ติดตามรายละเอียด www.tnews.co.th

ตามที่ได้มีการประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2483 ซึ่งในภาษาอังกฤษให้ใช้ชื่อเรียกประเทศไทยว่า "Thailand" ชื่อประชาชนและสัญชาติว่า "Thai" นั้น

บัดนี้ รัฐบาลได้พิจารณาว่า โดยที่ชื่อของประเทศเราเป็นที่นิยมเรียกกันทางต่างประเทศว่า "Siam" จนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีทั่วไปมาช้านานแล้ว ฉะนั้นจึงให้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษว่า "Siam" กับชื่อประชาชนและสัญชาติให้ใช้ว่า "Siamese" สำหรับในภาษาต่างประเทศอื่นให้ใช้โดยอนุโลม ส่วนชื่อในภาษาไทยให้คงใช้ว่า "ไทย" ไปตามเดิม

ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2488

ทวี บุณยเกตุ (นายกรัฐมนตรี)

 

7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับไปใช้ชื่อ Siam

 

7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับไปใช้ชื่อ Siam

 

7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับไปใช้ชื่อ Siam

ประกาศข้างต้นผ่านมาแล้ว 73 ปี เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของไทย ที่ได้ชื่อว่าดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์การเมือง เพียง 18 วัน

คำประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังญี่ปุ่นยอมจำนนต่อสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เพียงไม่ถึง 1 เดือน

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยมองว่า ประกาศดังกล่าวเป็น "สารที่ผู้นำไทยอีกฝ่ายหนึ่ง คือฝ่ายเสรีนิยมของ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม (เจ้านาย) ต้องการสื่อกับฝรั่งตะวันตกผู้พิชิตสงครามเสียมากกว่า"

การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2482 ในสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก โดยยึดหลักที่ว่า ประเทศส่วนใหญ่มักตั้งชื่อประเทศตามเชื้อชาติของตน

การประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศครั้งนั้นใช่ว่าจะเป็นไปด้วยความเห็นพ้องต้องกันตามท่านผู้นำทั้งหมด เพราะยังมีเสียงคัดค้านจากบางฝ่ายว่าจะเป็นการทำให้คนเชื้อชาติอื่น เช่น จีน มลายู ไม่รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศ "ไทย" แต่ทว่าในที่สุดประกาศรัฐนิยมก็มีผลบังคับใช้

อย่างที่เรารับทราบกันในประวัติศาสตร์ว่า ความเปลี่ยนแปลงจากสยามมาเป็นไทย ในวันนี้ รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีส่วนสำคัญในการออกมาตรการต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีประมาณ 3 เดือนเศษ รัฐบาลนี้ยังคงเรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสว่า "Siam" ต่อไปอีก

ต่อมาในเดือนเมษายน 2491 เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งแทนรัฐบาลนายควง ก็ได้กลับไปเปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษว่า "Thailand" และในภาษาฝรั่งเศส "Thailande" ซึ่งรัฐบาลต่อๆ มาก็ได้ใช้ตามจนปัจจุบันนี้

 

7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับไปใช้ชื่อ Siam

 

7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับไปใช้ชื่อ Siam

 

7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับไปใช้ชื่อ Siam

อ้างอิง: 
- ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ จากหนังสือ รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี
- "จาก สยาม เป็น ไทย นามนั้นสำคัญไฉน?" โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ
- https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_2279
- https://www.sarakadee.com/2013/10/11/siam-to-thai/

 

7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับไปใช้ชื่อ Siam

 

7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับไปใช้ชื่อ Siam

 

7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับไปใช้ชื่อ Siam

 

7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับไปใช้ชื่อ Siam