หมอหัวร้อนเจอคนท้องแต่เสพยาบ้าเพราะเชื่อว่าทำให้คลอดง่าย เคสที่ 10 แล้วใน 3 เดือน!

หมอหัวร้อนเจอคนท้องแต่เสพยาบ้าเพราะเชื่อว่าทำให้คลอดง่าย เคสที่ 10 แล้วใน 3 เดือน!

คุณหมอโพสต์ระบายหลังเจอเคสหญิงท้องมาคลอดแต่พบว่าเสพยาเสพติดมาเพราะเชื่อว่าจะทำให้คลอดลูกง่ายขึ้น โดยรายล่าสุดนี้เป็นรายที่ 10 แล้วในรอบ 3 เดือน ชาวเน็ตแห่คอมเม้นต์และมีคุณหมออีกหลายๆคนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เคสในทำนองเดียวกัน คุณหมอระบุว่า เบื่อมากกับตรรกะความเชื่อแบบนี้

 

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2561 บนเฟซบุ๊กของคุณหมอคนหนึ่งโพสต์ข้อความระบายอารมณ์พร้อมใบผลตรวจของหญิงท้องคนหนึ่งที่มาคลอดลูกและพบว่ามีสารเสพติดอยู่ในร่างกาย

 

หมอหัวร้อนเจอคนท้องแต่เสพยาบ้าเพราะเชื่อว่าทำให้คลอดง่าย เคสที่ 10 แล้วใน 3 เดือน!

 

เวรไหนไม่เจอหญิงตั้งครรภ์เสพยาบ้าที่ดินแดนกระนวน วันนั้นคงนอนไม่หลับ.... เบื่อออออออออ .........#ตรรกะประชากรLV1 ที่คิดว่าเสพยาบ้าแล้วช่วยให้คลอดง่าย

ยาบ้านะเว้ยยไม่ใช่วิตามิน เคสที่10 แล้วใน 3 เดือน

ซึ่งคุณหมอคนอื่นๆและชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อโพสต์นี้ เช่น

 

หมอหัวร้อนเจอคนท้องแต่เสพยาบ้าเพราะเชื่อว่าทำให้คลอดง่าย เคสที่ 10 แล้วใน 3 เดือน!

 

หมอหัวร้อนเจอคนท้องแต่เสพยาบ้าเพราะเชื่อว่าทำให้คลอดง่าย เคสที่ 10 แล้วใน 3 เดือน!

(คลอด preterm คือการคลอดก่อนกำหนดนั่นเอง)

 

หมอหัวร้อนเจอคนท้องแต่เสพยาบ้าเพราะเชื่อว่าทำให้คลอดง่าย เคสที่ 10 แล้วใน 3 เดือน!

 

คุณหมอเล่าว่าเคสนี้เด็กมีอาการ IUGR ซึ่งอาการ IUGR (Intrauterine Growth Retardation) คือ ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า เป็นภาวะที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็น โดยทารกจะมีขนาดตัวที่เล็ก และมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 10 เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่อยู่ในช่วงอายุครรภ์เดียวกัน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ระหว่างอยู่ในครรภ์จนถึงหลังคลอด ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของรก เด็กได้รับออกซิเจนหรือสารอาหารไม่เพียงพอ และความผิดปกติของโครโมโซมในตัวทารก

 

หมอหัวร้อนเจอคนท้องแต่เสพยาบ้าเพราะเชื่อว่าทำให้คลอดง่าย เคสที่ 10 แล้วใน 3 เดือน!

 

สาเหตุของของ IUGR เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันเช่น ความผิดปกติของทารก  ความผิดปกติของโครโมโซมในทารก หรือความพิการแต่กำเนิด เป็นต้น ,สุขภาพของมารดาขณะตั้งครรภ์ โรคบางชนิดที่เกิดกับมารดาอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคเกี่ยวกับปอด โรคโลหิตจาง โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ภาวะทุพโภชนาการ และโรคที่เกิดจากการติดเชื้อบางชนิดอย่างโรคหัดเยอรมัน ไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus) ทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) และซิฟิลิส (Syphilis) เป็นต้น นอกจากนี้ น้ำหนักตัวของมารดาที่น้อยกว่า 45 กิโลกรัม ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกเสี่ยงต่อภาวะ IUGR ได้ และ พฤติกรรมของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่น การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่ครบถ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการใช้สารเสพติดต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR ได้ เช่น การตั้งครรภ์แฝด การติดเชื้อบางชนิดขณะอยู่ในครรภ์ ภาวะน้ำคร่ำน้อย และความผิดปกติของสายสะดือ 

 

ขอบคุณ Wasin Jeerararuensak และ pobpad.com