ข้อห้าม! ก่อน-หลัง และ ผู้ที่ไม่สามารถบริจาคเลือด เช็คให้ชัวร์ก่อนบริจาค หลายคนอาจไม่เคยรู้ สำคัญอย่ามองข้าม สายธารต่อชีวิต

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

การมีเลือดที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมากต่อการแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะมันสร้างด้วยการสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเก็บสะสมจากผู้บริจาคที่เป็นอาสาสมัคร หลายคนอาจจะมีจิตกุศลคิดจะไปบริจาคโลหิต แต่ก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถบริจาคโลหิตได้หรือไม่ แล้วก่อนจะไปควรจะเตรียมตัวอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้างในการบริจาคเลือด กระปุกดอทคอม รวบรวมข้อมูลจากสภากาชาดไทยมาบอกแล้วค่ะ เพื่อที่การบริจาคโลหิตของคุณจะได้เกิดประโยชน์มากที่สุดทั้งต่อตัวผู้ให้และผู้รับ

 

ข้อห้าม! ก่อน-หลัง และ ผู้ที่ไม่สามารถบริจาคเลือด เช็คให้ชัวร์ก่อนบริจาค หลายคนอาจไม่เคยรู้ สำคัญอย่ามองข้าม สายธารต่อชีวิต

 

การบริจาคเลือด 1 ถุงสามารถนำไปช่วยเหลือคนได้มากถึง 3 คน เพราะเลือดที่บริจาคจะแยกเป็นส่วนๆ ได้ คือ เกล็ดเลือด พลาสม่า และเม็ดเลือดแดง เลือดจึงไม่ได้ถูกทำไปช่วยเหลือคนไข้ผ่าตัดอย่างเดียวเท่านั้น  แต่นำไปรักษาผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือดได้อีกด้วย  สำหรับบางคนอาจสงสัยว่าหากบริจาคเลือดไปแล้ว จะทำให้ร่างกายอ่อนแอลงหรือเปล่า ข้อเท็จจริงคือ การบริจาคเลือดไม่ได้ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ในทางตรงกันข้าม กลับช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม เพราะการบริจาคเลือดเป็นการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด รวมทั้งจะบริจาคต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงมากพอสมควร ดังนั้นการบริจาคเลือดจึงทำให้ร่างกายแข็งแรงไปโดยปริยาย คนเราสามารถบริจาคได้ปีละ 4 ครั้งและบริจาคได้ 212 ครั้งตลอดชีวิต ใครที่ร่างกายแข็งแรง อยากทำบุญให้กับผู้อื่น 

 

ข้อห้าม! ก่อน-หลัง และ ผู้ที่ไม่สามารถบริจาคเลือด เช็คให้ชัวร์ก่อนบริจาค หลายคนอาจไม่เคยรู้ สำคัญอย่ามองข้าม สายธารต่อชีวิต

 

เกณฑ์ข้อห้ามก่อนเข้าบริจาคเลือด 

1. ห้ามเด็กเกินไป ผู้บริจาคเลือดต้องมีอายุ 17 ปีขึ้นไป หากอายุยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ต้องได้รับการเซ็นยินยอมจากผู้ปกครอง

2. ห้ามแก่เกินไป ผู้บริจาคโลหิตครั้งแรกต้องมีอายุไม่เกิน 55 ปี ส่วนใครที่บริจาคอย่างสม่ำเสมอ สามารถบริจาคได้ถึง 70 ปี หากอายุ 60-65 ปี บริจาคได้ ทุก 4 เดือน หากอายุ 65-70 ปี บริจาคได้ทุก 6 เดือน แต่ในบางครั้งเลือดผู้สูงอายุมักจะไม่ผ่านเพราะมักป่วยเป็นโรคไขมันในเลือดและโรคความดันโลหิตสูง

3. ห้ามนอนน้อย ต้องนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอและไม่อ่อนเพลียในวันที่จะบริจาค ถึงจะนอนน้อยแล้วฝืนไปบริจาค เลือดคุณก็ไม่ผ่านอยู่ดี

4. ห้ามทานอาหารไขมันสูง ห้ามรับประทานอาหารมันๆ ทุกชนิดภายในเวลา 6 ชั่วโมงก่อนบริจาค เพราะพลาสม่าของเลือดที่ได้จะมีแต่ไขมันจนไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้

 

5. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

6. ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ โดยต้องงดแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาคเลือด

7. ห้ามสตรีตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ สตรีที่เพิ่งคลอดบุตร/แท้งบุตร หรือกำลังให้นมบุตร ต้องงดเว้นการบริจาคเลือดอย่างน้อย 6 เดือน เพราะร่างกายจะเสียเลือดมาก เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือตัวมารดา

8. ห้ามสตรีที่กำลังมีประจำเดือน หากมีร่างกายแข็งแรง ไม่ได้มีประจำเดือนมากก็สามารถบริจาคได้ แต่ในช่วงที่ผู้หญิงกำลังมีประจำเดือน เสียเลือดอยู่แล้ว ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย จึงต้องหลีกเลี่ยงการบริจาคเลือดจนกว่าจะหมดประเดือน

