หนูไปทำอะไรให้ทำร้ายหนูทำไม!! สุดเวทนาหมาแม่ลูกอ่อน โดนตีเลือดอาบ วอนผู้ใจบุญเข้าช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2561 โลกออนไลน์เเห่แชร์ภาพสุดเวทนาของสุนัขเเม่ลูกอ่อน สภาพหิวโซ ซ้ำโดนตีจนเลือดอาบ วอนผู้ใจบุญเข้าช่วยเหลือ 

หนูไปทำอะไรให้ทำร้ายหนูทำไม!! สุดเวทนาหมาแม่ลูกอ่อน โดนตีเลือดอาบ วอนผู้ใจบุญเข้าช่วยเหลือ

บนโลกออนไลน์ จากผู้ใช้เฟซบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า "Napass Wilasinee" ได้มีการโพสต์ภาพเหตุการณ์สะเทือนใจทั้งของคนที่รักสุนัข รวมถึงคนที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณละเเวกใกล้เคียง โดยระบุข้อความว่า "จะใจร้ายอะไรกันหนักหนา หมาแม่ลูกอ่อน โดนตีจนขนาดนี้ ใครจะช่วยบ้างมั้ยคะ พิกัด หน้าโรงไฟฟ้า เขตเทศบาลเมืองสตูล ช่วยๆกันหน่อยนะคะ คนโพสต์ เลี้ยงอยู่ 30 กว่าตัวแล้วคะ"

หนูไปทำอะไรให้ทำร้ายหนูทำไม!! สุดเวทนาหมาแม่ลูกอ่อน โดนตีเลือดอาบ วอนผู้ใจบุญเข้าช่วยเหลือ

 

หนูไปทำอะไรให้ทำร้ายหนูทำไม!! สุดเวทนาหมาแม่ลูกอ่อน โดนตีเลือดอาบ วอนผู้ใจบุญเข้าช่วยเหลือ

 

หนูไปทำอะไรให้ทำร้ายหนูทำไม!! สุดเวทนาหมาแม่ลูกอ่อน โดนตีเลือดอาบ วอนผู้ใจบุญเข้าช่วยเหลือ

 

หนูไปทำอะไรให้ทำร้ายหนูทำไม!! สุดเวทนาหมาแม่ลูกอ่อน โดนตีเลือดอาบ วอนผู้ใจบุญเข้าช่วยเหลือ

 

 

ทั้งนี้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถือว่ามีผลใช้บังคับแล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา 

โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก และเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งแวดล้อม จึงควรได้รับการคุ้มครอง มิให้ถูกกระทำการทารุณกรรม และเจ้าของสัตว์ซึ่งนำสัตว์มาเลี้ยง จะต้องจัดสวัสดิภาพให้เหมาะสมตามประเภทและชนิดของสัตว์ ทั้งในระหว่างการเลี้ยงดู การขนส่ง การนำสัตว์ไปใช้งาน หรือใช้ในการแสดง

หนูไปทำอะไรให้ทำร้ายหนูทำไม!! สุดเวทนาหมาแม่ลูกอ่อน โดนตีเลือดอาบ วอนผู้ใจบุญเข้าช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป ถือเป็น ฉบับแรกของประเทศไทย โดยมีใจความดังนี้ 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้

โดยในหมวด ๕ การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๒๑ การกระทําดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐

(๑) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร

(๒) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจําหน่ายเนื้อสัตว์

(๓) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์

(๔) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยา หรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน

(๕) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา

(๖) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน

(๗) การกระทําใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับยกเว้นให้กระทําได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์

และในส่วนของบทลงโทษ 

มาตรา ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๓๒ เจ้าของสัตว์หรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี ประกาศกําหนดตามมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๔ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหน้า ๑๒ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๘๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗

มาตรา ๓๓ ในกรณีที่ศาลได้พิพากษาลงโทษผู้ใดตามมาตรา ๓๑ หรือมาตรา ๓๒ หากศาลเห็นว่าการให้สัตว์นั้นยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของหรือของผู้กระทําความผิดนั้นต่อไป สัตว์นั้นอาจจะถูกทารุณกรรมหรือได้รับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่ไม่เหมาะสมอีก ศาลอาจสั่งห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้กระทําความผิดนั้นครอบครองสัตว์ดังกล่าวและมอบให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เห็นสมควรเป็นผู้ครอบครองหรือดูแลสัตว์นั้นต่อไป

มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา ๓๕ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาอันสมควรแต่ไม่เกินสิบห้าวัน ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายใน ระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคสอง ให้ดําเนินคดีต่อไป 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ราชกิจจานุเบกษา

 

ขอบคุณที่มา fb Napass Wilasinee

 

 

(อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม :เจ้าของติดต่อด่วน ! สุนัขโกเด้นแสนรู้ วิ่งหาหมอช่วยรักษาอาการบาดเจ็บ อาการปลอดภัยแล้ว รอเจ้าของมารับที่คลินิก)

 

(อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม :สุนัขดีสร้างชื่อ ! ผู้ว่าพิษณุโลกเยี่ยมชมสุนัขบางแก้วที่นายกรัฐมนตรีซื้อไว้ 3 ตัว หลังให้วัคซีนไม่มีอาการข้างเคียง (คลิป))

 

(อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม :วิจารณ์สนั่น!! ตำรวจจีนใจทราม ฟาดสุนัขยับเลือดสาดกระจาย ตายอนาถริมทางเดิน (ชมคลิป))