นี่ก็หนึ่งชีวิตโดยคนใจบาป?!? ดร.กณิตา เปิดผลแล็บ100%ไก่ฟ้า ?!? ใครยังกังขาอีกไหม??? นี่คือกับมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์ฯอาชญากรรมสัตว์ป่า!?!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

จากกรณีเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ฝั่งตะวันตก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ได้รับแจ้งว่าพบนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งตั้งแคมป์พักในบริเวณจุดห้ามตั้ง เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพบว่าหนึ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยวมีสมาชิก คือ นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เจ้าหน้าที่จึงเข้าทำการตรวจสอบบริเวณเต็นท์พัก พบซากสัตว์ป่าคุ้มครอง คือ ไก่ฟ้าหลังเทา ซากเนื้อเก้งนั้น

       ล่าสุดวันนี้(18มี.ค.) ดร.กณิตา อุ่ยถาวร หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า ของกรมอุทยานฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว  Kanita Ouitavon เปิดเผยถึงผลการตรวจแล็บนิติวิทยาศาสตร์ของไก่ฟ้าหลังเทาดังนี้

ว่าด้วยเรื่องไก่ฟ้า...? เจ้าเอย...

 

ในคดีล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่ฯ ครานี้ นอกจาก "เสือดำ" แล้ว ยังมี "ไก่ฟ้า" ตัวหนึ่งที่ตกเป็นเจ้าทุกข์กับเขาด้วย...ซึ่งได้มีการรายงานผลเบื้องต้นไปแล้ว แต่ยังมิได้มีการยืนยันผลที่ถูกต้องกับพนักงานสอบสวน และยังไม่ได้ออกรายงานผลฉบับสมบูรณ์ เนื่องจากแล็บฯ นิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าของกรมอุทยานฯ ขอวิเคราะห์ผลใหม่ เพราะพบบางจุดที่ยังทำให้ไม่มั่นใจในการสรุปผล...บัดนี้ เราวิเคราะห์ผลใหม่เสร็จเรียบร้อย และได้ความมั่นใจ 100% แล้ว ขอสรุปผลว่าไก่ฟ้าตัวนี้ เป็น "ไก่ฟ้าหลังเทา" (Lophura leucomelanos) ค่ะ....อย่างไรก็ตาม กว่าเราจะสรุปผลได้นั้นมีความท้าทายในการแก้ไขปัญหาหลายอย่างในแล็บฯ ก็จะขออธิบายให้กับท่านที่ยังมีข้อกังขาและข้อสงสัยในการวิเคราะห์ผลของเราอยู่ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าไม่สอดคล้องกับข้อมูลถิ่นอาศัยและเขตการแพร่กระจายนะคะ...ถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้ในประเด็นงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ก็แล้วกัน (ถ้าสนใจ) ค่ะ

 

นี่ก็หนึ่งชีวิตโดยคนใจบาป?!? ดร.กณิตา เปิดผลแล็บ100%ไก่ฟ้า ?!? ใครยังกังขาอีกไหม??? นี่คือกับมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์ฯอาชญากรรมสัตว์ป่า!?!

 

งานนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า (Wildlife Forensics) นั้นมีความท้าทายที่แตกต่างจากงานนิติวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ตรงที่ต้องทำให้แล็บฯ สามารถรองรับการวิเคราะห์ชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าแทบจะทุกชนิดในโลกนี้ มิใช่มนุษย์ซึ่งเป็นเพียงแค่ชนิดเดียว โดยปกติแล้วในแล็บฯ นิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าทั่วโลก จะใช้เครื่องหมายพันธุกรรมบน Mitochondrial DNA ในการจำแนกชนิดพันธุ์สัตว์เป็นหลัก โดยเข้าไปเปรียบเทียบกับข้อมูลอ้างอิงในฐานข้อมูลพันธุกรรมสากล (GenBank) แล็บฯของเราก็เช่นเดียวกัน เราจะใช้ยีน Cytochrome b ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และจะใช้ยีน Cytochrome Oxides Subunit 1 (COXI) ในกลุ่มสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลาน และในบางกรณีที่ต้องการจำแนกให้ละเอียดขึ้นในระดับชนิดพันธุ์ย่อยหรือในระดับประชากร ก็จะใช้ชิ้นส่วนของ Control Region (หรือ D-loop) เข้ามาช่วยด้วยค่ะ (D-loop ไม่ใช่ยีน แต่ช่วยควบคุมการแสดงออกของยีน เป็นส่วนที่มีความผันแปรทางพันธุกรรมสูง) ทั้งหมดอยู่บน Mitochondrial DNA

 

นี่ก็หนึ่งชีวิตโดยคนใจบาป?!? ดร.กณิตา เปิดผลแล็บ100%ไก่ฟ้า ?!? ใครยังกังขาอีกไหม??? นี่คือกับมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์ฯอาชญากรรมสัตว์ป่า!?!

