อ่านแล้วกระจ่างทันที!!! เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีแก้พิษ...เมื่อถูกตะขาบกัด ปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่ายนิดเดียว เซฟเก็บไว้เลยจะได้ไม่พลาด!?

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ตะขาบ ถือเป็นอีกหนึ่งชนิดของสัตว์เลื้อยคลานที่มีอันตราย ไม่แพ้งู หรือแมลงมีพิษต่างๆ เพราะหากโดนมันกัดแล้ว จะมีอาการปวดแสบ ปวดร้อน บางรายหากมีอาการแพ้หนัก ก็อาจจะมีอาการเวียนหัว อาเจียน และร้ายแรงถึงขั้นต้องตัดเนื้อบริเวณตรงนั้นทิ้ง วันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจ กับอาการเมื่อถูกตะขาบกัด อีกทั้งวิธีในการถอนพิษเบื้องต้น ก่อนจะส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล ซึ่งหลายคนควรอ่านไว้เป็นความรู้ อย่างน้อยก็สามารถบรรเทาความเจ็บทรมาน ให้ทุเลาลงได้ 

ตะขาบ เป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบก ตะขาบมีขนาดความยาวของลำตัวตั้งแต่ 3 - 8 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดคือชนิดScolopendra heros มีความยาว 8 - 10 " ลำตัวแบนราบ มีปล้อง 15-100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ โดยมีเขี้ยวพิษ 1 คู่ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำตัว เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมา ทำให้เหยื่อเจ็บปวด และเป็นอัมพาต พิษของตะขาบประกอบด้วยสารก่อปฏิกิริยาอักเสบต่อร่างกาย ได้แก่ hydroxytryptamine หรือ cytolysin ทำให้เกิดอาการบวม ปวด แดง ร้อน หากบวมมาก เช่น ที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้าอาจกดเส้นเลือด ทำให้นิ้วขาดเลือดมาเลี้ยงจนกระทั่งนิ้วดำ เนื้อตาย ต้องตัดทิ้งได้
 

หากถูกตะขาบกัดเข้าก็ต้องปฐมพยาบาล เนื่องจากพิษของตะขาบจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ถูกกัดนั้นบวมแดง รู้สึกปวด และอาจชา บางคนหากแพ้พิษมากยังจะมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน และซึมลง แต่พิษของตะขาบในบ้านเรามักไม่สามารถทำให้เสียชีวิตได้โดยตรง วิธีการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น หากถูกกัดบริเวณแขนและขา พยายามห้อยส่วนดังกล่าวให้อยู่ต่ำ กรณีโดนกัดที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้า แนะนำให้หาเชือกหรือผ้ามารัดที่ข้อนิ้วเอาไว้ เป็นการป้องกันพิษกระจายตัว
จากนั้นให้เช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ หรือล้างด้วยน้ำด่างทับทิมช่วยฆ่าเชื้อโรค ตามด้วยการประคบเย็นบริเวณที่ถูกกัดเพื่อลดปวดบวม และกินยาแก้ปวด
ขณะที่การปฐมพยาบาลแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน มีการแนะนำให้แช่แผลที่ถูกกัดลงในน้ำส้มสายชู หรือใช้ยางมะละกอดิบป้ายแผลจะช่วยบรรเทาอาการ
ปวดลงได้

 

 


-ใช้น้ำมะนาว ผสมผงชูรส ก็สามารถช่วยถอนพิษจากความเจ็บปวดให้บรรเทาลง

 

-ใช้ใบตำลึง ขยี้จะใบพอแหลก ผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาโปะบริเวณที่ถูกตะขาบกัด ใบตำลึงจะช่วยทำให้แผลในบริเวณนั้นมีความเย็น 

 

-ใช้ใบเสลดพังพอน ผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาโปะบริเวณที่ถูกตะขาบกัด ใบตำลึงจะช่วยทำให้แผลในบริเวณนั้นมีความเย็น 

 

 


และสำหรับคนที่แพ้ เมื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นเสร็จแล้ว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจดูอาการว่ามีไข้ หรือแผลมีความอักเสบมากน้อยแค่ไหน และสำหรับคนที่ไม่มีอาการแพ้ หรืออาการข้างเคียง สามารถรับประทานยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบได้ตามปกติ ซึ่งความเจ็บปวดจะค่อยๆ จางหายภายในระยะเวลา 2-3 วัน แล้วแต่บุคคล 

 

อ่านแล้วกระจ่างทันที!!! เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีแก้พิษ...เมื่อถูกตะขาบกัด ปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่ายนิดเดียว เซฟเก็บไว้เลยจะได้ไม่พลาด!?

 

 

 

อ่านแล้วกระจ่างทันที!!! เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีแก้พิษ...เมื่อถูกตะขาบกัด ปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่ายนิดเดียว เซฟเก็บไว้เลยจะได้ไม่พลาด!?

 

 

 

อ่านแล้วกระจ่างทันที!!! เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีแก้พิษ...เมื่อถูกตะขาบกัด ปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่ายนิดเดียว เซฟเก็บไว้เลยจะได้ไม่พลาด!?

 

 

อ่านแล้วกระจ่างทันที!!! เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีแก้พิษ...เมื่อถูกตะขาบกัด ปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่ายนิดเดียว เซฟเก็บไว้เลยจะได้ไม่พลาด!?

 

 

อ่านแล้วกระจ่างทันที!!! เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีแก้พิษ...เมื่อถูกตะขาบกัด ปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่ายนิดเดียว เซฟเก็บไว้เลยจะได้ไม่พลาด!?

 

 

อ่านแล้วกระจ่างทันที!!! เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีแก้พิษ...เมื่อถูกตะขาบกัด ปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่ายนิดเดียว เซฟเก็บไว้เลยจะได้ไม่พลาด!?