คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2561 เวลา 13.30 น. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดย พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) พลตรี ธงชัย รอดย้อย ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหารบก พลตำรวจโท ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายแพทย์ ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วนรอบ 2 เดือน ครอบคลุมทุกมิติ การดำเนินงานยาเสพติดของรัฐบาล ทั้งด้านการสกัดกั้น การปราบปราม การป้องกัน การบำบัดรักษายาเสพติด และการบังคับใช้กฎหมาย โดยมี คณะอนุกรรมการฯ 39 คณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กว่า 200 นาย ร่วมพิธีแถลงข่าวฯ ณ สำนักงาน ป.ป.ส. (ดินแดง)

 

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด จึงได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นการควบคุมปัญหาไม่ให้ขยายตัวและลดปัญหาในระยะต่อไป รัฐบาลจึงกำหนด “นโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน 3 เดือน” และมอบหมายให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับผิดชอบกำกับดูแลให้ทุกหน่วยงานยึดแผนปฏิบัติการตามที่สำนักงาน ป.ป.ส. กำหนดและเน้นย้ำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องเห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 3 เดือน พร้อมจัดตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมี พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ เพื่อเป็นกลไกเสริมการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน กำหนดเป้าหมายดำเนินการเชิงพื้นที่ และผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการ ได้แก่ 1. พื้นที่ชายแดน 132 อำเภอ 31 จังหวัด 2. พื้นที่แพร่ระบาด 562 ตำบล 324 อำเภอ 64 จังหวัด และ 3. พื้นที่เฉพาะ (โรงงานอุตสาหกรรม สถานศึกษา สถานบริการ และเรือนจำทั้งประเทศ)

 

โดยการดำเนินการระหว่างเดือน 1 ตุลาคม - 21 ธันวาคม 2561 มีผลการดำเนินงานยาเสพติดในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านการป้องกันยาเสพติด 
การลดความต้องการยาเสพติดหรือการลดอุปสงค์ยาเสพติด ด้วยการรณรงค์ป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อไม่ให้เกิดผู้เสพรายใหม่ คือ กลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา รวม 2,828,179 คน กลุ่มเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา รวม 49,139 คน กลุ่มแรงงาน

ด้านการบำบัดรักษายาเสพติด
การจัดการกระบวนการบำบัดรักษาทั้งระบบ เพื่อให้ผู้ผ่านการบำบัดรักษาไม่กลับมาเสพซ้ำ และสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ ด้วยการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษารวม 25,449 ราย ติดตาม ดูแล และช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษาต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมารวม 47,563 ราย และให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษา

 

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

 

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

 

การปราบปราบและการบังคับใช้กฎหมาย
การบังคับใช้กฎหมายดำเนินการต่อผู้ค้าและควบคุมมิให้ยาเสพติดกระจายลงไปในพื้นที่ซึ่งเป็นการตัดโอกาสมิให้ผู้เสพ/ผู้ติดเข้าถึงตัวยาเสพติดได้โดยง่าย ซึ่งจากการดำเนินการที่ปผ่านมามีการจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 73,540 คดี ผู้ต้องหา 76,545 คน ของกลาง ยาบ้า 179,500,858 เม็ด ไอซ์ 3,463.61 กิโลกรัม กัญชา 2,194.38 กิโลกรัม เฮโรอีน 296.87 กิโลกรัม คีตามีน 213 กิโลกรัม และโคเคน 6 กิโลกรัม และมีการดำเนินคดีต่อผู้ค้ารายสำคัญ ในฐานความผิดสมคบและสนับสนุนหรือช่วยเหลือ 500 คดี ผู้ต้องหา 917 คน ยึดและอายัดทรัพย์สิน 311 ราย รวมมูลค่าทรัพย์สิน 157.44 ล้านบาท

จำนวน 4,555 แห่ง รวม 302,114 คน และกลุ่มประชาชนทั่วไป รวม 2,049,050 คน

 

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

 

การสกัดกั้นยาเสพติด
การบูรณาการการปฏิบัติของหน่วยงานความมั่นคงส่งผลให้การสกัดกั้นยาเสพติดที่ถูกลักลอบนำเข้าตามแนวชายแดนไม่ถูกส่งผ่านเข้าไปยังพื้นที่ตอนในและแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยให้กองกำลังป้องกันชายแดนเข้มงวดในการสกัดกั้นทุกรูปแบบ เพิ่มการลาดตระเวนตามแนวชายแดน และจัดชุดดำรงธรรมเคลื่อนที่เข้าหมู่บ้านชุมชนตามแนวชายแดน เกิดผลอย่างชัดเจนสามารถสกัดกั้นยาเสพติดทั้งตามแนวชายแดน และตามเส้นทางลำเลียงหลักได้มากกว่า 152 ล้านเม็ด

 

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

 

ทิศทางการดำเนินการใน ปี 2562 กำหนดแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษายาเสพติด โดยมีจุดเน้นเพื่อลดทอนศักยภาพ/ความสามารถ/พื้นที่การผลิตยาเสพติดในประเทศเพื่อนบ้าน ลด/ตัดโอกาสในการลักลอบลำเลียงยาเสพติดทั้งที่เพื่อการแพร่กระจายและส่งออก ลดพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนที่มีปัญหายาเสพติดในประเทศ ลดความต้องการยาเสพติดในประเทศ (การเกิดรายใหม่และการกลับไปเสพซ้ำ) และลดการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของกลุ่มเด็กและเยาวชน ด้านการป้องกันยาเสพติด ยังคงให้ความสำคัญกับการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา ผู้ใช้แรงงาน ประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน/ชุมชน ตลอดจนการป้องกันปัญหาเชิงระบบนิเวศ สร้างสภาพแวดล้อมระบบนิเวศทางสังคมที่สัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย ขยายกรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมภาคประชาชน

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

 

ด้านการปราบปรามยาเสพติด พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อควบคุมหรือลดการผลิตยาเสพติดทำลายแหล่งผลิต เครือข่ายการค้าและองค์กรอาชญากรรมที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการกับผู้ค้าที่อยู่ระดับบน ผู้อยู่เบื้องหลัง เป้าหมายจับกุมนักค้าคดียาเสพติดรายสำคัญ 62,000 คดี ดำเนินการลดปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน สถานประกอบการ สถานศึกษา โดยเน้นหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีปัญหายาเสพติดรุนแรง 4,076 หมู่บ้าน/ชุมชน ด้านการบำบัดรักษายาเสพติดผู้เสพ/ผู้ติดได้รับการบำบัดรักษาฯ อย่างมีมาตรฐาน มีระบบทางเลือกที่เหมาะสม เป้าหมายผู้เข้ารับการบำบัดทุกระบบ 217,550 ราย เพิ่มขีดความสามารถด้านการติดตาม ช่วยเหลือ ผ่านระบบนิเวศรอบตัวผู้เสพ/ผู้ติด ด้านการบริหารจัดการ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ

 

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

 

แม้ว่าการแก้ไขปัญหายาเสพติดในช่วงที่ผ่านมาจะสามารถควบคุมปัญหายาเสพติดมิให้ขยายตัวรุนแรงเพิ่มมากขึ้นและจะนำไปสู่การลดปัญหาให้เบาบางลง แต่ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดผลอย่างแท้จริงคือการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐบาลจึงมุ่งเน้นสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนัก รู้หน้าที่ และเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเริ่มจากตนเอง ครอบครัวและชุมชน ช่วยในการค้นหา โน้มน้าว ชักชวนผู้เสพยาเสพติดในชุมชนให้เข้ารับการบำบัดรักษา และติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษาไม่ให้หวนกลับไปเสพซ้ำ และรวมถึงการให้ข้อมูลเบาะแสของผู้มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน หากพบเห็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แจ้งสายด่วน ป.ป.ส. โทร. 1386 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

 

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ แถลงผลงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน เน้นป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน

 

ภาพ/ข่าว เพจ 123 คนดีมีน้ำใจ โดยสำนักข่าวทีนิวส์