ชักใจไม่ดีซะแล้ว!! "อัยการปรเมศวร์" ลั่น คดีเปปรมชัยส่อ "ศาลยกฟ้อง"ต้องเพราะตำรวจไร้อำนาจมาสอบสวน

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ก่อนหน้านี้ นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีสำนักงานชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงอำนาจการสอบสวนของคดีนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กับพวก ตกเป็นผู้ต้องหาคดีลักลอบล่าสัตว์ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และครอบครองอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนรอง ผบ.ตร.เข้าไปทำอะไรคดีเจ้าสัว?? "อัยการปรเมศวร์" โพสต์ถาม-แนะ ต้องชัดเจน สอบสวน-บังคับบัญชา (รายละเอียด)

ล่าสุดนายปรเมศวร์ ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวอีกครั้งแต่ครั้งนี้ไปในทางที่ไม่ดีเท่าไรนักกับคนที่สนับสนุนให้เสือดำต้องไม่ตายฟรีเพราะคดีนี้อาจส่อศาลจะยกฟ้อง โดยระบุว่า

  เหตุที่ต้องถามว่า “ท่านมีอำนาจสอบสวนหรือไม่” ก็เพราะว่า การสอบสวนจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ "พนักงานอัยการ" มีอำนาจในการฟ้องคดีอาญา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดหลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนความผิดที่ได้กระทำลงในราชอาณาจักรไว้ในมาตรา ๒ (๖) และมาตรา ๑๘ กับมาตรา ๑๙ โดยมีสาระสำคัญว่า การสอบสวนต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน ทั้งการสอบสวนต้องกระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจ หากผู้สอบสวนมิใช่ “พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจ” แล้วต้องถือว่า เป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อน อันมีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

   ที่ผ่านมามีคำพิพากษาฎีกาในเรื่องนี้ไว้มากมาย เช่น คดีบุกรุกป่าไม้ของ สภ.อ.ไทยเจริญกับ สภ.อ.เลิกนกทา หรือคดีพรากผู้เยาว์และล่วงละเมิดทางเพศของ สภ.อ.ท่ามะกา กับ สน.บางพลัด หรือคดียาเสพติดของ สน.ท่าข้าม กับ สน.แสมดำ ดูซิครับ ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะการสอบสวนที่กระทำโดย “พนักงานสอบสวน” ที่ไม่มีอำนาจ สำหรับคนที่ทำงานด้านการสอบสวนหรือจะสอบเนติฯ สัปดาห์หน้า ลองศึกษาเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๑/๒๕๓๑, ๖๑๔๒/๒๕๔๘, ๑๒๙๓๔/๒๕๕๓, ๔๓๓๗/๒๕๕๔, ๑๑๕๘๕/๒๕๕๗ เพิ่มเติมดูด้วยนะครับ ที่ผมถามนั้นก็เพียงการการเตือนกันครับ การทำงานด้านกฎหมายต้องรู้กฎหมายจริงๆ ยิ่งทำคดีที่ผู้ต้องหาที่เงินมาก มีอำนาจ เชื่อเถอะทีมทนายเขาก็ต้องเก่งประมาทไม่ได้ เพราะ “อัยการ” มีหน้าที่รับผิดฟ้องให้คนผิดต้องได้รับโทษ หากปรากฏว่าการสอบสวนไม่ชอบ ศาลก็จะไม่พิจารณาข้อเท็จจริงว่าเขากระทำการอันเป็นความผิดหรือไม่ ถ้าตกม้าตายเพราะเรื่องนี้ใครจะรับผิดชอบ อย่าบอกว่า "คนละหน่วยงาน ไม่ก้าวก่ายกัน" คิดอย่างนี้มันคับแคบต่อการอำนวยคามยุติธรรมของประเทศเกินไปครับ

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม