สดร.เปิดหอดูดาว ชวนดู 2ปรากฎการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ และ ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน 14-15 ธ.ค.

สดร.เปิดหอดูดาว ชวนดู 2ปรากฎการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ และ ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน 14-15 ธ.ค.

2นักดาราศาสตร์ระบุคืนพรุ่งนี้(14 -15 ธ.ค.)  ชม “ฝนดาวตกเจมินิดส์”ปะทะดาวตกสูงสุดหลังเที่ยงคืนวันที่ 14 ถึงรุ่งเช้าวันที่ 15 ธันวาคม 2561 สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วทุกภูมิภาค ในที่มืดสนิท คนภาคตะวันออก-กรุงเทพฯดูได้ที่หอดูดาวหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา  ฟรี!

สดร.เปิดหอดูดาว ชวนดู 2ปรากฎการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ และ ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน 14-15 ธ.ค.

 

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติถึงปรากฏการณ์ดาราศาสตร์  กล่าวว่า  “ในค่ำคืนวันที่ 14 ต่อเนื่องถึงรุ่งเช้าวันที่ 15 ธ.ค.61 นี้ จะมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่   ซึ่ง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 4-17 ธันวาคมของทุก ๆ ปี

ในปี 2561 นี้คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดประมาณ 120 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ กลุ่มดาวคนคู่จะขึ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ 20.05 น. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่มีแสงจันทร์รบกวนในช่วงหัวค่ำ ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 23.30 น. ดังนั้น จะสามารถสังเกตฝนดาวตกได้ชัดเจน   และเริมปะทะดาวตกสูงสุด   ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 14 ไปจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 15 ธันวาคม 2561

 

สดร.เปิดหอดูดาว ชวนดู 2ปรากฎการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ และ ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน 14-15 ธ.ค.

 

“ ผู้สนใจชมปรากฎการณ์ฝนดาวตกควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ฝนดาวตกเจมินิดส์มีจุดเด่นคือมีความเร็วของดาวตกไม่มากนัก ประกอบกับมีอัตราตกค่อนข้างมากจึงสังเกตได้ง่าย สามารถมองเห็นได้รอบทิศ ถือเป็นโอกาสดีในการสังเกตการณ์ฝนดาวตก

 และในปีนี้ สดร. จัดกิจกรรมดาราศาสตร์ ต่อเนื่องด้วยการ ชมฝนดาวตกเจมินิดส์ตลอดทั้งคืน ตั้งแต่ค่ำวันที่ 14 ธันวาคม ถึงรุ่งเช้าวันที่ 15 ธันวาคม 2561 ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา จึงขอเชิญชวนผู้สนใจและประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม

 

สดร.เปิดหอดูดาว ชวนดู 2ปรากฎการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ และ ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน 14-15 ธ.ค.

 

ฝนดาวตกเจมินิดส์ เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวเคราะห์น้อยจะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม (fireball) ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือเป็นดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดเรเดียนท์ (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรือใกล้เคียงกับกลุ่มดาวอะไร ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ หรือ ดาวที่อยู่ใกล้กลุ่มดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต เป็นต้น”ดร.ศรัณย์  กล่าว

และกล่าวเพิ่มเติม  “นอกจากนี้ยังจะได้ชมของแถม  คือดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน (46/P Wirtanen) ที่จะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 16 ธันวาคม 2561 นี้   โดยในช่วงหัวค่ำวันที่ 14 ธ.ค.นั้นจะสามารถชมได้   ที่ระยะห่างจากโลกประมาณ 11.5 ล้านกิโลเมตร

 

สดร.เปิดหอดูดาว ชวนดู 2ปรากฎการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ และ ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน 14-15 ธ.ค.

