อย่าทำเด็ดขาด ผู้เชี่ยวชาญเผย 7 ข้อห้าม “เกียร์ออโต้” ถ้าไม่อยาก “รถพัง” คนใช้รถไม่ค่อยรู้

ข้อห้ามการใช้รถ “เกียร์ออโต้” ถ้าไม่อยาก “รถพัง” อย่าทำ เสี่ยงเสียเงิน อุบัติเหตุ คนมีรถควรรู้

ปัจจุบัน รถยนต์ในตลาดเมืองไทยส่วนใหญ่มักใช้ระบบเกียร์อัตโนมัติหรือที่เรียกติดปากกันว่าเกียร์ออโต้ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ขับขี่เพราะระบบจะเปลี่ยนเกียร์ให้อัตโนมัติ โดยมีตำแหน่งของเกียร์ในการขับเคลื่อนรถยนต์ดังนี้

- ตำแหน่ง P ใช้สำหรับจอดรถในตำแหน่งที่ไม่กีดขวางรถคันอื่นหรือจอดในบริเวณที่ลาดชัน
- ตำแหน่ง R ใช้ในการถอยหลัง เป็นตำแหน่งที่อันตรายมากที่สุด ให้เหยียบเบรกทุกครั้งที่เข้าเกียร์ เพื่อให้รถถอยหลังอย่างช้า ๆ
- ตำแหน่ง N เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง ใช้ในการหยุดรถชั่วคราวหรือจอดรถในตำแหน่งที่กีดขวางเส้นทางจราจร
- ตำแหน่ง D ใช้ในการขับขี่เพื่อเดินหน้ารถตามปกติ
- ตำแหน่ง 2 ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่ไม่สูงมากนัก และสามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร
- ตำแหน่ง L ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่สูงมาก และต้องใช้ความเร็วต่ำ

 

อย่าทำเด็ดขาด ผู้เชี่ยวชาญเผย 7 ข้อห้าม “เกียร์ออโต้” ถ้าไม่อยาก “รถพัง” คนใช้รถไม่ค่อยรู้

 

จุดเด่นของเกียร์ออโต้ หรือเกียร์อัตโนมัติ คือ ความสะดวกสบาย แต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่ความทนทานที่น้อยกว่าเกียร์ธรรมดา จากกลไกที่ละเอียดอ่อน เพื่อเป็นการดูแลรักษาระบบเกียร์อัตโนมัติให้ใช้งานได้นาน ๆ มาดูกันว่า พฤติกรรมการขับขี่แบบไหนที่เราควรหลีกเลี่ยงกัน

 

1. ปล่อยไหลใช้เกียร์ N

หลายคนชอบใช้วิธีนี้ เพราะคิดว่าจะช่วยประหยัดน้ำมัน แต่หารู้ไม่ว่านอกจากจะไม่ช่วยให้เราประหยัดน้ำมันแล้ว ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเกียร์ไปยังตำแหน่ง N ระบบจะตัดน้ำมันเกียร์มาหล่อเลี้ยง ทำให้กลไกเกิดความสึกหรอได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญการปล่อยไหลโดยการใช้เกียร์ N ยังทำให้ไม่สามารถใช้ Engine Break ได้ ส่งผลให้การควบคุมรถทำได้ยากและค่อนข้างอันตราย โดยเฉพาะในช่วงทางลาดที่รถมีความเร็วสูง

2. ติดไฟแดงเข้าเกียร์ P

เกียร์ P มาจากคำว่า Park ซึ่งจะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อเราต้องการจอดรถในที่จอดเป็นกิจจะลักษณะ (สังเกตได้จากรถบางรุ่นจะปลดล็อกประตูโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเกียร์ P) ส่วนการใช้เกียร์ P ขณะจอดติดไฟแดงนั้น อาจนำมาซึ่งความเสียหายรุนแรงต่อชุดเกียร์หากเกิดอุบัติเหตุมีรถมาชนท้าย

3. เร่งเครื่องแล้วใส่เกียร์ D

วัยรุ่นใจร้อนหลายคนอยากออกตัวแรง ๆ ด้วยการเร่งเครื่องแล้วค่อยใส่เกียร์ D การกระทำแบบนี้ อาจส่งผลต่อระบบกลไกของเกียร์ รวมไปถึงชุดส่งกำลังที่จะชำรุดเสียหายได้อย่างรวดเร็ว

 

อย่าทำเด็ดขาด ผู้เชี่ยวชาญเผย 7 ข้อห้าม “เกียร์ออโต้” ถ้าไม่อยาก “รถพัง” คนใช้รถไม่ค่อยรู้

 

4. คิกดาวน์บ่อย ๆ

การคิกดาวน์เพื่อเร่งแซง ระบบเกียร์จะทดเกียร์ให้ต่ำลงเพื่อเรียกแรงบิดจากเครื่องยนต์อย่างฉับพลันทันที ซึ่งแน่นอนว่าการคิกดาวน์บ่อย ๆ จะทำให้ชุดเกียร์เกิดความสึกหรอและอายุการใช้งานสั้นกว่าปกติ

5. จอดรถบนทางลาดชัน

ก่อนเข้าเกียร์ P ให้ดึงเบรกมือจนสุดแล้วค่อย ๆ เบรกให้แน่ใจว่ารถไม่ไหล แล้วจึงเข้าเกียร์ P จะช่วยยืดอายุกลไกภายในของชุดเกียร์ไม่ให้ชำรุดก่อนเวลาอันควรได้

