เป็นคนไทยยุคนี้ไม่รู้ไม่ได้แล้ว!!“หลักเกณฑ์สำคัญการทำสัญญาซื้อขายและวิธีการโอนกรรมสิทธิ์”จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบฉ้อโกง!!(อ่านเลยอะไร?ยังไง?)

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีลักษณะที่สำคัญ คือ มีการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มมีการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันทางสังคมในช่วงระยะแรกๆอย่างเรียบง่าย และมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดไม่หยุดนิ่ง จึงมีสิ่งแปลกใหม่เข้ามาแทนที่และได้มีพัฒนาการไปอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดทำให้สังคมเล็กๆเกิดการขยายตัวกว้างใหญ่ขึ้นกระทั่งเปลี่ยนแปลงกลายเป็นบ้านเมืองประเทศต่างๆทำให้มีความต้องการด้านปัจจัย 4 เพิ่มมากขึ้นมาตามลำดับจากที่มนุษย์เคยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ต้องการระหว่างกัน ก็เปลี่ยนเป็นเศรษฐศาสตร์รูปแบบหนึ่ง กลไกที่ทำให้เกิดการค้าเรียกว่า ตลาด รูปแบบการค้าดั้งเดิม คือ การแลกเปลี่ยนสินค้าที่ใช้สินค้าและบริการแลกเปลี่ยนกันโดยตรง ผู้ค้าสมัยใหม่โดยทั่วไปเจรจาผ่านสื่อกลางการแลกเปลี่ยนแทน เช่น เงิน ผลคือ การซื้อ

เป็นคนไทยยุคนี้ไม่รู้ไม่ได้แล้ว!!“หลักเกณฑ์สำคัญการทำสัญญาซื้อขายและวิธีการโอนกรรมสิทธิ์”จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบฉ้อโกง!!(อ่านเลยอะไร?ยังไง?)

สามารถแยกจากการขาย หรือรายได้ การคิดค้นเงิน (และเครดิต เงินกระดาษและเงินที่จับต้องไม่ได้ภายหลัง) ทำให้การค้าง่ายขึ้นมากและเป็นการสนับสนุนการค้า และเป็นจุดกำเนิดของธุรกิจการซื้อขายประเภทต่างๆมากมายในปัจจุบัน 

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 453 บัญญัติไว้ว่า “อันการซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้นๆแก่ผู้ขายนั่นเองค่ะ แต่ถ้าใครยังสับสนไม่เข้าใจ นิยามความหมายของคำว่า การซื้อขาย ว่าจริงๆแล้วการซื้อขายคืออะไร? ถ้าอย่างนั้นผู้เขียนจะอธิบายสำทับให้อีกครั้งดังนี้ค่ะ..
ความหมายคำว่า “การซื้อขาย “คือ การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน ไปให้กับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อได้ตอบแทน ผู้ขาย ด้วยเงิน หรือใช้ราคาทรัพย์สิน ให้กับผู้ขาย เป็นการตอบแทน ยกตัวอย่าง เช่น อสังหาริมทรัพย์ บ้าน,ที่ดิน,คอนโด การโอนกรรมสิทธิ์หมายถึงการโอนความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน ที่ซื้อขายนั้นให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็สามารถที่จะใช้สอยประโยชน์ในทรัพย์สินที่ได้รับการโอนกรรมสิทธิ์มาจากผู้ขายได้อย่างเต็มที่ หรือจะขายต่อไปอย่างไรก็ได้ค่ะ

เป็นคนไทยยุคนี้ไม่รู้ไม่ได้แล้ว!!“หลักเกณฑ์สำคัญการทำสัญญาซื้อขายและวิธีการโอนกรรมสิทธิ์”จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบฉ้อโกง!!(อ่านเลยอะไร?ยังไง?)

สำหรับเรื่องราคาทรัพย์สินจะชำระเมื่อไรนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อผู้ขายจะต้องตกลงกันถ้าตกลงกันให้ชำระราคาทันทีก็เป็นการซื้อขายเงินสดถ้าตกลงกันชำระราคาในภายหลังในเวลาใดเวลาหนึ่งเพียงครั้งเดียวตามที่ตกลงกันก็เป็นการซื้อขายเงินเชื่อแต่ถ้าผ่อนชำระให้กันเป็นครั้งคราวก็เป็นการซื้อขายเงินผ่อนสำหรับการซื้อขายเงินผ่อนนั้นเป็นที่นิยมมากในปัจจุบันเนื่องจากความต้องการในทางวัตถุมีมากแต่รายได้มีน้อยไม่เพียงพอที่จะซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกได้ทันที่หลายๆอย่าง เช่นโทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น วิดีโอ ก็เลยนิยมที่จะซื้อเงินผ่อน

