ความหมาย สตอร์ม เซิร์จ (STORM SURGE) คลื่นพายุซัดฝั่ง เเละ วิธีรับมือจากภัยพิบัติ

ความหมาย สตอร์ม เซิร์จ (STORM SURGE) คลื่นพายุซัดฝั่ง เเละ วิธีรับมือจากภัยพิบัติ

เวลานี้คงไม่มีใครที่จะไม่รู้สึกวิตกกังวลกับข่าว“พายุปาบึก”ทางด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศแจ้งเตือนถึง “พายุปาบึก” ที่กำลังเคลื่อนตัวเข้ามา นอกจากนี้ ในโลกของโซเชียลมีเดียได้มีการแชร์ข้อมูลที่ระบุว่า “พายุปาบึก” ลูกนี้มีความรุนแรงอย่างมาก มีฤทธิ์ทำลายล้างเทียบเท่ากับพายุโซนร้อนแฮเรียต ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อปี 2505 ที่ได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยประเทศไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน มีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก
 

ความหมาย สตอร์ม เซิร์จ (STORM SURGE) คลื่นพายุซัดฝั่ง เเละ วิธีรับมือจากภัยพิบัติ

 

นอกจากนี้บริเวณชายฝั่งยังเกิดเป็นเเนวคลื่นขนาดใหญ่ ที่ต่างจากสึนามิ โดยเรียกกันว่า สตอร์ม เซิร์จ (STORM SURGE) วันนี้เราจะมาดูว่า  สตอร์ม เซิร์จ คืออะไรเเล้วสร้างความรุนเเรงให้เกิดความเสียหายได้มากเเค่ไหนมาดูกัน  คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surge) คือภัยพิบัติร้ายแรงอย่างหนึ่ง อันเนื่องมาจากพายุหมุนเขตร้อน เป็นปรากฏการณ์ที่คลื่นขนาดใหญ่ซัดชายฝั่ง อันเนื่องมาจากความแรงของลมที่เกิดขึ้นจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าหาฝั่ง ประกอบกับ ณ บริเวณนั้น ความกดอากาศที่ปกคลุมมีความกดอากาศต่ำ หากหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวผ่านไปพร้อมกับศูนย์กลางพายุ ทำให้ระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นกว่าบริเวณโดยรอบ และกลายเป็นโดมน้ำขนาดใหญ่ ซัดชายฝั่งอย่างรวดเร็ว และรุนแรง จนสร้างความเสียหายต่อชีวิต อาคารบ้านเรือนและทรัพย์สินบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้สิ่งก่อสร้างริมฝั่งทะเลเสียหาย พังทลาย ผู้คนและสัตว์เลี้ยงถูกพัดลงทะเล เรือประมงทั้งขนาดให้และขนาดเล็กอาจล่มได้ ป่าชายเลนและหาดทรายถูกทำลาย โดยปกติมีความรุนแรงมากในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตรจากศูนย์กลางพายุ คลื่นพายุซัดฝั่งส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนที่มีความแรงในระดับพายุโซนร้อนขึ้นไป
 

ความหมาย สตอร์ม เซิร์จ (STORM SURGE) คลื่นพายุซัดฝั่ง เเละ วิธีรับมือจากภัยพิบัติ


ก่อนเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง จะมีสัญญาณเตือนหลายอย่าง เช่น สามารถสังเกตได้จากลักษณะอากาศที่จะค่อย ๆ เลวร้ายลง เมฆฝนก่อตัว ฝนตกหนักลมพัดแรง หรือการเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสามารถติดตามการก่อตัวของพายุ คาดการณ์เส้นทางของพายุ และการคาดการณ์การเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง หากจะกล่าวถึงเหตุการณ์การเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยอย่างประเทศพม่า ระหว่างปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) คือ พายุหมุนนาร์กีส (Cyclone Nargis) หรือไซโคลนนาร์กีส ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ และทวีความรุนแรงของพายุแล้วพัดเข้าหาชายฝั่ง ซึ่งผลของพายุไซโคลนนาร์กีสได้ก่อความเสียหายเป็นวงกว้าง สร้างความเสียหายในพื้นที่โดยรอบมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือโดยเฉพาะในพม่า โดยปรากฏรายงานผู้เสียชีวิตกว่า 50,000 คน และผู้สูญหายกว่า 40,000 คน จากการเกิดภัยพิบัติครั้งนี้ ความเสียหายทั้งบ้านเรือน อาคาร ร้านค้า ตลอดจนพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประชากรต้องดำรงชีวิตโดยขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค การประเมินความเสียหายด้านทรัพย์สินคิดเป็นเงินประมาณ 4,057 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (134,650.87 ล้านบาท)

 

ความหมาย สตอร์ม เซิร์จ (STORM SURGE) คลื่นพายุซัดฝั่ง เเละ วิธีรับมือจากภัยพิบัติ

 

การเตรียมการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นพายุซัดฝั่ง ควรปฏิบัติดังนี้

1. สร้างแนวเขื่อนกั้นคลื่นพายุซัดฝั่ง ให้มีความแข็งแรงและสูงพอสมควร โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยมาก ๆ ต่อความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น สิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่งควรเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และถาวร
2. ให้คำแนะนำความรู้เกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน และคลื่นพายุซัดฝั่งให้กับประชาชนที่อาศัยประกอบกิจการอยู่ในบริเวณชายฝั่ง ตลอดทั้งแนวภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคตะวันออก รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป
3. เผยแพร่ความรู้ไปยังนักท่องเที่ยว โดยผ่านหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และโรงแรมต่าง ๆ ตามสถานที่ท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล
4.ติดตามข่าวอากาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อน และเตือนภัยคลื่นพายุซัดฝั่งจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลเกิดพายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้และอ่าวไทย
5.ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล และหมู่บ้านชาวประมง ควรเพิ่มมาตรการเสริมความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูกาลเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง
6. นำเรือไปหลบคลื่นในบริเวณที่อับลมหรือที่ปลอดภัย
7.เคลื่อนย้ายทรัพย์สินไปอยู่ในที่ที่ห่างจากฝั่งทะเลพอสมควร
8. มีการประสานงานติดต่ออย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวกับกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงของคลื่นพายุซัดฝั่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อวางแผนกิจกรรมการท่องเที่ยวและมาตรการป้องกันให้เหมาะสม
9. มีมาตรการและแผนในการป้องกันและลดภัยพิบัติจากคลื่นพายุซัดฝั่ง ที่เหมาะสมทั้งระยะยาวและระยะสั้น 
10.คลื่นพายุซัดฝั่ง อาจทำให้น้ำท่วม มีคลื่นสูงซัดเข้าฝั่ง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็อาจมีระดับน้ำท่วมสูง อย่างรวดเร็ว ควรปฏิบัติตัวดังนี้ [2]
11. เมื่อได้รับแจ้งเตือนให้อพยพ ควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงหรืออพยพตามเส้นทางที่กำหนดภายใต้การแนะนำของสำนักงานเขตพื้นที่
12.ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่ที่จะใช้งานได้เมื่อเกิดน้ำท่วม
13.เมื่อมีกระแสน้ำหลากทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ฯลฯให้ระวังกระแสน้ำพัดพาไป
14.อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม
15.ถ้าน้ำท่วมมากรถออกจากบ้านไม่ได้ ให้ใช้แม่แรงยกรถ แล้วนำอิฐบล็อก หรือขอนไม้ใหญ่ หรือเหล็กค้ำยันไว้ ให้รถลอยสูงหนีน้ำ
16. หากระดับน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ให้หาทางเคลื่อนย้ายสิ่งของไปไว้ชั้นบนของบ้าน
17.อย่าลงเล่นน้ำอาจพบอุบัติภัยอื่น ๆ อีกได้
18. หากน้ำท่วมขัง จะเกิดโรคระบาดทางเดินอาหารให้ระวังความสะอาดของน้ำบริโภค

 

ความหมาย สตอร์ม เซิร์จ (STORM SURGE) คลื่นพายุซัดฝั่ง เเละ วิธีรับมือจากภัยพิบัติ

 

ขอขอบคุณ  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