ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

“พลู” เป็นของคู่กับ ”หมาก”มาช้านาน ปัจจุบันบทบาทของทั้งคู่ที่เคยแพร่หลายในอดีต ได้รับความนิยมลดลง จะใช้เฉพาะเป็นเครื่องไหว้บูชาในงานพิธีสำคัญต่างๆ หรือใช้ไหว้พระไหว้เทพเจ้า ทว่า หมากพลูไม่ได้มีดีแค่นั้น แต่ยังเป็นยาที่มีประโยชน์ได้เสมือนยาสามัญประจำบ้าน

ชื่ออื่น พลูจีน เปล้าอ้วน ซีเกะ (นราธิวาส) กื่อเจี่ย (แต้จิ๋ว) จวี้เจี้ยง (จีนกลาง) อยู่ในวงศ์ Piperaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper betle L.

เด็กรุ่นใหม่มักจะมองข้าม!! รู้แล้วทำไมคนแก่ที่กิน "หมากพลู"  จึงไม่ค่อยเป็นโรค เรียกได้ว่าเป็นยาวิเศษ "มรดกจากคุณทวด" สรรพคุณเหลือหลาย!!

ต้น เป็นไม้เถาเขียวตลอดปี รากงอกตรงข้อใช้ยึดเกาะ

เด็กรุ่นใหม่มักจะมองข้าม!! รู้แล้วทำไมคนแก่ที่กิน "หมากพลู"  จึงไม่ค่อยเป็นโรค เรียกได้ว่าเป็นยาวิเศษ "มรดกจากคุณทวด" สรรพคุณเหลือหลาย!!

 

ใบ เป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจ ออกสลับกัน มีกลิ่นหอมเฉพาะ ฐานใบมักเฉียง ใบยาว 10- 15 ซม. กว้าง 4-10 ซม. ดอกเล็กสีขาว ไม่มีก้าน ออกเป็นกลุ่มเรียงบนก้านช่อดอกยาว 5-15 ซม.

เด็กรุ่นใหม่มักจะมองข้าม!! รู้แล้วทำไมคนแก่ที่กิน "หมากพลู"  จึงไม่ค่อยเป็นโรค เรียกได้ว่าเป็นยาวิเศษ "มรดกจากคุณทวด" สรรพคุณเหลือหลาย!!

 

สรรพคุณ : ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง แก้ลมพิษและฆ่าพยาธิ รักษาแผลช้ำบวม เลือดกำเดาออก แก้อาการคัน แก้คัดจมูก อมกลั้วแก้เจ็บคอ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด แก้ปอดบวม รักษากลากและฮ่องกงฟุต

 

เด็กรุ่นใหม่มักจะมองข้าม!! รู้แล้วทำไมคนแก่ที่กิน "หมากพลู"  จึงไม่ค่อยเป็นโรค เรียกได้ว่าเป็นยาวิเศษ "มรดกจากคุณทวด" สรรพคุณเหลือหลาย!!

ตำรับยาและวิธีใช้ :

- ดับกลิ่นปาก ใช้ใบเคี้ยวแล้วคายทิ้งวันละ 2-3 ครั้ง ช่วยดับกลิ่นปากได้

- ดับกลิ่นกาย ใช้ใบสดขยี้ให้แหลกแล้วใช้ทาถูที่ใต้รักแร้เป็นประจำ

- แก้ลมพิษ ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้ทาจนหาย

- แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำร้อนสักหนึ่งแก้วดื่ม ช่วยลดอาการปวดจุกแน่นเฟ้อและบำรุงกระเพาะอาหาร

- ลดปวดบวม ใช้ใบพลูเลือกใบใหญ่ อังไฟให้ร้อนใช้ไปประคบบริเวณที่ปวดบวมช้ำ

- รักษากลากและฮ่องกงฟุต เอาใบสดโขลกให้ละเอียดดองกับเหล้าขาวทิ้งไว้ 15 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใช้ทาบริเวณที่เป็น

.

.

.

.

ขอขอบคุณ แหล่งที่มา : - ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ก้าวไปกับสมุนไพร เล่ม2.ธรรมกมลการพิมพ์.,

การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารสกัดจากสะค้านและพลูในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราบางชนิด

ขอบคุณวีดีโอ : พันธ์ดี นันทะจักร์