สมควรโดนปลด!! ผู้ว่า กยท.คิดว่าตัวเองเจ๋งไม่ฟังใครแม้แต่ รมต.สั่งระงับ ให้เอกชนเก็บเงินเซส ยังดันทุรังจะทำต่อ (คลิป)

จากกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ได้ใช้อำนาจหน้าที่ลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2561 ลงวันที่ 20 มี.ค. 2561 เรื่องให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอื่นของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ในสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีคำสั่งให้ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ไปปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ของรัฐประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตามกรอบอัตรากำลังชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ในสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 
โดยได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์จากการยางแห่งประเทศไทยและยังไม่พ้นจากตำแหน่งเดิม จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นประการอื่น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปนั้น

สาเหตุในการโยกย้ายนอกเหนือจากข้อคัดค้านระหว่างชาวสวนยางร่วมกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกิจการยางแห่งประเทศไทย กับนายธีธัชในประเด็นการจัดจ้างเอกชนเก็บเงินเซส  หรือค่าธรรมเนียมการส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักร  ที่ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้เกาะติดในประเด็นนี้อย่างต่อหลังพบแชร์รายได้ให้เอกชน 5%  มาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถเป็นหนึ่งผลักดันให้เกิดการโยกย้ายขึ้นมาได้  และอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญก็คือ การบริหาจัดการยางและการแก้ไขปัญหาราคายางที่ตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับทางด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม (กห.) ได้กล่าวถึงสาเหตุการโยกย้ายในนครั้งนี้ เพราะเขาทำงานมานาน และแก้ไขปัญหายางพาราไม่สำเร็จ โดยเฉพาะราคายาง ก่อนหน้าที่จะมีคำสั่งย้าย นายธีธัช อดีตผู้ว่ากยท. คนแรก (ก่อนหน้านั้นมีผู้ว่าฯรักษาการปฏิบัติหน้าที่แทน) ย้อนเวลาไปนับตั้งแต่วันแรกที่มีการสรรหาผู้ว่ากยท.ฯนั้น 
กว่าจะได้ตัวผู้ว่ากยท. ได้ล้มการสรรหาไป 3-4 รอบ จากประธานคณะกรรมการสรรหาในขณะนั้นคีอนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น

นายธีธัช เมื่อครั้งนั่งเป็นผู้อำนวยการองค์การตลาด รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยร้องเรียนว่าทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (พ.ร.บ.ฮั้ว) และบอร์ดองค์การตลาดได้มีมติเอกฉันท์ให้เลิกจ้างไว้ก่อนเมื่อเดือน พ.ย.2555 แต่ภายหลังสามารถที่จะลอดบ่วงการชี้มูลของ ป.ป.ช.ไปได้ ขณะที่ผู้ใต้บังคับบัญชา 4 คน ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีรายงานข่าวกล่าวว่า ทั้งนี้หลังประกาศชื่อนายธีธัชเป็นผู้เหมาะสม ที่จะดำรงตำแหน่งผู้ว่ากยท. ไม่ทันข้ามคืนก็เกิดความวุ่นวายขึ้น โดยชาวสวนยางพาราทั่วประเทศเเละอดีตนักการเมืองพรรคหนึ่งไม่ยอมรับ และยังเปิดเผยปมทุจริตสมัยนั่งเป็นผู้อำนวยการองค์การตลาด จนต้องหาหลักฐานมายืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องทุจริตในอดีต แต่ทุกวันนี้ชาวสวยางพารานจำนวนมากก็ไม่เชื่อ และไม่ยอมรับนายธีธัช กระแสต่อต้านนายธีธัช ยังมีต่อเนื่อง และแตกหักเมื่อปลายปี 2559 เมื่อบอร์ดการยางฯมีมติเทขายยางฯในสต๊อก 2 โครงการ จำนวน 3.1 แสนตัน ช่วงนั้นราคายางแผ่นดิบราคาอยู่ที่ 80.29 บาทต่อกิโลกรัม ยางแผ่นรมควันที่ 86-87 บาทต่อกิโลกรัม จากวันนั้นราคายางก็ค่อยๆ ตกต่ำมาเรื่อย ๆ และนายธีธัชก็มาตกที่นั่งเป็น “ตัวปัญหา”ของชาวสวนยางพารา

