ทส. ลุยเร่งแก้ไขปัญหาขยะทะเล เข้มชายหาด 24 แห่ง ใน 15 จังหวัด ปลอดถุงพลาสติก

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดกิจกรรม เก็บขยะชายหาดสากล เนื่องในวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล และร่วมกับ เมืองพัทยา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐเอกชน เครือข่ายอาสาสมัคร พิทักษ์ทะเลพันกว่าชีวิตร่วมทำกิจกรรม ณ ชายหาดพัทยาเหนือ จ.ชลบุรี เพื่อตอกย้ำความตั้งใจจริงในการลดปริมาณขยะตามนโยบายรัฐบาล โดยมุ่งหวังให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเราสวยงามอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมทรัพยากร    ทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดกิจกรรม เก็บขยะชายหาดสากล เนื่องในวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล และร่วมกับ      เมืองพัทยา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐเอกชน เครือข่ายอาสาสมัคร พิทักษ์ทะเลพันกว่าชีวิตร่วมทำกิจกรรม ณ ชายหาดพัทยาเหนือ จ.ชลบุรี เพื่อตอกย้ำความตั้งใจจริงในการลดปริมาณขยะตามนโยบายรัฐบาล โดยมุ่งหวังให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเราสวยงามอย่างยั่งยืน

ทส. ลุยเร่งแก้ไขปัญหาขยะทะเล เข้มชายหาด 24 แห่ง ใน 15 จังหวัด ปลอดถุงพลาสติก

 

โดย พล.อ.สุรศักดิ์  กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า   การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็น ประเทศไทยกำลังเร่งกระบวนการต่าง ๆ ตามแนวทาง 3R ทั้งการใช้เทคโนโลยียุคใหม่ เช่น เลิกการใช้พลาสติกหุ้มขวดน้ำดื่ม การนำขยะไปเป็นวัตถุดิบผลิตไฟฟ้า การใช้ไบโอพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือก การรณรงค์เลิกใช้ถุงพลาสติก หลอดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวเป็นต้น นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังเริ่มใช้กระบวนการทางเศรษฐศาสตร์และกลไกทางการคลัง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ผลิตให้ผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลและเกาะได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การกำหนดให้เขตอุทยานทางทะเลทุกแห่งปลอดจากถุงพลาสติก การกำหนดพื้นที่ชายหาด 24 แห่ง ใน 15 จังหวัด ให้ปลอดจากก้นกรองบุหรี่ รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องผลกระทบของขยะทะเล

 

ทส. ลุยเร่งแก้ไขปัญหาขยะทะเล เข้มชายหาด 24 แห่ง ใน 15 จังหวัด ปลอดถุงพลาสติก

 

ทส. ลุยเร่งแก้ไขปัญหาขยะทะเล เข้มชายหาด 24 แห่ง ใน 15 จังหวัด ปลอดถุงพลาสติก

 

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีความมุ่งหวังที่จะให้เกิดกระแสการรักษ์โลกโดยการลด ละ เลิกผลิตขยะที่ไม่จำเป็น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยใช้เหตุการณ์วาฬนำร่องครีบสั้นเกยตื้นตาย ที่ จ.สงขลา ซึ่งมีสาเหตุเนื่องจากกินขยะพลาสติกจำนวนมากเข้าไป เป็นบทเรียนให้เห็นถึงโทษทัณฑ์ของขยะ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความสำคัญ

 

จึงกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วน โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะทะเลโดยดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้อง แบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะสั้นกรมทช. ได้จัดการประชุมระดับอาเซียน เรื่องการลดปริมาณขยะทะเลในกลุ่มประเทศอาเซียน หรือ ASEAN Conference on Reducing Marine Debris in ASEAN Region ไปเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ จังหวัดภูเก็ต การประชุมในครั้งนั้นมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมมากกว่า 300 คน จากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งผลการประชุมที่ได้นำไปสู่การสร้างความร่วมมือตลอดจนแนวทางการดำเนินการร่วมกันในการจัดการปัญหาขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียนและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561 พร้อมทั้งได้ดำเนินการจัดเก็บขยะทะเลที่ตกค้างในระบบนิเวศชายฝั่งแบบมีส่วนร่วม ผ่านเครือข่ายภาคประชาชน และภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นและสร้างจิตสานึกการลดผลกระทบจากขยะทะเลต่อระบบนิเวศ

 

