตัวมากักกันไว้ ณ เกาะตะรุเตาแห่งนี่
มีอยู่ 2 พวก คือนักโทษทั่วไปในคดีอุกฉกรรจ์ และนักโทษการเมือง(กบฏ) ที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามกับรัฐบาล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นนักโทษที่ส่งมาจาก"คุกบางขวาง"

"นักโทษทั่วไป" ถูกกักกันในบริเวณอ่าวตะโละวาว ทสงตอนเหนือ
"นักโทษการเมือง"จะถูกักกันไว้ทางตอนใต้ของเกาะ บริเวณอ่าวตะโละอุตัง ห่างจากเกาะลังกาวีของมาเลเซียเพียง 4 กิโลเมตร
เรือนพักนักโทษ...เป็นเรือนขนาดใหญ่ อยู่รวมกันหลายคน ซึ่งก็มีนักโทษหญิงรวมอยู่แต่จัดให้อยู่ในที่พิเศษ
บ้านพักผู้คุม พัศดี
เป็นเรือนไม้ถาวร
บ้านพักผู้บัญชาการ ตั้งอยู่บนเนินสูงห่างจากทะเลประมาณ 80 เมตร

นักโทษการเมือง(กบฏ)ในยุคสมัยนั้นที่ถูกส่งตัวมากักกันไว้ ได้แก่ มจ.สิทธิพร กฤดากร  นอ.พระยาศราภัยพิพัฒน์(เลื่อน ศราภัยวานิช) หลวงมหาสิทธิโวหาร(สอ เศรษฐบุตร) นายหลุย คีรีวัต นอ.พระแสงสิทธิการ  มล.ทวีวัฒน์ วัชรีพงษ์ และนายอรุณ บุนนาค

 ซึ่งในปลายสงครามโลกครั้งที่   2  นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ตรา พรบ.นิรโทษกรรมแก่บรรดานักการเมือง เมื่อ 1 สิงหาคม 2487 มีผลให้นักโทษการเมืองเหล่านั้นพ้นมลทินไปในที่สุด

จาก"คุกนรกสุดโหด"บนเกาะกลางทะเล!..."ตะรุเตา"ที่เต็มไปด้วย โจรสลัดปล้นฆ่า.. กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติ (รายละเอียด)

และในปีเดียวกันนี้ก็ได้เกิดการปล้นสะดมภ์ขึ้นในบริเวณน่านนำ้ทะเลอันดามัน จากพฤติกรรมของบรรดาเหล่านักโทษทั่วไป จนเป็นที่หวาดกลัวแกบรรดาผู้ค้าและสัญจรทางทะเล แม้ทางการจะได้ทำการปราบปรามแต่ก็ไม่ประสพผลแต่อย่างใด ทั่งนี้มีสาเหตุมาจากเรื่องของความอดอยาก ความเจ็บป่วย และการไม่ได้รับการเยียวยาเสมือนดังการโดนตัดขาดจากโลกภายนอก สภาพของ"เกาะตะรุเตา" ณ กาลนั้นมีสภาพไม่ผิดอะไรกับ"นรกบนพื้นภิพบ"โดยที่นักโทษไม่สามารถที่จะรู้ชะตาของตนเองและของบ้านเมือง 

ความทุกข์ทรมานจากการอดอยากทะยอยกันเข้าสู่ยังนรกแห่งนี้เป็นระลอก ทั้งยังได้รับทุกข์ซำ้เติมจากบรรดาผู้คุมที่คิดไม่ซื่อ มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง กักตุนยารักษาโรค เครื่องใช้สอย มีบ้างเหมือนกันที่นำเอา ทรัพย์สินรัฐไปขายและหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงิน นักโทษที่นั่นมีเงินก็หาซื้อของกินได้ ที่ไม่มีเงินซื้อก็ต้องหาทางแย่งชิง เกิดการทะเลาะวิวาทถึงขั้นทำร้ายชีวิตซึ่งกันและกันจาก"ความอดอยากและหิวโหย" ซึ่งก็ดูเหมือนว่านักโทษแทบทั้งหมดจะตกอยู่ในสภาพเดียวกันหมด

จาก"คุกนรกสุดโหด"บนเกาะกลางทะเล!..."ตะรุเตา"ที่เต็มไปด้วย โจรสลัดปล้นฆ่า.. กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติ (รายละเอียด)

ทางออกของพวกเขา...ขั้นแรกก็ได้มีการแอบจัดหาเรือออกไปขออาหารจากบรรดา"ไต๋"เรือที่นำเรือสัญจรผ่านเกาะ"ตะรุเตา" ซึ่งได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงขยับจากการขอการเป็น"การปล้น"..ซึ่งเป็นที่มาของ"โจรสลัดตะรุเตา"!

