อังกาบหนู กินเพื่อกันมะเร็งได้ แต่ต้องนำไปสกัด ไม่กินสดๆ เพราะเสี่ยงไตพัง-เกล็ดเลือดต่ำ

เฟซบุ๊ก "นัฏนุช ประเสริฐทอง" โพสต์เล่าว่า กินอังกาบหนูยังไงให้ไตไม่พัง และเกล็ดเลือดไม่ต่ำ แต่ต้องกิน 10 วันหยุด 3 วัน ทดสอบกับผู้ป่วยแล้วดีจริง มีสารต้านมะเร็งสูงมาก ,ต้านแก่ ,ขับพิษ,แก้จุกเสียดวิงเวียนศรีษะ กินสดได้จะดีมาก

 

Credit นัฏนุช ประเสริฐทอง

 

อังกาบหนู มีชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria prionitis L. จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)

สมุนไพรอังกาบหนู มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เขี้ยวแก้ง เขี้ยวเนื้อ อังกาบ มันไก่ เป็นต้น

ลักษณะของอังกาบหนู
ต้นอังกาบหนู หรือ ต้นอังกาบเหลือง เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีลำต้นเกลี้ยง มีหนามยาวอยู่รอบข้อ หนามมีความประมาณ 1-2 เซนติเมตร มักพบขึ้นหนาแน่นเป็นวัชพืชอยู่ตามเขาหินปูนในที่แห้งแล้งทางภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย รวมไปถึงภูมิภาคอินโดจีน

อังกาบหนู กินเพื่อกันมะเร็งได้ แต่ต้องนำไปสกัด ไม่กินสดๆ เพราะเสี่ยงไตพัง-เกล็ดเลือดต่ำ (คลิป)

 

สรรพคุณของอังกาบหนู

1.ดอกอังกาบนำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีมาก (ราก, ดอก)
2.รากหรือใบใช้เป็นยาลดไข้ (ราก, ใบ) ช่วยแก้หวัดด้วยการนำใบมาคั้นกิน (ใบ)
3.ช่วยขับเสมหะด้วยการใช้รากของดอกอังกาบสีเหลืองที่ตากแห้งแล้วนำมาต้มเป็นยาดื่ม (ราก)
4.ใบอังกาบหนูใช้เคี้ยวแก้อาการปวดฟันได้ (ใบ)
5.ใบใช้ผสมกับน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
6.น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหู แก้หูอักเสบได้ (ใบ)
7.ช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูก (ใบ)
8.ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (ราก)
9.ใช้แก้พิษงู (ใบ)
10.ช่วยรักษาโรคคัน (ใบ)
11.รากหรือใบใช้ผสมกับน้ำมะนาวช่วยรักษากลากเกลื้อน (ใบ, ราก)
12.รากใช้เป็นยาแก้ฝี (ราก)
13.ทั้ง 5 ส่วนของต้นอังกาบหนูใช้เป็นยาแก้ไข้ข้ออักเสบ (ทั้ง 5 ส่วน)
14.ช่วยแก้อัมพาต รักษาโรคปวดตามข้อ โรครูมาติซั่ม หรือใช้ทาแก้อาการปวดหลัง แก้ปวดบวม (ใบ)
15.มีคนเคยใช้อังกาบเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง เนื้องอกในสมอง และเบาหวาน แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ยืนยันว่ามันสามารถช่วยหรือมีส่วนรักษาได้จริง (ราก)
16.สารสกัดจากรากอังกาบหนูมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยมีการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วัน พบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง โดยสารสกัดจากอังกาบหนูนั้นส่งผลต่อการสร้างสเปิร์ม ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป (ราก)

 

อังกาบหนู กินเพื่อกันมะเร็งได้ แต่ต้องนำไปสกัด ไม่กินสดๆ เพราะเสี่ยงไตพัง-เกล็ดเลือดต่ำ (คลิป)

ประโยชน์ของอังกาบหนู
1.น้ำคั้นจากใบสามารถใช้ทาแก้ส้นเท้าแตกได้ (ใบ)
2.ประโยชน์ของอังกาบดอกเหลือง โดยทั่วไปแล้วจะนิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับสวน เนื่องจากมีดอกที่สวยงาม แต่ในปัจจุบันอังกาบดอกเหลืองนั้นหายากมาก เท่าที่เคยเห็นมาก็มีแต่สวนนงนุชพัทยา แต่ก็นานแล้วนะครับ หรือถ้ามีที่ไหนช่วยแนะนำด้วยนะครับ

แหล่งอ้างอิง : สารานุกรมพืช สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, ไทยรัฐออนไลน์ (นายเกษตร), หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, www.sirisombon.com (ครูบาไตรภพ), www.biogang.net (ใช้ข้อมูลจาก sisaket.go.th)