โดยนายธีธัช ทำอะไรก็ผิด ไม่ว่าจะนำเงินไปลงขันตั้งบริษัท ร่วมทุนยางพารา จำกัดกับ 5 บริษัทผู้ค้ายางพารารายใหญ่ของประเทศ การจัดจ้างเอกชนปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมส่งออกยางพารา(Cess)
โดยจะหักรายได้ก่อนจัดเก็บ 5% โดยอ้างมติบอร์ดยางพารา (พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานบอร์ด กยท.) เดินหน้าไม่ฟังเสียงเกษตรกร สหภาพฯ แม้กระทั่งนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
ได้มาบุกถึง กยท. บางขุนนนท์ กรุงเทพฯเพื่อคัดค้าน แต่กลับไม่รับความสนใจ ทางกยท. ยังคงเดินหน้าต่อไปโดยไม่สนใจคำสั่งของรัฐมนตรีผู้ซึ่งมีหน้าที่กำกับและดูแล 

เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา นายกฤษฎา  เปิดเผยว่า ได้สั่งให้นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ชะลอโครงการจัดจ้างเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง (เงินเซส) เพราะเป็นเรื่องที่ยากกับการตอบสังคม และเห็นว่าคนของ กยท.สามารถทำได้โดยไม่ต้องว่าจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินงาน การจัดเก็บเงินเซสต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเป็นรายได้ของรัฐ ไม่ควรปล่อยให้เงินเซสหายไปเพราะนำมาใช้ช่วยเกษตรกรสวนยางทั้งประเทศ เมื่อทดลองใช้คนจำนวนไม่มากเข้าไปทำงานก็ยังทำได้ ก็ไม่ควรต้องจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการ เพราะต้องเสียเงินปีละหลายร้อยล้านและเงินค่าเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบราชการ ไม่มีใครการันตีว่าเอกชนที่จ้างมาจะไม่ทุจริตเพราะตรวจเอง เขียนเอง เก็บเอง ทั้งนี้ จะให้กรมวิชาการเกษตรไปตรวจสอบกรณีตัวเลขส่งออกยางกับที่ผ่านด่านศุลกากรจึงต่างกันมากเป็นล้านตัน ทำให้รัฐเสียประโยชน์

นายกฤษฎา กล่าว "ได้เรียกผู้ว่าฯ กยท.มาชี้แจงในรายละเอียดโครงการ ซึ่งแจ้งว่า กยท.มีรายละเอียดตัวเลขการส่งออกยางต่างกับที่ผ่านศุลกากรเป็นล้านตัน โดยจัดคนไปประจำด่าน ด่านละ 3คน เก็บตัวเลขก็พบว่ามีตัวเลขต่างกันเก็บเงินได้เพิ่มอีกเป็นพันล้านบาท ดังนั้น เมื่อคนของ กยท.ทำได้และใช้แค่ 3 คน/จุด ก็ให้ใช้คนของ กยท. เพราะไม่เห็นด้วยกับโครงการจ้างเอกชน" จนในที่สุดนายกรัฐมนตรีต้องเลือกวิธีดังกล่าวเพื่อลดปัญหากระแสต่อต้านรัฐบาล โดยยอมย้ายนายธีธัชซึ่งมีความใกล้ชิดกับเพื่อนนักเรียนเตรียมทหาร รุ่น 12 ของพล.อ.ประยุทธ์ที่มีอำนาจในครม.เเละคสช. เข้ากรุสำนักนายกรัฐมนตรีแบบยังรักษาน้ำใจคือ ยังได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์จากการยางแห่งประเทศไทยและยังไม่พ้นจากตำแหน่งเดิมก็ตามจนกว่าจะสรุปปัญหาได้จบสิ้น

ขณะเดียวกันสถานการณ์ทิศทางราคายางกลับดีขึ้นมาทันที ภายหลังมีการสั่งโยกย้ายผู้ว่าฯกยท.เพียงแค่หนึ่งวัน ล่าสุดทางด้านของ นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผย แนวโน้มราคายางพาราเริ่มปรับขึ้นต่อเนื่อง โดยยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 48 - 49 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิมกิโลกรัม 42 บาท ยอมรับว่าราคายางพาราที่ปรับลดลงช่วงนี้เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำชับไม่ให้นำยางพาราในสต๊อกของรัฐบาลที่มีอยู่ 104,000 ตัน ออกมาระบายช่วงนี้ เพื่อไม่ให้กระทบราคาตลาด พร้อมเตรียมหารือกับประเทศผู้ผลิตยางทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ เวียดนาม ร่วมกันออกมาตรการดูแลราคายางพารา คาดว่าจะชัดเจนภายในเดือนเมษายนนี้