 

นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ค่าความสว่างที่ตาคนเราสามารถสังเกตเห็นได้อยู่ที่แมกนิจูด 6 ยิ่งค่าน้อยยิ่งมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้าควรมืดสนิทปราศจากแสงและเมฆรบกวน สำหรับประเทศไทยสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ เวลาประมาณหนึ่งทุ่มถึงตีสี่ บริเวณกลุ่มดาววัว จึงขอเชิญชวนผู้สนใจติดตามปรากฏการณ์ดังกล่าว”

สำหรับการสังเกตการณ์ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน   สามารถสังเกตได้ด้วยกล้องสองตาที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 7-10 เท่าขึ้นไปหรือกล้องโทรทรรศน์ และหากต้องการถ่ายภาพ ควรเลือกช่วงเวลาที่ดาวหางอยู่ในตำแหน่งสูงจากขอบฟ้ามากที่สุด เพื่อหลีกหนีมวลอากาศที่บริเวณขอบฟ้า สิ่งสำคัญคือต้องถ่ายภาพในบริเวณที่มืดสนิท ไม่มีแสงไฟ แสงดวงจันทร์หรือเมฆหมอกรบกวน

 

สดร.เปิดหอดูดาว ชวนดู 2ปรากฎการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ และ ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน 14-15 ธ.ค.

 

ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน (46P/Wirtanen) เป็นดาวหางคาบสั้นขนาดเล็ก มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณแถบไคเปอร์ ถัดจากวงโคจรของดาวเนปจูน ค้นพบโดย คาร์ล เอ. เวอร์ทาเนน นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 กิโลเมตร จะโคจรมาใกล้โลกประมาณทุก 5 ปี แต่สำหรับปีนี้ นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าจะมีความสว่างมากที่สุด และมีโอกาสสังเกตเห็นด้วยตาเปล่า จึงเป็นดาวหางที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง”   ดร.ศรัณย์  กล่าว

ขณะที่นายวรวิทย์  ตันวุฒิบัณฑิตย์  ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดาราศาสตร์ไทยกล่าวว่า  “ การเกิดฝนดาวตกเจมินิดส์มาจากดาวคนคู่และดาวเคราะห์น้อยเฟทรอนพีคสูงสุดวันที่ 14 ธ.ค.หลังเที่ยงคืนไปแล้วต่อเนื่องถึงวันที่ 15 ธ.ค.จำนวนดาวตกระหว่าง60-80ดวง/ชม.  น่าติดตามเพราะมาตรงเวลาทุกปี

พร้อมกับสามารถชมดาวหางใกล้โลกอีก 1ดวงในวันดังกล่าวเริ่มจากช่วงหัวค่ำ   โดยหอดูดาวฉะเชิงเทราจะตั้งกล้องให้เห็นดาวหางคือ ดาวหาง46พี เวอร์ทาเนนอย่างชัดเจนพร้อมกล้อง2ตาขนาดยักษ์ให้สัมผัสดาวหาง

โอกาสนี้เป็นโอกาสดี ดังกล่าวนี้   มีโรงเรียน  ที่มาร่วมกิจกรรมชมฝนดาวตกเจมินิดส์ ( Geminids Meteor Shower ) หรือ ฝนดาวตกคนคู่  พร้อมของแถมดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน (46/P Wirtanen)

 

สดร.เปิดหอดูดาว ชวนดู 2ปรากฎการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ และ ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน 14-15 ธ.ค.

 

จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วม   โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ในวันที่ 14 ธ.ค.61   จะได้ชมที่หอดูดาวฉะเชิงเทรานี้ผ่านกล้อง 2 ตาและกล้องดูดาวขนาด 70 ซม.  และ  นอกจากนี้   ยังจะได้ชมดาวหางสเตฟานอีก 1ดวงเป็นของแถมท้าย    พร้อมดาวเคราะห์อื่นหลายอย่างช่วงหัวค่ำ  เช่น  ดาวอังคาร,ดาวเสาร์,ดาวเนปจูนและดวงจันทร์ขึ้น 8 ค่ำที่สวยงาม

มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม หัวค่ำดูท้องฟ้าจำลอง  จากนั้นดูดาว เริ่มจากดูดวงจันทร์ก่อน ,ดาวเคราะห์,ดาวหางคือ 46Pไวทาเนนท์  และ  ฝนดาวตกเจมินิดส์พร้อมกัน”นายวรวิทย์  กล่าว