ทช.ประกาศใช้กฎเหล็ก ม.17 ห้ามกิจกรรมทำลายทะเล-ชายฝั่ง 3 เกาะดังสุราษฎร์ฯ

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2561 พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการปฏิรูปและแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อรับฟังแนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียพื้นที่เกาะเต่า เกาะสมุยและเกาะพงัน โดยมี นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพน้อยที่ 4 (มทน.) นายโสภณ ทองดี รองอธิบดีทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ที่ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2561 พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการปฏิรูปและแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อรับฟังแนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียพื้นที่เกาะเต่า เกาะสมุยและเกาะพงัน โดยมี นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพน้อยที่ 4 (มทน.) นายโสภณ ทองดี รองอธิบดีทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ที่ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

ทช.ประกาศใช้กฎเหล็ก ม.17 ห้ามกิจกรรมทำลายทะเล-ชายฝั่ง 3 เกาะดังสุราษฎร์ฯ

พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาขยะมูลฝอยและน้ำเสียทั้งทางบกและทะเลที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทุกปี จึงกำหนดให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณเกาะเต่า เกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงันและเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับความเสียหายร้ายแรงจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ทางทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง หากไม่มีมาตรการคุ้มครอง ปล่อยให้ถูกทำลายต่อเนื่องจะยิ่งทำให้สิ่งแวดล้อมได้รับความเสียหาย จนไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพเดิมให้อุดมสมบูรณ์ได้อีก ท้ายสุดส่งผลต่อด้านสังคมและเศรษฐกิจภายในพื้นที่ กระทบต่อภาพรวมของประเทศ

 

ทช.ประกาศใช้กฎเหล็ก ม.17 ห้ามกิจกรรมทำลายทะเล-ชายฝั่ง 3 เกาะดังสุราษฎร์ฯ

 

ทช.ประกาศใช้กฎเหล็ก ม.17 ห้ามกิจกรรมทำลายทะเล-ชายฝั่ง 3 เกาะดังสุราษฎร์ฯ

 

นายจตุพร กล่าวว่า  ปัจจุบันมีกิจกรรมการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณพื้นที่เกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย เป็นจำนวนมาก ทั้งการทิ้งสมอเรือ หรือทอดสมอเรือบริเวณแนวปะการัง รวมถึงการปล่อยและทิ้งน้ำเสีย ก่อสร้าง ขุดและถมดิน ปล่อยตะกอนดินลงสู่ทะเลและชายฝั่ง มีการบุกรุก ยึดถือ ครอบครองพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสถานภาพความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ทช.หน่วยงานภายใต้กำกับการดูแลของ ทส. จึงได้อาศัยอำนาจ หน้าที่ ตามความในมาตรา 17 ประกอบมาตรา 3 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 ประกอบมาตรา 32 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ออก

 

ทช.ประกาศใช้กฎเหล็ก ม.17 ห้ามกิจกรรมทำลายทะเล-ชายฝั่ง 3 เกาะดังสุราษฎร์ฯ

 

มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ เกาะเต่า เกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน และเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2561 เพื่อระงับการกระทำ หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อันเป็นการอนุรักษ์ หรือแก้ไข หรือบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น ต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

นายจตุพร กล่าวว่า สำหรับกฎหมายที่ใช้ในการกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของทั้ง 3 เกาะ ได้มีสาระสำคัญไว้ 7 ข้อ ดังนี้  ข้อ 1 ห้ามจอดเรือโดยทิ้งสมอ หรือทอดสมอแนวปะการังในพื้นที่เกาะเต่า เกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน และเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการัง โดยให้จอดเรือโดยการผูกทุ่นจอดเรือในบริเวณที่มีทุ่นจอดเรือ ข้อ 2 ห้ามให้อาหารสัตว์น้ำ ที่มีจุดมุ่งหมายที่ล่อ จับ ได้มา ค้นหา หรือเก็บสัตว์น้ำ ข้อ 3 ห้ามเท ทิ้ง ระบายน้ำ ของเสีย น้ำเสีย ขยะมูลฝอย ลงสู่ทะเล  ข้อ 4 ห้ามดำเนินกิจกรรมเดินท่องเที่ยวใต้ทะเล (sea walker) หรือกิจกรรมใดๆ ที่มีผลกระทบต่อแนวปะการัง ข้อ 5 การดำเนินการตามคำสั่งนี้มีให้ใช้บังคับกับการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง ฟื้นฟู อนุรักษ์ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือเป็นการศึกษาวิจัยทางวิชาการ ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือการดำเนินการใดๆ ที่เป็นการดำเนินการอันเกี่ยวกับโครงการของรัฐ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือ การดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ข้อ 6 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพ.ศ. 2558 ดำเนินการภายใต้คำสั่งนี้ ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายภายในท้องที่รับผิดชอบ และข้อ 7 คำสั่งนี้ให้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยให้มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลาสองปี

         

ทช.ประกาศใช้กฎเหล็ก ม.17 ห้ามกิจกรรมทำลายทะเล-ชายฝั่ง 3 เกาะดังสุราษฎร์ฯ

 

“การออกมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย เป็นความร่วมมือกันระหว่าง ทช. กับจังหวัดสุราษฎร์ธานี กองทัพภาคที่ 4 หน่วยงานทุกภาคส่วน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันผลักดันจนสำเร็จ พร้อมประกาศใช้กกหมายอย่างจริงจังด้านการอนุรักษ์ และฟื้นฟู ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง หลังจากมาตรการประกาศใช้แล้ว หวังว่าทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบริเวณทั้ง 3 เกาะ จะกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ขณะเดียวกัน เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนช่วยกันรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว หากผู้ใดที่กระทำการฝ่าฝีนก็จะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นายจตุพร กล่าว

 

นายโสภณ กล่าวเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ทช.ได้มอบหมายให้สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 จังหวัดสุราษฎร์ธานีดำเนินการตรวจตราร่วมกับกองทัพภาคที่4 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำการตรวจการปล่อยน้ำเสียลงทะเลอย่างเข้มงวด ซึ่งผู้ประกอบการโรงแรมและร้านอาหาร ของทั้ง 3 เกาะจะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียของตนเองอย่างเร่งด่วนภายใน 90 วัน เมื่อพ้นกำหนดในช่วงนี้แล้ว ทช.จะเข้าดำเนินการตามกฎหมาย.