ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เรียกได้ว่าเป็นคลิปที่คลายข้องสงสัยและเป็นประโยชน์ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว เมื่อคุณหมอเจ้าของเพจ "ด๊อกเตอร์ หมอหมี" ได้ออกมาโพสต์แชร์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประคบร้อน-เย็น ซึ่งแต่ละอันนั้นควรใช้เมื่อไหร่ โดยระบุว่า "ประคบร้อน-ประคบเย็น" ต่างกันอย่างไร ? ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี ไปดูกันเลย

 

#ปัญหาโลกแตก!! คุณหมอเผยวิธีการ "ประคบร้อน-เย็น" ใช้แบบไหนให้ถูกกับอาการ พร้อมอธิบายให้ฟังอย่างง่าย อย่าเลื่อนผ่านประโยชน์ล้วนๆ!!(ชมคลิป)

ร้อน หรือ เย็น ปัญหาโลกแตก
ประคบร้อน เพื่อให้เลือดมา
ประคบเย็น เพื่อให้เลือดหาย
อุบัติเหตุทันที นึกถึง เย็น
ปวดเรื้อรัง มีผังพืด นึกถึง ร้อน
ง่ายๆช่วยแชร์ด้วยน่ะครัช ออเจ้าทุกคน

 

#ปัญหาโลกแตก!! คุณหมอเผยวิธีการ "ประคบร้อน-เย็น" ใช้แบบไหนให้ถูกกับอาการ พร้อมอธิบายให้ฟังอย่างง่าย อย่าเลื่อนผ่านประโยชน์ล้วนๆ!!(ชมคลิป)

 

#ปัญหาโลกแตก!! คุณหมอเผยวิธีการ "ประคบร้อน-เย็น" ใช้แบบไหนให้ถูกกับอาการ พร้อมอธิบายให้ฟังอย่างง่าย อย่าเลื่อนผ่านประโยชน์ล้วนๆ!!(ชมคลิป)

 

#ปัญหาโลกแตก!! คุณหมอเผยวิธีการ "ประคบร้อน-เย็น" ใช้แบบไหนให้ถูกกับอาการ พร้อมอธิบายให้ฟังอย่างง่าย อย่าเลื่อนผ่านประโยชน์ล้วนๆ!!(ชมคลิป)

 

#ปัญหาโลกแตก!! คุณหมอเผยวิธีการ "ประคบร้อน-เย็น" ใช้แบบไหนให้ถูกกับอาการ พร้อมอธิบายให้ฟังอย่างง่าย อย่าเลื่อนผ่านประโยชน์ล้วนๆ!!(ชมคลิป)

 

วิธีประคบร้อนและประคบเย็น ที่ถูกต้อง

1. วิธีประคบร้อน
อุปกรณ์ที่ใช้อาจจะเป็นกระเป๋าน้ำร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน ในอุณหภูมิไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส และไม่ควรประคบด้วยความร้อนที่มากเกินไปหรือนานเกินไป และต้องไม่ประคบในบริเวณที่มีบาดแผลหรือมีเลือดไหล และหากมีอาการบวมแดง ก็ไม่ควรประคบร้อนเช่นกัน โดยควรวางอุปกรณ์การประคบร้อนในบริเวณที่เกิดอาการบาดเจ็บหรือปวดเมื่อย โดยไม่ควรเกิน 20 นาที เพราะถ้าหากนานเกินไป อาจจะทำให้ผิวหนังมีอาการแดงหรือพองได้

2. วิธีประคบเย็น
อุปกรณ์การประคบเย็น อาจจะใช้เจลสำหรับประคบเย็นแบบสำเร็จรูป หรือใช้ถุงผ้าห่อน้ำแข็งก็ได้ โดยใช้ถุงพลาสติกห่อน้ำแข็งและผสมน้ำเปล่าธรรมดาลงไปในถุงอย่างพอดี ให้รู้สึกว่าไม่เย็นมากจนเกินไปก่อนนำมาประคบตรงบริเวณที่มีอาการปวด บวม แดง หรือหากเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือบริเวณเท้า ก็อาจจะใช้วิธีแช่อวัยวะดังกล่าวลงไปในถังน้ำเย็นแทน โดยไม่ควรแช่นานเกิน 20 นาที เพราะอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีเอาได้

ดังนั้น ก่อนที่เราจะเลือกวิธีการประคบแบบไหน ตรวจเช็คดูอาการและดูสถานการณ์ต่าง ๆ ของเราด้วย จะได้ปฐมพยาบาลได้อย่างถูกวิธี และลดการปวดบวมต่างๆ ให้ดีขึ้นอย่างที่ตั้งใจ

.

.

.

.

ขอขอบที่มา : ด๊อกเตอร์ หมอหมี