แม้ทาง"ผู้คุมจะได้รับทราบถึงความเดือดร้อนของผู้ใช้เส้นทางสัญจรทางนำ้มาโดยตลอด แต่ก็ไม่สามารถที่จะปราบปรามได้ ซำ้ร้ายยังถูก"โจรสลัดตะรุเตา"ติดสินบนจากการปันทรัพย์สินค้าที่ไดมาให้ ทำให้เร่ิองที่ได้รับทราบและจะต้องทำการปราบปรามเงียบหายกลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งไป

พฤติกรรมของ"โจรสลัดตะรุเตา"นับวันย่ิงอหังการ์มากข้ึน เพราะนอกจากจะปล้นเอาทรัพย์สินแล้วยังมีการ"ฆ่า"ทั้งพ่อค้าและลูกเรือ ทิ้งศพไว้และจมเรือไปในที่สุด "เกาะตะรุเตา" ณ กาลนั่นจึงแปดเปื้อนและกลิ่นคลุ้งไปด้วยความเลือด แต่ก็มีผู้ได้รับประโยชน์ไปอย่างเต็มๆนั่นก็คือ"ฉลาม"ในทะเลลึกแห่งนั้น

แต่ถึงจะอย่างไรก็ยังมีเจ้าหน้าทีรัฐที่มองเห็นถึงภัยอันเลวร้ายนี้อยู่บ้าง และหากขืนปล่อยเรื่องดังกล่าวให้คงอยู่ต่อไป ในอนาคตก็จะไม่มีเรือสินค้าและหรือผู้สัญจรทางนำ้ใดที่จะกล้าใช้น่านนำ้นี้ ขณะเดียวกันกับที่ทางรัฐบาลสหรัฐมลายู(มาเลเซีย)ก้ได้รับการร้องเรียนจากบรรดาชาวเรือที่ใช้น่านน้ำนั้นและได้รับความเดือดร้อนจากการปล้นสะดมภ์ของ"โจรสลัดตะรุเตา" รัฐบาลอังกฤษ ผู้มีอำนาจเหนือแผ่นดินสหรัฐมลายู(มาเลเซีย)จึงได้เข้ามามีบทบาทในการปราบปราม"โจรสลัดตะรุเตา"อย่างจริงจังร่วมกับรัฐบาลไทย โดยข้าหลวงตรวจราชการกรมราชทัณฑ์(ดร.วิบูลย์ ธรรมวิทย์) คัวแทนฝ่ายไทยร่วมวางแผนปราบ"โจรสลัดตะรุเตา"ได้เป็นผลสำเร็จ

จาก"คุกนรกสุดโหด"บนเกาะกลางทะเล!..."ตะรุเตา"ที่เต็มไปด้วย โจรสลัดปล้นฆ่า.. กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติ (รายละเอียด)

"คุกตะรุเตา"ปิดฉากลงเมื่อ 23 มีนาคม 2489 ภายหลังจากที่ทหารรัฐบาลอังกฤษถอนกำลังกลับและปล่อยทิ้งร้าง"เกาะตะรุเตา"หรือ"นรกบนพื้นพิภพ"นานถึง 10 ปี จึงมีประชาชนเข้าไปจับจองที่ดินทำกินเป็นของตนเอง และเมื่อ 25 กรกฎาคม 2515 รัฐบาลไทยได้มีการประกาศถอนการหวงห้ามของกรมราชทัณฑ์ และออก พรก.เมื่อ 19 เมษายน 2517  กำหนดให้ หมู่เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง-ราวี และอีกกว่า 50 เกาะในบริเวณน่านนำ้อันดามัน เป็นอุทยานแห่งชาติ

ปัจจุบัน...เกาะตะรุเตา "นรกบนพื้นพิภพ" และหรือดินแดนแห่ง""โจรสลัดตะรุเตา"ยังคงทิ้งร่องรอยของความเป็น"คุก"ให้ปรากฏอยู่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์

จาก"คุกนรกสุดโหด"บนเกาะกลางทะเล!..."ตะรุเตา"ที่เต็มไปด้วย โจรสลัดปล้นฆ่า.. กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติ (รายละเอียด)

จาก"คุกนรกสุดโหด"บนเกาะกลางทะเล!..."ตะรุเตา"ที่เต็มไปด้วย โจรสลัดปล้นฆ่า.. กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติ (รายละเอียด)

จาก"คุกนรกสุดโหด"บนเกาะกลางทะเล!..."ตะรุเตา"ที่เต็มไปด้วย โจรสลัดปล้นฆ่า.. กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติ (รายละเอียด)


ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย, ข้อมูล เอกสารกรมราชทัณ์ กระทรวงมหาดไทย และข้อความบางตอนของ สนิทศักดิ์ สนิทศักดิ์ดี.,และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย:พัชรพิศุทธิ์  โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์