9. ห้ามผู้ป่วยอุจจาระร่วงที่เพิ่งรักษาหาย ใครที่เพิ่งท้องร่วง ท้องเสีย อ่อนเพลีย หน้ามืดเป็นลมง่ายจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มาก ไม่ควรบริจาคเลือด เพราะนอกจากเสี่ยงต่อผู้บริจาคแล้ว ผู้รับบริจาคอาจได้รับเชื้อโรคจากเลือดของผู้บริจาคด้วย

10. ห้ามผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด หากเป็นการผ่าตัดใหญ่ (ใช้ยาชาเข้าไขสันหลังหรือวางยาสลบ ต้องงดบริจาค 6 เดือน หากผ่าตัดเล็ก (ใช้ยาชาเฉพาะที่) ต้องงดบริจาค  1 เดือน ส่วนผู้ป่วยรายใดที่ได้รับเลือดจากการผ่าตัดต้องงดบริจาค 1 ปี

11. ห้ามผู้ที่รักษาฟันภายใน 3 วัน เช่น ถอนฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน เป็นต้น เพราะปากมีบาดแผล ซึ่งอาจจะติดเชื้อในกระแสเลือดชั่วคราวจากการรักษาซึ่งสามารถส่งต่อไปถึงผู้ป่วยได้ ดังนั้นใครที่เพิ่งรักษาฟันมา ต้องงดบริจาคเลือด 7 วัน

 

ข้อห้าม! ก่อน-หลัง และ ผู้ที่ไม่สามารถบริจาคเลือด เช็คให้ชัวร์ก่อนบริจาค หลายคนอาจไม่เคยรู้ สำคัญอย่ามองข้าม สายธารต่อชีวิต


ข้อควรปฏิบัติหลังจากบริจาคโลหิตแล้ว

1. ไม่ควรลุกจากเตียงทันทีหลังบริจาคเสร็จ เพราะอาจทำให้หน้ามืด วิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม ควรนอนพักอย่างน้อย 5-10 นาทีหลังบริจาคเลือดเสร็จ จึงจะลุกขึ้นจากเตียงได้

2. ห้ามใส่เสื้อผ้าที่แน่นจนเกินไป เพราะอาจจะดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้ยาก และทำให้อึดอัด ไม่สบายตัวหลังบริจาคเสร็จ

3. ห้ามซาวน่า ออกกำลังกายหรือทำงานหนัก ในช่วง 24 ชั่วโมงหลังบริจาคเลือด ไม่ควรทำกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้ร่างกายสุญเสียเหงื่อมาก รวมทั้งงดใช้งานแขนข้างที่บริจาคด้วย

4. ห้ามปีนป่ายที่สูงและทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลหนัก งดเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังบริจาค เพราะอาจเกิดอาการเป็นลม หน้ามืด ซึ่งหากเป็นในขณะอยู่ที่สูงหรือกำลังทำงานกับเครื่องจักร จะเกิดอันตรายได้

5. ห้ามละเลยการทานธาตุเหล็ก หลังบริจาค เจ้าหน้าที่จะให้ธาตุเหล็ก ควรรับประทานทุกวัน วันละ 1 เม็ดจนกว่าจะหมด เพื่อชดเชยธาตุเหล็กที่สูญเสียไป หากบริจาคเลือดบ่อยๆ แต่ไม่ยอมทานธาตุเหล็ก จะทำให้เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงในอนาคตได้

 

ข้อห้าม! ก่อน-หลัง และ ผู้ที่ไม่สามารถบริจาคเลือด เช็คให้ชัวร์ก่อนบริจาค หลายคนอาจไม่เคยรู้ สำคัญอย่ามองข้าม สายธารต่อชีวิต

 

ผู้ที่ไม่ควรไปบริจาคหรือไม่สามารถบริจาคโลหิตได้

1. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด มะเร็ง ลมชัก โรคเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก
2. ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือคู่ครอง(สามีหรือภรรยา)เป็นไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอสไอวีหรือซิฟิลิส
3. ผู้เสพยาเสพติดชนิดใช้เข็มฉีดยา
4. ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
5. น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ มีต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายโต หรือมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ

หากร่างกายคุณแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยใดๆ ไม่มีข้อห้ามตามเกณฑ์ของสภากาชาดไทย แนะนำไปจูงมือกันไปบริจาคเลือด เพราะตอนนี้ประเทศไทยขาดแคลนเลือดมาก การบริจาคเลือดเป็นการทำบุญที่ได้ช่วยเหลือชีวิตของผู้อื่นอย่างแท้จริง อย่าลืมแชร์บอกต่อกับคนอื่นๆ ให้ได้เตรียมตัวก่อนที่จะไปบริจาคเลือดด้วยนะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สภากาชาดไทย , ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดศิริราช , th.wikihow.com , sukkaphap-d.com