ทส. ลุยเร่งแก้ไขปัญหาขยะทะเล เข้มชายหาด 24 แห่ง ใน 15 จังหวัด ปลอดถุงพลาสติก

ทางทะเลและสัตว์ทะเลหายาก โดยมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปีในพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลของประเทศ ล่าสุดได้ดำเนินงานตามโครงการบูรณาการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนระหว่างเดือนตุลาคม 60 ถึง กันยายน 61 รวมทั้งสิ้น 74 พื้นที่ ได้ขยะจำนวนรวม 569,657 ชิ้น น้ำหนักรวม 32,834.68 กก. และเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 กรม ทช.จัดกิจกรรมวันทะเลโลก ณ โรงภาพยนตร์ สยามภาวลัย รอยัลแกรนด์เธียเตอร์ สยามพารากอน กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญคือการให้ผู้แทนองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน และภาคราชการร่วมแสดงเจตนารมณ์และมีส่วนร่วมในการลดการนำเข้า การผลิต และการใช้พลาสติก ตามแนวทางประชารัฐลดการใช้ถุงพลาสติกเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขยะทะเลอย่างเป็นรูปธรรม

 

ทส. ลุยเร่งแก้ไขปัญหาขยะทะเล เข้มชายหาด 24 แห่ง ใน 15 จังหวัด ปลอดถุงพลาสติก

 

สำหรับการดำเนินงานระยะกลาง ประกอบด้วยการประกาศใช้มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับการดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีหน้าที่หลักในการดูแล อนุรักษ์ และฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินการประกาศมาตราดังกล่าวไปแล้วในบริเวณพื้นที่เกาะไข่นอก เกาะไข่ใน เกาะไข่นุ้ย จ.พังงา และจ.ภูเก็ต รวมถึงโครงการชายหาดปลอดบุหรี่ ทั้ง 24 ชายหาด 15 จังหวัด ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 และคำสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เรื่องมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยประกาศให้บริเวณพื้นที่เกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2561

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 กรมทช. ร่วมกับเทศบาลตำบลเกาะสีชัง จัดประชุมประชาคม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ อำเภอเกาะสีชังและอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ก่อนจะประกาศใช้มาตรา 17 แห่งพรบ. ทช. พร้อมกันนี้ยังมีโครงการบริหารจัดการขยะทะเลโดยทุ่นกักขยะหรือ Boom เพื่อเป็นการช่วยลดการพัดพาของมวลขยะบริเวณปากแม่น้ำก่อนออกสู่ทะเล ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วในพื้นที่นำร่องบริเวณปากแม่น้ำสายหลักในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน และหากการดำเนินการดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์ จะมีการขยายผลในแม่น้ำสายอื่นต่อไป

 

ทส. ลุยเร่งแก้ไขปัญหาขยะทะเล เข้มชายหาด 24 แห่ง ใน 15 จังหวัด ปลอดถุงพลาสติก


สุดท้ายคือระยะยาวได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกความตกลงความร่วมมือ โครงการภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อจัดการปัญหาขยะและการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืนไปเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นร่วมกันให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการพัฒนาความรู้และปรับพฤติกรรมการใช้พลาสติกอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน ร่วมกันจัดการปัญหาขยะและทรัพยากรพลาสติกที่ใช้แล้วตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน จัดการฐานข้อมูลพลาสติกในประเทศเพื่อการจัดการและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนระบบการจัดการขยะและคัดแยกขยะที่ดี ร่วมกันจัดทำแผนธุรกิจเพื่อการจัดการขยะและพลาสติกเหลือใช้อย่างครบวงจร ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิต โดยกำหนดเป้าหมายร่วมกันในการลดขยะพลาสติกในทะเลให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2570

 

ทส. ลุยเร่งแก้ไขปัญหาขยะทะเล เข้มชายหาด 24 แห่ง ใน 15 จังหวัด ปลอดถุงพลาสติก

 

ทั้งนี้การดำเนินการทุกด้านจะไม่สำเร็จได้หากปราศจากความร่วมมือ จากทุกภาคส่วนจึงขอให้ทุกท่านเริ่มต้นทำที่ตัวเอง และมีหัวใจที่เราจะร่วมกันการอนุรักษ์ดูแลท้องทะเลไทย และร่วมกระตุ้นจิตสำนึกให้ทุกคน แม้จะไม่ได้อาศัยอยู่ติดทะเล หันมาใส่ใจและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และร่วมกันปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นต่อๆ ไปได้รู้จักคุณค่าและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ก็จะทำให้ทะเลของบ้านเรามีความสวยงาม และมีสิ่งแวดล้อมที่ดีตลอดไป