กรมป่าไม้ แจงกรณีหลังชาวบ้าน ต.ชมพู ร้องต้องจ่ายเงินปลูกป่าทดแทน 2.7 แสนบาท

สืบเนื่องจากกรณีชาวบ้านชมพูเหนือ บ้านวังแดง บ้านคลองหินฝน บ้านอุดมสุข บ้านคลองน้ำกุ่ม บ้านผาขามและบ้านน้ำดั้น รวม 7 หมู่บ้าน หมู่ 3 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก รวมตัวเดินทางออกจากหมู่บ้านไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลชมพู เพื่อร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือ ภายหลังชาวบ้านต้องตั้งกองผ้าป่าเพื่อเรี่ยไรเงินตามท้องถนน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทน ให้แก่กรมป่าไม้ ในการขยายเขตระบบไฟฟ้าในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย จำนวน 274,000 บาท แต่ไม่สามารถหาได้ครบตามจำนวนดังกล่าวเนื่องจากชาวบ้านมีฐานะยากจนนั้น

สืบเนื่องจากกรณีชาวบ้านชมพูเหนือ บ้านวังแดง บ้านคลองหินฝน บ้านอุดมสุข บ้านคลองน้ำกุ่ม  บ้านผาขามและบ้านน้ำดั้น รวม 7 หมู่บ้าน หมู่ 3 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก รวมตัวเดินทางออกจากหมู่บ้านไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลชมพู เพื่อร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือ ภายหลังชาวบ้านต้องตั้งกองผ้าป่าเพื่อเรี่ยไรเงินตามท้องถนน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทน ให้แก่กรมป่าไม้ ในการขยายเขตระบบไฟฟ้าในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย จำนวน 274,000 บาท แต่ไม่สามารถหาได้ครบตามจำนวนดังกล่าวเนื่องจากชาวบ้านมีฐานะยากจนนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม น.ส.สุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ได้มอบหมายให้รองอธิบดีกรมป่าไม้ (นายจเรศักดิ์  นันตะวงษ์) ลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านในชุมชนบ้านชมพูเหนือ และชุมชนชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง ในประเด็นดังกล่าวข้างต้น   ซึ่งเกิดขึ้นจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนของชาวบ้านในชุมชน   โดยทางกรมป่าไม้ขอชี้แจงว่าพื้นที่ดังกล่าวการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ทำหนังสือถึงกรมป่าไม้เพื่อขอใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย เพื่อขยายเขตระบบไฟฟ้า โดยวิธีปักเสาพาดสายให้กับบ้านชมพูเหนือ จังหวัดพิษณุโลก  

 

กรมป่าไม้ แจงกรณีหลังชาวบ้าน ต.ชมพู ร้องต้องจ่ายเงินปลูกป่าทดแทน 2.7 แสนบาท

โดยทางกรมป่าไม้ได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ดังกล่าว โดยออกประกาศกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2560 ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เข้าใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย ขยายเขตระบบไฟฟ้าโดยวิธีดังกล่าวข้างต้น เนื้อที่ 25 ไร่ มีกำหนดระยะเวลา 30 ปี และได้ทำหนังสือให้ทางจังหวัดพิษณุโลก แจ้งให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่ทำบันทึกรับรองเป็นหลักฐานที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่แนบท้ายประกาศกรมป่าไม้ ดังกล่าวให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐ ผู้ได้รับอนุมัติให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ และให้ปิดประกาศกรมป่าไม้ดังกล่าว ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนันและที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ในท้องที่ที่ป่านั้นตั้งอยู่ พร้อมทั้งให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นผู้จัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์ หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ซึ่งเงื่อนไขแนบท้ายประกาศกรมป่าไม้ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน
 

นอกจากนี้ น.ส.สุทธิลักษณ์ ยังกล่าวว่า กรมป่าไม้ ไม่มีเจตนาทำให้ชาวบ้านตำบลชมพูได้รับความเดือดร้อน ซึ่งมาจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยกรมป่าไม้มีวิสัยทัศน์บริหารจัดการป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมซึ่งมีภารกิจหลักในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู ดูแลรักษา ส่งเสริมทำนุบำรุงป่าและดำเนินการเกี่ยวกับการป่าไม้และส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือจากประชาชนเป็นหลัก กรมป่าไม้จึงขอชี้แจงกรณีดังกล่าว รวมถึงแจ้งประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