6. ขับลากเกียร์

รถยนต์เกียร์อัตโนมัติจะควบคุมให้ปรับเปลี่ยนเกียร์ขึ้นลงตามความเหมาะสมและ ความเร็วของรถอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่บางท่านรู้มากและมักจะใช้วิธีเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ขึ้นลงเองในขณะที่รอบ เครื่องทำงานสูงสุดเพื่อเร่งเครื่องให้ไวตามใจชอบ การทำเช่นนี้จะมีผลทำให้ผ้าคลัทช์ และระบบทอกค์คอนเวอร์เตอร์เกิดการสึกหรอเสียหาย และทำให้มีอายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติสั้นลง

7. ไม่ตรวจเช็คน้ำมันเกียร์

น้ำมัน เกียร์อัตโนมัติ เป็นหัวใจสำคัญของการหล่อลื่นและยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถให้ยาวนาน จึงควรตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด และเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางที่แนะนำ

อีกสิ่งที่ควรรู้เมื่อจำเป็นต้องลากรถไปอู่เมื่อเกียร์ออโต้เสีย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมน้ำมันเกียร์เพิ่มเข้าไป เพื่อช่วยลดความร้อนของเกียร์ขณะที่ทำการลากจูง แต่ถ้าหาน้ำมัน เกียร์ไม่ได้ ควรยกให้ล้อรถให้ลอยพ้นพื้นถนน โดยอาจต้องใช้รถยก 6 ล้อ แบบสไลด์ออน ที่สามารถนำรถทั้งคันขึ้นไปไว้บนกระบะหลังได้ เพื่อความปลอดถัยของรถยนต์ราคาแพงของ

 

อย่าทำเด็ดขาด ผู้เชี่ยวชาญเผย 7 ข้อห้าม “เกียร์ออโต้” ถ้าไม่อยาก “รถพัง” คนใช้รถไม่ค่อยรู้

 

ข้อควรปฏิบัติในการใช้รถเกียร์ออโต้เพิ่มเติมจากที่กล่าวมา

1. ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ควรตรวจสอบให้เกียร์อยู่ในตำแหน่ง P และสตาร์ทเครื่องยนต์ในขณะที่เกียร์อยู่ในตำแหน่ง P เท่านั้น เพราะหากคันเกียร์คร่อมอยู่ในตำแหน่ง P – R แรงสั่นสะเทือนจากการสตาร์ทเครื่องยนต์ อาจทำให้เกียร์ดีดไปเข้าเกียร์ R ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

2. ในการขับรถลงทางลาดชัน ต้องใช้เกียร์ตำแหน่ง “D3” แต่กรณีที่ทางลงนั้นชันมาก ๆ ให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “2” เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก (Engine Brake) ในขณะเดียวกันคุณควรเหยียบเบรกไปด้วย หรืออาจใช้เบรกมือ เพื่อช่วยในการหยุดรถที่ดียิ่งขึ้น

3. ห้ามใช้เกียร์ “N” หรือ “D4” ในการขับรถลงทางชันมากๆ เพราะกำลัวงเครื่องยนต์ไม่พอ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

4. การจอดรถแล้วไม่ดับเครื่องยนต์ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น จอดรถเพื่อไปลงเปิดประตูบ้านหรือไปซื้อของริมถนน ไม่ควรใช้ตำแหน่ง N แต่ควรใช้ตำแหน่ง P และใส่เบรคมือทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้รถพุ่งไปข้างหน้า

5. หากต้องการเปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่งอื่น เช่น จากตำแหน่ง N ไป D หรือ R ต้องทำในขณะที่รถยนต์จอดสนิท และควรเหยียบเบรกป้องกันกันรถเคลื่อน

6. หากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที ก็ควรอยู่ที่ตำแหน่ง D โดยแตะเบรกแทน แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเปลี่ยนเป็น N และต้องการป้องกันรถไหลก็ใส่เบรคเบรกมือด้วย

7. เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุกๆ 6 เดือนหรือปีละ 2 ครั้ง จะช่วยยืดอายุการทำงานของระบบเกียร์ได้เพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัดและการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ทำให้รถยนต์ต้องวิ่งๆ หยุดๆ แรงดันน้ำมันสูง-ต่ำไม่คงที่ในระบบเกียร์สูงจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง

 

อย่าทำเด็ดขาด ผู้เชี่ยวชาญเผย 7 ข้อห้าม “เกียร์ออโต้” ถ้าไม่อยาก “รถพัง” คนใช้รถไม่ค่อยรู้


                เพื่อความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรัก รวมถึงผู้โดยสารอื่นๆ ที่อาจอาศัยการเดินทางด้วยรถยนต์ของคุณ ลองตรวจสอบจากเกร็ดน่ารู้ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ประหยัดเชื้อเพลิง ยืดอายุการใช้งานรถยนต์ระบบเกียร์อัตโนมัติทั้ง 7 ข้อนี้ว่าคุณควรปรับปรุงในส่วนใดบ้าง นับเป็นจุดเริ่มต้นง่ายๆ ในการสร้างสังคมขับขี่ปลอดภัย ที่คุณเองสามารถทำได้

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : auinews.com,postsod.com , directasia , item2day