ภาพดาวเทียมญี่ปุ่น เส้นทาง"พายุปาบึก"เข้าไทย "อธิบดีกรมอุตุฯ" เตือนจับตาใกล้ชิด ห่วงสมุยมากที่สุด

ล่าสุด ภาพดาวเทียมญี่ปุ่น เส้นทาง"พายุปาบึก"เข้าไทย "อธิบดีกรมอุตุฯ" เตือนจับตาใกล้ชิด

จาก ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ “ปาบึก” (PABUK) " ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 02 มกราคม 2562 เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันนี้ (2 ม.ค. 62) พายุโซนร้อนปาบึก” (PABUK) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 6.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.0 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลัง เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวน และเคลื่อนลงอ่าวไทย ในช่วงวันที่ 2-3 มกราคม 2562 โดยจะมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2562 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้น  และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย โดยมีผลกระทบดังนี้

ในช่วงวันที่ 3-4 มกราคม 2562 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล ในช่วงวันที่ 4-5 มกราคม 2562 บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างและจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูลสำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 3-5 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากลมแรงและคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือบริเวณ อ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งตั้งแต่วันที่ 2-5 มกราคม 2562

 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา

 

 ขณะเดียวกัน มีการเปิดภาพจากดาวเทียมฮิมาวาริ ของประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นพายุที่กำลังพัดมาทางอ่าวไทยด้วย      


ภาพจากดาวเทียม

ภาพจากดาวเทียม ฮิมาวาริ

 

ภาพจากดาวเทียม ฮิมาวาริ

ภาพจากดาวเทียม ฮิมาวาริ

 

ภาพจากดาวเทียม ฮิมาวาริ

 

ล่าสุดวันนี้(2ม.ค.)นายภูเวียง ประคำมินทร์  อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ได้แถลงถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าว โดยมีเนื้อหาบางส่วนระบุว่า ขณะนี้สามารถจับเรด้าพายุปาบึกได้ที่อยู่ที่ทะเล ซึ่งเป็นพายุโซนร้อน ความแรงจะน้อยกว่าพายุเกย์ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าในวันที่ 4มกราคม ที่พัดผ่านมาที่จังหวัดชุมพร และวันที่5 มกราคม มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไป แต่จะกวาดน้ำทะเลมาด้วยโดยเคลื่อนเข้าที่จังหวัดเพชรบุรี ตอนนี้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็ให้อพยพออกมา รวมทั้งคนที่ทำงานแท่นขุดเจาะอยู่ที่กลางทะเล ที่มีการกลับเข้าฝั่งกันหมดแล้ว  ปกติพายุในประเทศไทยจะหมดไปตั้งแต่พฤศจิกายน ธันวาคม แต่นี่มามกราคม

 

นายภูเวียง ประคำมินทร์  อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

 

“ผมทำงานมา30ปีก็เพิ่งเห็นว่าพายุมาเข้าไทยช่วงมกรา ปกติจะมีแค่พฤศจิกา ธันวาคม สาเหตุก็น่าจะเกิดจากผิวน้ำทะเลอุณหภูมิสูง ประกอบกับจะเห็นว่าอุณหภูมิโลกสูงกว่าปกติ เป็นสภาวะที่แปรปรวน สภาพอากาศผิดปกติบ่อยขึ้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากสภาวะโลกร้อน ตนไม่อยากให้ประชาชนแตกตื่นกันมากนัก ที่ห่วงมากก็คือสมุย เพราะศูนย์กลางจะผ่าน ซึ่งมี3จังหวัด ชุมพร สุราษฏร์ ประจวบคีรีขันธ์ มี2จุดอันตราย ที่4จังหวัด ชุมพร สุราษฏร์คือที่สมุย ประจวบฯ และนครศรีธรรมราชตอนบน ส่วนตอนล่างไม่เท่าไหร่ อีกจุดคือ จุดศูนย์กลางพายุซึ่งจะมีฝนตกมากและหนักด้วย”

 

แผนที่

 

ปาบึก

 

สำหรับพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2562 
สำหรับประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปและมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ ส่วนบริเวณเทือกเขาสูงมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย 

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวน และเคลื่อนลงอ่าวไทยในช่วงวันที่ 2-3 ม.ค. 62 โดยจะมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 ม.ค. 62 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปกับมีลมแรง พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 

ภาคกลาง อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก อากาศเย็น กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็น กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 

 

ประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-กรมอุตุฯ ประกาศเตือนระวัง ฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง 18 จังหวัด หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง

-กรมอุตุฯ ประกาศ ไทยยังมีฝน ปชช.ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง เเละสภาพอากาศเปลี่ยน!

 

ขอขอบคุณ ภาพจากดาวเทียม ฮิมาวาริ เเละ กรมอุตุนิยมวิทยา