FB : DEEPS  NEWS

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

จากกรณีพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รองผบ.ตร.) ออกมาเปิดเผยว่า พนักงานสอบสวนได้สอบพยานเพิ่ม 10 ปาก และสรุปสำนวนเพิ่มอีก103 หน้า ส่งไปให้อัยการจังหวัดทองผาภูมิ แล้วเมื่อช่วงเช้าวันที่ 22 มี.ค.ซึ่งหาก อัยการพิจารณาให้สอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นใด ทางพนักงานสอบสวนก็สามารถทำได้ จนกว่าทางอัยการจะสิ้นกระแสความ

 

 

FB : DEEPS  NEWS

 

 

       ล่าสุดวันนี้(24มี.ค.)นางสมศรี วัฒนไพศาล อธิบดีอัยการภาค 7 กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาสำนวนคดีที่นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) พร้อมพวกรวม 4 คน ตกเป็นผู้ต้องหาคดีร่วมกันล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก จ.กาญจนบุรี รวมทั้งหมด 9 ข้อหาว่า คณะพนักงานสอบสวนส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติม มาให้คณะทำงานอัยการ ตามคำสั่งให้สอบเพิ่มเติมในบางประเด็นแล้ว

 

FB : DEEPS  NEWS

 

       คณะทำงานอัยการได้ตรวจสอบผลการสอบสวนพยานเพิ่มเติมแล้ว พบว่ายังคงไม่ครบในบางประเด็น ตามที่ได้สั่งการไป แต่ขาดอีกไม่มาก ซึ่งได้ประสานให้พนักงานสอบสวนไปทำการสอบเพิ่มเติมอีก ในการที่อัยการจะพิจารณาสั่งคดีใดนั้น ต้องพิจารณาสำนวนให้มีความรอบคอบ เพราะอัยการต้องเดินทางไปขึ้นศาล นำสำนวนไปยื่นฟ้อง ถ้าสำนวนไม่พร้อมหรือไม่เรียบร้อย ก็จะปล่อยให้ผ่านไปไม่ได้” นางสมศรี กล่าว

 

FB : DEEPS  NEWS

 

       ขณะที่นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุ๊ก ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ในวันนี้ โดยกล่าวถึงการสอบสวนคดี และอำนาจในการฟ้องคดีอาญาของอัยการ ซึ่งพนักงานสอบสวนเป็นผู้สอบคดีถือเป็นเรื่องสำคัญ และได้ยกตัวอย่างคำพิพากษาฏีกาในหลายคดีไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

 

เหตุที่ต้องถามว่า “ท่านมีอำนาจสอบสวนหรือไม่” ก็เพราะว่า การสอบสวนจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ "พนักงานอัยการ" มีอำนาจในการฟ้องคดีอาญา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดหลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนความผิดที่ได้กระทำลงในราชอาณาจักรไว้ในมาตรา ๒ (๖) และมาตรา ๑๘ กับมาตรา ๑๙ โดยมีสาระสำคัญว่า การสอบสวนต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน ทั้งการสอบสวนต้องกระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจ หากผู้สอบสวนมิใช่ “พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจ” แล้วต้องถือว่า เป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อน อันมีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

 

FB : DEEPS  NEWS

 

ที่ผ่านมามีคำพิพากษาฎีกาในเรื่องนี้ไว้มากมาย เช่น คดีบุกรุกป่าไม้ของ สภ.อ.ไทยเจริญกับ สภ.อ.เลิกนกทา หรือคดีพรากผู้เยาว์และล่วงละเมิดทางเพศของ สภ.อ.ท่ามะกา กับ สน.บางพลัด หรือคดียาเสพติดของ สน.ท่าข้าม กับ สน.แสมดำ ดูซิครับ ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะการสอบสวนที่กระทำโดย “พนักงานสอบสวน” ที่ไม่มีอำนาจ

 

สำหรับคนที่ทำงานด้านการสอบสวนหรือจะสอบเนติฯ สัปดาห์หน้า ลองศึกษาเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๑/๒๕๓๑, ๖๑๔๒/๒๕๔๘, ๑๒๙๓๔/๒๕๕๓, ๔๓๓๗/๒๕๕๔, ๑๑๕๘๕/๒๕๕๗ เพิ่มเติมดูด้วยนะครับ ที่ผมถามนั้นก็เพียงการการเตือนกันครับ การทำงานด้านกฎหมายต้องรู้กฎหมายจริงๆ ยิ่งทำคดีที่ผู้ต้องหาที่เงินมาก มีอำนาจ เชื่อเถอะทีมทนายเขาก็ต้องเก่งประมาทไม่ได้ เพราะ “อัยการ” มีหน้าที่รับผิดฟ้องให้คนผิดต้องได้รับโทษ หากปรากฏว่าการสอบสวนไม่ชอบ ศาลก็จะไม่พิจารณาข้อเท็จจริงว่าเขากระทำการอันเป็นความผิดหรือไม่ ถ้าตกม้าตายเพราะเรื่องนี้ใครจะรับผิดชอบ อย่าบอกว่า "คนละหน่วยงาน ไม่ก้าวก่ายกัน" คิดอย่างนี้มันคับแคบต่อการอำนวยความยุติธรรมของประเทศเกินไปครับ

 

FB : DEEPS  NEWS

 

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก : ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม