เปิดบ้าน!!! เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เปิดเรื่องราวของ คอนสแตนติน ฟอลคอน ที่รับบทโดย หลุยส์ สก๊อตต์ หรือ หลวงสุรสาคร ในละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ตามประวัติศาสตร์ คอนสแตนติน ฟอลคอน ผู้นี้เดิมเป็นนักผจญภัยชาวกรีก แต่ได้กลายมาเป็น สมุหนายก หรือ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา 

ช่วงชีวิตวัยเด็ก คอนสแตนติน ฟอลคอน 

เปิดบ้าน!!! เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ฟอลคอนเกิดที่แคว้นเซฟาโลเนีย (ประเทศกรีซ) เมื่อ พ.ศ. 2190 โดยมีเชื้อสายของชาวกรีกและเวนิส ฟอลคอนเข้าทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ต่อมาพ.ศ. 2205 ฟอลคอน ออกจากบ้าน และเดินเรือสินค้าไปค้าขายยังแดนต่างๆ
ชีวิตในอยุธยา

เปิดบ้าน!!! เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พ.ศ. 2218 ฟอลคอนเดินทางมายังอยุธยาในฐานะพ่อค้า เนื่องจากฟอลคอนมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย ฟอลคอนจึงเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลาไม่กี่ปี และได้เข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในตำแหน่งล่าม นับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา เป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส ฟอลคอนได้กลายมาเป็นสมุหเสนาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาในเวลาอันรวดเร็ว
ฟอลคอนมีความสามารถในทางการทูตและการค้าขาย เป็นผู้สร้างรายได้ให้กับท้องพระคลังหลวงอย่างมากมาย ด้วยการใช้วิธีผูกขาดทางการค้า สินค้าสำคัญอย่าง พริกไทย ไม้หอม เขาสัตว์ งาช้างและของป่าหายากทั้งหลาย ประชาชนคนทั่วไปจะไม่มีสิทธิ์ทำการค้าขายกับชาวต่างชาติได้โดยตรง รัฐบาลจะซื้อสินค้าเหล่านั้นเอาไว้เองทั้งหมด จากนั้นรัฐบาลก็จะตั้งราคาแล้วนำสินค้านั้นไปขายให้กับชาวต่างชาติ

ชีวิตสมรส

เปิดบ้าน!!! เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เปิดบ้าน!!! เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พ.ศ. 2225 ฟอลคอนแต่งงานกับ มารี กีมาร์ (ท้าวทองกีบม้า) ซึ่งภายหลัง เป็นผู้ประดิษฐ์ขนมไทยหลายอย่าง
บั้นปลายชีวิต

พระเพทราชา เมื่อกุมอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินแล้ว ก็จับกุมเจ้าพระยาวิชเยนทร์และผู้ติดตามรวมถึงราชนิกุลองค์ต่าง ๆ และนำไปประหารชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ในวัยเพียง 40 ปี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบถึงเหตุดังกล่าว พระองค์ทรงกริ้วมาก แต่ไม่มีพระวรกายแข็งแรงเพียงพอที่จะทำการใด ๆ และเสด็จสวรรคตในอีกไม่กี่วันต่อมา บรรดาขุนนางได้อัญเชิญ พระเพทราชา ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษก ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิ

เปิดบ้าน!!! เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 

และในปัจจุบัน ยังหลงเหลือให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เกี่ยวกับ บ้านหลวงรับราชทูต หรือบ้านวิชาเยนทร์    สร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   เพื่อรับรองเอกอัครราชทูตจากฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14   ซึ่งเป็นทูตจากฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. 2228 ก็ได้พัก ณ   สถานที่นี้จึงได้ชื่อว่า บ้านหลวงรับราชทูต ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ขุนนางสำคัญในสมัยนั้นเคยพักอยู่ที่นี่   จึงเรียกตึกนี้ว่า บ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ อีกชื่อหนึ่ง 

เปิดบ้าน!!! เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
     อาคารของบ้านหลวงรับราชทูตเป็นอาคารที่สร้างด้วยอิฐ   ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา มีกำแพงล้อมโดยรอบ   พื้นที่บริเวณบ้านหลวงรับราชทูตแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
     ส่วนทางทิศตะวันตกเป็นกลุ่มอาคาร ได้แก่   ตึกสองชั้นหลังใหญ่ ก่อด้วยอิฐและอาคารชั้นเดียวแคบยาว   ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม
     ส่วนกลางมีอาคารที่สำคัญ คือ   ฐานของสิ่งก่อสร้างซึ่งเข้าใจว่าเป็นหอระฆัง และ โบสถ์คริสตศาสนา   ซึ่งอยู่ทางด้านหลังซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปจั่ว
     ส่วนทิศตะวันออก ได้แก่   กลุ่มอาคารใหญ่ 2 ชั้น มีบันไดขึ้นทางด้านหน้าเป็นรูปครึ่งวงกลม   ซุ้มประตูทางเข้ามีลักษณะเช่นเดียวกับทางทิศตะวันตก 

เปิดบ้าน!!! เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

     ด้วยเหตุที่มีสิ่งก่อสร้างหลายหลังดังกล่าว   จึงต้องสันนิษฐานว่าส่วนใดเป็นที่พำนักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์และส่วนใดเป็นที่พำนักของคณะทูตชาวฝรั่งเศส
     ผลจากการสำรวจแผนผังบริเวณบ้านวิชาเยนทร์พบว่า   ส่วนกลางและส่วนทางทิศตะวันออก มีสิ่งก่อสร้างที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้มีความสัมพันธ์กัน คือ   โบสถ์และตึกหลังใหญ่ 2 ชั้น และได้รับการก่อสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรงดูสวยงาม   บริเวณดังกล่าวจึงควรเหมาะสมใช้เป็นที่ต้อนรับทูตชาวต่างประเทศโบสถ์คริสตศาสนาคงใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาของบาทหลวงคณะเจซูอิต   ได้เข้ามาพร้อมคณะทูตหลายรูป   ส่วนอาคารบริเวณทางทิศตะวันตกคงเป็นที่พักอาศัยของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ 

เปิดบ้าน!!! เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

     ลักษณะของสถาปัตยกรรมในบ้านวิชาเยนทร์บางหลังเป็นแบบยุโรปอย่างแท้จริง   โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออก ก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น   หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะศิลปตะวันตกแบบเรอเนสซองต์   ซึ่งแพร่หลายในระยะเวลาเดียวกัน และที่สำคัญอีกคือ อาคารที่เป็นโบสถ์คริสตศาสนา   ผังและแบบของโบสถ์เป็นแบบยุโรปมีซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้ว   มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาว ซึ่งเป็นศิลปแบบไทย   โบสถ์หลังนี้ถือกันว่าเป็นโบสถ์คริสตศาสนาหลังแรกในโลกที่ตกแต่งด้วยลักษณะของโบสถ์ทางพระพุทธศาสนา
เปิดบ้าน!!! เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

Cr.wikipedia ละครบุพเพสันนิวาส บ้านวิชาเยนทร์