อย่างไรก็ตาม โดยปกติในการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินนั้นทันที่ที่ทำสัญญากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชิ้นนั้นก็จะโอนไปยังผู้ซื้อทันทีแม้ว่าจะยังไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินชิ้นนั้นให้ผู้ซื้อหรือแม้ผู้ซื้อจะยังไม่ได้ชำระเงินค่าทรัพย์สินนั้นก็ตามผู้ซื้อก็ได้ความเป็นเจ้าของไปแล้ว ยกเว้นแต่ในกรณีของการซื้อเงินผ่อนนั้นผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะตกลงกันว่าเมื่อผ่อนชำระเงินกันเสร็จแล้วกรรมสิทธิ์ค่อยโอนไปเช่นนี้ก็ทำได้ แต่เนื่องจากการซื้อเงินผ่อนนี้ผู้ซื้อมักได้ทรัพย์สินนั้นไปใช้ก่อนแล้วค่อยๆผ่อนใช้ราคาของทรัพย์สินที่จะต้องจ่ายจึงมักจะรวมดอกเบี้ยไปด้วยทำให้ผู้ซื้อซื้อทรัพย์สินนั้นในราคาที่แพงกว่าท้องตลาดหรือเมื่อซื้อเป็นเงินสดดังนั้นหากผู้ซื้อไม่ลำบากจนเกินไปในการซื้อเป็นดังต่อไปนี้..

เป็นคนไทยยุคนี้ไม่รู้ไม่ได้แล้ว!!“หลักเกณฑ์สำคัญการทำสัญญาซื้อขายและวิธีการโอนกรรมสิทธิ์”จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบฉ้อโกง!!(อ่านเลยอะไร?ยังไง?)

 
หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาซื้อขาย:
          (1) ต้องมีบุคคล คือ ตัวผู้ซื้อและตัวผู้ขายซึ่งทั้งสองคนนั้นจะต้องมีความคิด สติปัญญาพอสมควรที่จะตัดสินใจทำสัญญากันได้เองซึ่งก็คือ ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ โดยปกติก็คือมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ 
          (2) ผู้ซื้อต้องมีความต้องการที่จะซื้อและผู้ขายต้องมีความต้องการที่จะขายทรัพย์สินนั้นจริงๆโดยทั้งสองฝ่ายได้แสดงความต้องการของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ด้วย 
          (3) ผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีเป้าหมายในการทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งก็คือผู้ซื้อมีเป้าหมายที่จะได้กรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของนั้นส่วนผู้ขายก็มีเป้าหมายที่จะได้เงินหรือราคาของทรัพย์สินนั้นและเป้าหมายของทั้งสองฝ่ายนี้จะต้องไม่มีกฎหมายห้ามไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและต้องเป็นเป้าหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย 
          (4) ผู้ขายต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ซื้อเราต้องเข้าใจด้วยว่าการโอนกรรมสิทธิ์นี้ตัวกรรมสิทธิ์เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนแต่เป็นสิ่งที่กฎหมายสมมุติขึ้น การโอนกรรมสิทธิ์จึงอาจจะเกิดขึ้นแม้ว่าผู้ซื้อจะยังไม่ได้รับมอบทรัพย์ไปไว้ใช้สอยหรือไปไว้ในความครอบครองก็ตาม 
          (5) ผู้ซื้อต้องตกลงว่าจะชำระราคาทรัพย์สินนั้นให้กับผู้ขาย ในกรณีนี้เพียงแต่ตกลงว่าจะชำระก็พอแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการชำระกันจริงๆก็ได้

เป็นคนไทยยุคนี้ไม่รู้ไม่ได้แล้ว!!“หลักเกณฑ์สำคัญการทำสัญญาซื้อขายและวิธีการโอนกรรมสิทธิ์”จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบฉ้อโกง!!(อ่านเลยอะไร?ยังไง?)

วิธีการในการทำสัญญาซื้อขาย :

    (1) วิธีการในการทำสัญญาซื้อขายโดยปกติคือการที่ผู้ซื้อและผู้ขายต่างได้แสดงความจำนงว่าต้องการซื้อขายทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งการแสดงความจำนงนั้นอาจจะทำโดยปากเปล่าก็ได้ หรือทำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้หรือโดยวิธีการอย่างอื่นก็ได้ และสำหรับตัวทรัพย์สินที่จะซื้อขายกันโดยวิธีนี้ได้คือ สังหาริมทรัพย์ สำหรับการซื้อขายทรัพย์สินประเภทนี้เมื่อไม่ต้องทำตามวิธีการเฉพาะ ฉะนั้นเมื่อมีการตกลงซื้อขายกันแล้วกรรมสิทธิ์โอนไปทันทีและการเกิดสัญญาซื้อขายยังเป็นการก่อให้เกิด “หนี้” ที่ฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องชำระให้แก่กันอีกด้วย 
          (2) วิธีการเฉพาะที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ผู้ซื้อผู้ขายต้องทำและถ้าไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วสัญญาซื้อขายนั้นแม้จะได้ตกลงว่าจะซื้อจะขายก็ไม่อาจบังคับกันได้เพราะกฎหมายถือว่าเสียเปล่าหรือเป็นโมฆะ คือใช้ไม่ได้นั่นเอง 