 

คราวนี้มาดูการวิเคราะห์เจ้า "ไก่ฟ้า" ตัวนี้บ้าง เนื่องจากเขาเป็นสัตว์ปีก เราจึงเลือกใช้ยีน COXI ก่อน แต่ผลการเปรียบเทียบใน GenBank ออกมาเป็นไก่ฟ้าหลังขาว ยังทำให้เราไม่มั่นใจนัก จึงวิเคราะห์ใหม่โดยคราวนี้เปลี่ยนเครื่องหมายมาเป็น Cytochrome b และ D-loop ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบใน GenBank ยิ่งทำให้เราสับสนมากขึ้น เนื่องจากค่าคะแนนความเหมือนของความเป็น "ไก่ฟ้าหลังเทา" และ "ไก่ฟ้าหลังขาว" เท่ากันเลย (ดูภาพประกอบค่ะ) ทำให้ยังไม่สามารถสรุปผลได้....ทำยังไงดีล่ะทีนี้ จะเห็นได้ว่าในกรณีนี้ GenBank พึ่งไม่ได้แล้ว ??!!!? เหตุที่ยังพึ่งไม่ได้ก็ไม่แปลกนัก เนื่องจากไก่ฟ้าตัวนี้มีประชากรย่อยในชนิดพันธุ์ด้วย ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าข้อมูลใน GenBank จะมีครอบคลุมถึงตัวที่เป็นชนิดพันธุ์ย่อยในบ้านเราหรือไม่? การประมวลผลออกมาเลยยังแยกชนิดพันธุ์ไม่ได้เช่นนี้!!!...แต่อย่างน้อยที่สุด เราก็ได้ข้อมูลในเชิงวิจัยว่ายีน Cytochrome b นั้นไม่สามารถใช้แยกชนิดพันธุ์ระหว่างไก่ฟ้าหลังเทา และไก่ฟ้าหลังขาวได้ ส่วนข้อมูล D-loop ใน GenBank ก็อาจเป็นชนิดพันธุ์ย่อยอื่นที่ไม่มีในบ้านเราก็เป็นได้

 

นี่ก็หนึ่งชีวิตโดยคนใจบาป?!? ดร.กณิตา เปิดผลแล็บ100%ไก่ฟ้า ?!? ใครยังกังขาอีกไหม??? นี่คือกับมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์ฯอาชญากรรมสัตว์ป่า!?!

 

การแก้ปัญหา...มีวิธีการเดียว คือ เราต้องหาข้อมูลอ้างอิงจาก"ไก่ฟ้าหลังเทา" และ"ไก่ฟ้าหลังขาว" ที่มั่นใจได้ว่ามีที่มามาจากบ้านเราเอง คือเป็นไก่ฟ้าในประเทศไทย ไม่ใช่มาจากที่ือื่น แล้วนำมาเปรียบเทียบกับไก่ฟ้าเจ้าทุกข์ตัวนี้....ซึ่งขอบอกว่าเป็นความโชคดีของเราจริงๆ ที่เราเจอหลังจากที่พยายามค้นหาสุดขีด แถมยังเป็นช่วง D-loop ที่เราทำใหม่ด้วย (ต้องขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลอ้างอิงที่ช่วยงานนี้ไว้ได้ในครั้งนี้คือน้อง Kitichaya Penchart เจ้าหน้าที่ของเราเองค่ะ)....การเปรียบเทียบข้อมูลคราวนี้ออกมาในรูปแบบของการสร้างความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ (Phylogenetic Tree) ที่ตัวอย่างที่ได้รับเข้ารวมกลุ่มกับไก่ฟ้าหลังเทา ก็เป็นอันสรุปได้แน่นอนแล้วว่าไก่ฟ้าตัวนี้เป็น "ไก่ฟ้าหลังเทา" (Lophura leucomelanos) นะคะ หวังว่าทุกท่านคงเคลียร์แล้วนะคะ

 

นี่ก็หนึ่งชีวิตโดยคนใจบาป?!? ดร.กณิตา เปิดผลแล็บ100%ไก่ฟ้า ?!? ใครยังกังขาอีกไหม??? นี่คือกับมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์ฯอาชญากรรมสัตว์ป่า!?!

 

ก้าวต่อไป....งานนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าในประเทศไทย อาจดูเป็นสิ่งใหม่ที่เราคนไทยยังไม่คุ้นเคยนัก แต่มันจำเป็นที่จะต้องมีในเดี๋ยวนี้ โดยจะต้องมีงานวิจัยด้านพันธุกรรมสนับสนุนอย่างมั่นคง..เพื่อช่วยตอบปัญหาในคดีอาชญากรรมสัตว์ป่า (ดังตัวอย่างในคดีนี้ เป็นต้น)...กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และจะทำให้ประชาชนคนไทยเห็นว่าเราได้สร้างมาตรฐานในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าด้วยการทำงานอย่างมีหลักการ รอบคอบรัดกุม และมีความถูกต้องมากที่สุด เพื่อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมสัตว์ป่าในประเทศไทยให้สำเร็จให้จงได้ค่ะ

 

นี่ก็หนึ่งชีวิตโดยคนใจบาป?!? ดร.กณิตา เปิดผลแล็บ100%ไก่ฟ้า ?!? ใครยังกังขาอีกไหม??? นี่คือกับมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์ฯอาชญากรรมสัตว์ป่า!?!

 

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก : Kanita Ouitavon