คนไทยต้องรู้!! แบงก์ชาติแนะนำ จุดสังเกตบนธนบัตรแบบใหม่ในรัชกาลที่ 10 กับ 8 ตำแหน่งสำคัญ ที่มีลักษณะพิเศษ (ชมภาพ)

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

หลังจากที่นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เเถลงกรณีการออกใช้ธนบัตรแบบ 17 ว่า ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้จัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตรแบบใหม่ (แบบ 17) ทุกชนิดราคา เพื่อใช้เป็นธนบัตรหมุนเวียนทั่วไป โดยพระราชานุญาตให้นำธนบัตรแบบใหม่ออกใช้ในปีนี้ มีแนวคิดคือการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรี
 

โดยธนบัตรแบบ 20,50,100 บาท ได้ออกให้ใช้ในวันที่ 6 เมษายน 2561 ที่ผ่านมาแล้วนั้น ส่วนธนบัตรชนิด 500, 1,000 บัตร จะออกใช้ในวันที่ 28 ก.ค.2561 สำหรับด้านหน้าของธนบัตร ได้รับพระราชทานพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศของกองทัพอากาศ เป็นภาพประธานในธนบัตรทุกชนิดราคา ด้านหลังธนบัตรแต่ละชนิดราคา เชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ เรียงตามลำดับรัชกาล โดยมีภาพประกอบเป็นภาพหนึ่งในพระราชกรณียกิจสำคัญของแต่ละพระองค์ ที่มีความโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ และจารึกอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทย

 


ธนบัตรแบบ 17 นี้ มีขนาดและโทนสีเช่นเดียวกับธนบัตรแบบ 16 สำหรับลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง ยังคงลักษณะสำคัญของธนบัตรไทยไว้ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่ได้ปรับปรุงใหม่ในบางส่วนให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้  แถบสีโลหะ ปรากฏที่ด้านหน้าของธนบัตร และในชนิดราคา 100 บาท ภายในแถบสีมีการเคลื่อนไหว หมวดอักษรโรมันและเลขหมายอารบิก ปรับวางตามแนวตั้ง

 

 

คนไทยต้องรู้!! แบงก์ชาติแนะนำ จุดสังเกตบนธนบัตรแบบใหม่ในรัชกาลที่ 10 กับ 8 ตำแหน่งสำคัญ ที่มีลักษณะพิเศษ (ชมภาพ)

 

 

 

คนไทยต้องรู้!! แบงก์ชาติแนะนำ จุดสังเกตบนธนบัตรแบบใหม่ในรัชกาลที่ 10 กับ 8 ตำแหน่งสำคัญ ที่มีลักษณะพิเศษ (ชมภาพ)

ล่าสุดทางแบงก์ชาติได้ออกมาโพสต์ข้อความเผยแพร่โปสเตอร์เพื่อแนะนำวิธีสังเกตธนบัตรแบบ 17 ภาพประธานด้านหน้าเป็นพระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และด้านหลังจะเป็นพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี โดยจุดสังเกตในธนบัตรแบบใหม่นั้นมีอยู่ 8 แห่ง ประกอบไปด้วย

 


1. ลวดลายเส้นนูน ภาพตราประจำพระองค์ฯ คำว่า “รัฐบาลไทย” ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคาจะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ

 


2. ลายน้ำ พระสาทิสลักษณ์และตัวเลขแจ้งชนิดราคามีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกส่องกับแสงสว่าง

 


3. ภาพซ้อน ทับรูปพระครุฑพ่าห์ด้านหน้าและด้านหลังพิมพ์ในตำแหน่งที่ตรงกัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจะซ้อนทับกันสนิท

 


4. หมึกพิมพ์ชนิดพิเศษ ชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์จะเห็นเป็นประกายเมื่อพลิกธนบัตรไปมา5. แถบสี ฝังในเนื้อกระดาษมีบางส่วนของแถบปรากฏให้เห็นเป็นระยะ เมื่อเปลี่ยนมุมมองจะเปลี่ยนสี และชนิดราคา 100 บาทจะเห็นภาพเคลื่อนไหว ภายในแถบมีข้อความบอกชนิดราคา สามารถอ่านได้เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง

 


6. ตัวเลขแฝง ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนไว้ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง

 


7. สำหรับผู้บกพร่องทางสายตา รูปดอกไม้พิมพ์ด้วยลวดลายเส้นนูน แทนสัญลักษณ์แจ้งชนิดราคาในอักษรเบรลล์ จะรู้สึกนูนสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ

 


8. ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง (UV) ลายประดิษฐ์บริเวณตอนกลางธนบัตร ตัวเลขแจ้งชนิดราคาและหมวดเลขหมายจะเรืองแสง ปรากฏเส้นใยเรืองแสงสีเหลือง แดง และน้ำเงิน ในเนื้อกระดาษ

 

 

คนไทยต้องรู้!! แบงก์ชาติแนะนำ จุดสังเกตบนธนบัตรแบบใหม่ในรัชกาลที่ 10 กับ 8 ตำแหน่งสำคัญ ที่มีลักษณะพิเศษ (ชมภาพ)

 

 

 

คนไทยต้องรู้!! แบงก์ชาติแนะนำ จุดสังเกตบนธนบัตรแบบใหม่ในรัชกาลที่ 10 กับ 8 ตำแหน่งสำคัญ ที่มีลักษณะพิเศษ (ชมภาพ)

 

ขอบคุณ : ธนาคารแห่งประเทศไทย