     วิธีการเฉพาะดังกล่าวนี้คือการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าทีซึ่งกฎหมายกำหนดไว้สำหรับทรัพย์สินบางประเภทคือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ซึ่งขออธิบายให้เข้าใจดังนี้ 
     (ก) อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ได้แก่ 
          1) ที่ดิน 
          2) ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินในลักษณะตรึงตราแน่นหนาถาวร เช่น บ้านเรือน ตึกแถวอาคาร   สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร ไม้ยืนต้นเป็นต้น 
          3) ทรัพย์สินที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น แม่น้ำลำคลอง แร่ธาตุ กรวด ทราย เป็นต้น 
          4) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น ภาระจำยอม สิทธิอาศัยสิทธิเก็บกิน และสิทธิจำนอง เป็นต้น 
     (ข)สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษได้แก่ 
          1) เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระหว่าง 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป 
          2) แพหมายความเฉพาะแต่แพที่เป็นที่อยู่อาศัยของคน 
          3) สัตว์พาหนะหมายความถึงสัตว์ที่ใช้ในการขับขี่ลากเข็น และบรรทุกซึ่งสัตว์เหล่านี้ต้องทำตั๋วรูปพรรณแล้ว ได้แก่ ม้า ช้าง โคกระบือ

เป็นคนไทยยุคนี้ไม่รู้ไม่ได้แล้ว!!“หลักเกณฑ์สำคัญการทำสัญญาซื้อขายและวิธีการโอนกรรมสิทธิ์”จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบฉ้อโกง!!(อ่านเลยอะไร?ยังไง?)

สาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย :
          (ก)ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายปัญหาว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโอนไปเมื่อไร หลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นจะโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่เมื่อได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน ข้อยกเว้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นยังไม่โอนไป ในกรณีดังต่อไปนี้ 
          1) สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาซึ่งกรรมสิทธิ์จะโอนก็ต่อเมื่อเกิดเงื่อนไขหรือถึงกำหนดเงื่อนเวลา 
          2) สัญญาซื้อขายทรัพย์ที่ยังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง หมายถึงสัญญาซื้อขายทรัพย์ที่ยังไม่ได้กำหนดประเภทหรือจำนวนไว้แน่นอนว่าอันไหน สิ่งไหนตัวไหน ในกรณีเช่นนี้กรรมสิทธิ์จะโอนก็ต่อเมื่อได้ทำให้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้วโดยการนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือกทรัพย์ เพื่อให้เกิดความแน่นอน ชิ้นไหน อันไหนตัวไหน หรือจำนวนไหน ตัวอย่างเช่น ตกลงซื้อมะพร้าว 50 ลูก ซึ่งรวมอยู่ในกองใหญ่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าจะเลือกมะพร้าว 50 ลูกนั้นออกมาจากกองก่อน 
          3) สัญญาซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่งที่ยังต้องดำเนินการบางอย่างเพื่อให้รู้ราคาแน่นอนในกรณีนี้กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะมีการกระทำ เพื่อให้รู้ราคานั้นก่อน ตัวอย่างเช่นซื้อมะพร้าวทั้งกอง ในราคาลูกละ 1 บาทความจริงมะพร้าวทั้งกองเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้วเพียงแต่ยังไม่ทราบว่ามะพร้าวกองนั้นมีกี่ลูกเพื่อคำนวณราคาเท่านั้น เพราะฉะนั้นจะต้องรู้ก่อนว่ามะพร้าวกองนั้นมีกี่ลูกกรรมสิทธิ์ถึงจะโอน 
          (ข) ต้องมีการตกลงว่าจะชำระราคาเพียงแต่ตกลงกันว่าจะชำระราคาก็เป็นเพียงพอแล้ว ยังไม่ต้องชำระราคาทันทีจะตกลงชำระกันในภายหลัง หลังจากสัญญาเกิดขึ้นแล้วก็ได้ 
(ค)บุคคลที่มีสิทธิทำสัญญา ดังได้กล่าวมาตอนแรกแล้วว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องเป็นคนบรรลุนิติภาวะ คือ อายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสถ้าทั้งชายหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เราพบในชีวิตประจำวันจะเห็นว่าผู้เยาว์หรือคนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่างๆก็ไปทำสัญญาซื้อขายต่างๆมากมายเช่น ซื้อสมุด ดินสอ ยางลบหรืออาหารกลางวันรับประทานที่โรงเรียนตรงนี้ปัญหาว่าเขาจะทำได้หรือไม่คำตอบอยู่ในบทยกเว้นในเรื่องการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ซึ่งในกรณีเหล่านี้ถือว่าสามารถจะทำได้เพราะเป็นการกระทำที่สมแก่สถานภาพและความจำเป็นแก่การดำรงชีพนั่นเองค่ะ

เป็นคนไทยยุคนี้ไม่รู้ไม่ได้แล้ว!!“หลักเกณฑ์สำคัญการทำสัญญาซื้อขายและวิธีการโอนกรรมสิทธิ์”จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบฉ้อโกง!!(อ่านเลยอะไร?ยังไง?)

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย,
กฎหมายชาวบ้าน,และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย: โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์