ทำผิดมาทั้งชีวิต!! วิธีการ "รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่" เพื่อขอพร จริง ๆ แล้วทำกันอย่างไร ตามประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา หากทำผิดมีค่าเท่ากับแช่ง!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยทำ กับพิธีสำคัญของไทยที่สืบทอดต่อกันมา กับ "การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่" เพื่อขอพร ส่วนใหญ่นั้นจะนำน้ำหอมๆ มารดใส่ในมือของผู้ใหญ่ที่เราเคารพรัก แต่รู้หรือไม่ว่า พิธีที่สำคัญนี้นั้นมีความเป็นมาอย่างไร และวิธีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่ถูกต้องตามหลักนั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้จึงนำวิธีรดน้ำที่ถูกต้องมาให้ชมกัน

 

ทำผิดมาทั้งชีวิต!! วิธีการ "รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่" เพื่อขอพร จริง ๆ แล้วทำกันอย่างไร ตามประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา หากทำผิดมีค่าเท่ากับแช่ง!!

ประเพณีรดนํ้าดําหัว เป็นประเพณีของไทยอันสืบเนื่องมาจากประเพณีวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่แสดงถึงความเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพนับถือและผู้มีพระคุณ เพื่อแสดงความกตัญญูพร้อมกับการขอขมาและขอรับพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองเนื่องในวันสําคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่หรือวันสงกรานต์ของไทยในเดือนเมษายน “การดําหัว” ก็คือการรดนํ้านั่นเองแต่เป็นคําเมืองทางเหนือการดําหัวเรียกกันเฉพาะการรดนํ้าผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีตําแหน่งหน้าที่การงานสูง เช่น พ่อเมือง เป็นต้น เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไป หรือขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ สิ่งที่ต้องนําไปในการรดนํ้าดําหัวก็คือ นํ้าใส่ขันเงินใบใหญ่ ในนํ้าใส่ฝักส้มป่อยโปรยเกสรดอกไม้และเจือนํ้าหอม นํ้าปรุงเล็กน้อยพร้อมด้วยพานข้าวตอกดอกไม้เป็นเครื่องสักการะอีกพานหนึ่ง การรดนํ้าดําหัวมักจะไปกันเป็นหมู่ โดยจะถือเครื่องที่จะดําหัวไปด้วย เมื่อขบวนรดนํ้าดําหัวไปถึงบ้าน ท่านเจ้าของบ้านก็จะเชื้อเชิญให้เข้าไปในบ้าน พอถึงเวลารดนํ้าท่านผู้ใหญ่ก็จะสรรหาคําพูดที่ดีที่เป็นมงคลและอวยพรให้กับผู้ที่มารดนํ้าดําหัว ปัจจุบันนี้พิธีรดนํ้าดําหัวในจังหวัดต่างๆ ทางเหนือมักจะจัดเป็นพิธีใหญ่ ในบางแห่งมีขบวนแห่งและมีการฟ้อนรําประกอบ เช่น พิธีรดนํ้าดําหัวในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย เป็นต้น

 

ทำผิดมาทั้งชีวิต!! วิธีการ "รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่" เพื่อขอพร จริง ๆ แล้วทำกันอย่างไร ตามประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา หากทำผิดมีค่าเท่ากับแช่ง!!

 

การดำหัวของชาวล้านนาหมายถึงการสระผม ส่วนทางด้านพิธีกรรมหมายถึงการชำระสิ่งไม่ดีสิ่งที่เป็นอัปมงคลให้หมดไปด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระชาวล้านนา นิยมจัดพิธีกรรมการดำหัวขึ้นในเทศกาลสงกรานต์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที15เมษายนคือวันพญาวันไปจนสิ้นสุดเดือนเมษายน การดำหัวในเทศกาลสงกรานต์มี 3 กรณี คือการดำหัวตนเอง การดำหัวผู้น้อย และการดำหัวผู้ใหญ่ 

 

ซึ่งการดำหัวนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณมณี พยอมยงค์ ผู้เป็นปูชนียบุคคล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวล้านนาได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการดำหัวสมัยโบราณให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงขนบธรรมเนียมประเพณีล้านนาดังนี้ “สำหรับการดำหัวนั้น นิยมเอาน้ำใส่ขัน คือใส่สลุง เอาน้ำขมิ้นส้มป่อยใส่ เวลาดำหัวเขาจะเอาไปประเคน คือเอาไปมอบให้ท่านผู้เฒ่าผู้แก่ที่เราจะไปดำหัวนั้น เขาจะเอามือจุ่มลงในสะหลุงที่มีน้ำขมิ้นส้มป่อยอยู่ แล้วก็เอามาลูบหัวตัวเอง 3 ครั้ง จากนั้นก็เอามือจุ่มน้ำส้มป่อย สลัดเข้าใส่ลูกหลานที่มาดำหัวพร้อมกับอวยพรให้อยู่ดีมีสุข ให้อยู่ดีกินดี 

 

ทำผิดมาทั้งชีวิต!! วิธีการ "รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่" เพื่อขอพร จริง ๆ แล้วทำกันอย่างไร ตามประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา หากทำผิดมีค่าเท่ากับแช่ง!!

 

***ไม่นิยมเอาน้ำรดมืออย่างของภาคอื่น ซึ่งถือว่าการทำอย่างนั้นเป็นการรดศพมากกว่า***

 

ทำผิดมาทั้งชีวิต!! วิธีการ "รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่" เพื่อขอพร จริง ๆ แล้วทำกันอย่างไร ตามประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา หากทำผิดมีค่าเท่ากับแช่ง!!

.

.

.

.

ทั้งนี้ คือเรื่องราวดี ๆ ของการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ พิธีสำคัญของไทยที่สืบทอดต่อกันมา หากทำผิดเท่ากับแช่งคนที่เราเคารพรัก