กรณีศึกษา! รพ.ตึกสูง7ชั้นอยู่ใกล้ทะเล แต่เมื่อพายุพัดผ่าน ยังสมบูรณ์100% ผอ.เผยวิธีรับมือใช้งบแค่พันบาท

จากกรณีสถานการณ์พายุโซนร้อนปาบึก (PABUK) เคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณอ่าวไทย โดยพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช หรือที่ละติจูด 7.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 101.5 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งในพื้นที่จังหวัดนครศรีฯได้มีการสั่งอพยพประชาชนหลายอำเภอ เกิดกระแสไฟฟ้าดับหลายพื้นที่ ต้นไม้หักโค่นโดนทำลายไปจำนวนมากมายนั้น

 

รพ.ตึกสูง7ชั้นอยู่ใกล้ทะเล แต่เมื่อพายุพัดผ่าน ยังสมบูรณ์100% ผอ.เผยวิธีรับมือใช้งบแค่พันบาท

 

ขณะที่หลังพายุร้ายได้พัดผ่านไปแล้ว มีความเคลื่อนไหวหนึ่งที่น่าสนใจนั่นคือ นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพผ่านArak Wongworachat ซึ่งวิธีรับมือกระแสลมแรงจากพายุที่ทางโรงพยาบาลสิชลได้นำมาปฏิบัติ โดยเห็นว่านี่อาจเป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจจึงขอนำมาเผยแพร่ให้สังคมได้รับรู้ดังนี้

 

รพ.ตึกสูง7ชั้นอยู่ใกล้ทะเล แต่เมื่อพายุพัดผ่าน ยังสมบูรณ์100% ผอ.เผยวิธีรับมือใช้งบแค่พันบาท

 

รพ.ตึกสูง7ชั้นอยู่ใกล้ทะเล แต่เมื่อพายุพัดผ่าน ยังสมบูรณ์100% ผอ.เผยวิธีรับมือใช้งบแค่พันบาท

 

 

 

#การป้องกันความเสียหายอาคารสถานที่จากพายุปาบึก

เนื่องจากโรงพยาบาลสิชลอยู่ใกล้ทะเลห่างเพียง2.5กิโลเมตรเท่านั้น มีอาคารสูงระดับ6-7 ชั้นหลายหลังชั้นบนอาคารมองเห็นวิวทะเล มีประตูหน้าต่างกระจกแทบทั้งหมดเป็นจำนวนมาก การป้องกันความเสียหายของอาคารสถานที่ราชการต้องดูแลอย่างดีให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ประตู หน้าต่างทุกหลัง ต้องปิดล็อคอย่างแน่นหนา ใช้เทปกาวปิดกระจกทุกบาน ปิดรูรั่วทุกจุด

 

รพ.ตึกสูง7ชั้นอยู่ใกล้ทะเล แต่เมื่อพายุพัดผ่าน ยังสมบูรณ์100% ผอ.เผยวิธีรับมือใช้งบแค่พันบาท

 

วัสดุสิ่งของที่ต้านลมเก็บพับ นอนราบในจุดบังลม โต๊ะเก้าอี้เก็บเข้าในอาคาร รถราชการ เจ้าหน้าที่เอาออกจากจุดเสี่ยง โรงรถที่ไม่แข็งแรงตรวจสอบหลังคา แผ่นคอมโพสิตจุดไม่แข็งแรงแก้ไขทุกจุด โดยให้ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ แต่ละอาคารรับผิดชอบพื้นที่ตัวเอง แล้วรายงานความเรียบร้อยมาที่ศูนย์บัญชาการ ประตูหน้าต่างหลายบานกลอน กุญแจใช้ไม่ได้เพราะโรงพยาบาลไม่ค่อยได้ล็อค ทีมช่างตามจัดการทันทีด้วยความรวดเร็ว ทำหมดก่อนพายุมา1วัน

 

รพ.ตึกสูง7ชั้นอยู่ใกล้ทะเล แต่เมื่อพายุพัดผ่าน ยังสมบูรณ์100% ผอ.เผยวิธีรับมือใช้งบแค่พันบาท

 

คำถามคือทำแบบนี้ป้องกันได้จริงหรือไม่ เราไม่ทราบเพราะไม่เคยทำ แต่เป็นคำแนะนำที่ไม่ควรละเลยเพราะลงทุนน้อยมากแค่หลักพันบาทเท่านั้น

แม้หางพายุแต่ลมแรงมากแรงที่สุดเท่าที่โรงพยาบาลสิชลเคยเจอ มีกระโชกเป็นระยะๆ กว่าสามชั่วโมง มีเสียงหวีดหวิวตลอดเวลา พัดกระแทกกระจก มีเสียงพึบพับบ้างแต่ไม่มากเพราะเราจัดการประตู หน้าต่างให้แน่นทุกบานแล้ว ร่ม แผ่นไวนิล เก็บออกหมด หลังคาโรงพยาบาลส่วนหนึ่งเป็นดาดฟ้า ส่วนที่เป็นหลังคาจะถูกออกแบบมีแผงกันลม ส่วนใหญ่ สำรวจจุดรั่วซึมของน้ำทุกจุดแก้ไขเสียก่อน

 

รพ.ตึกสูง7ชั้นอยู่ใกล้ทะเล แต่เมื่อพายุพัดผ่าน ยังสมบูรณ์100% ผอ.เผยวิธีรับมือใช้งบแค่พันบาท

 

จากการสำรวจอาคารสถานที่หลังพายุผ่านไปแล้ว

ไม่มีอะไรเสียหายเลยแม้แต่น้อย ทุกอย่างสมบูรณ์100%

จึงขอบันทึกไว้เป็นบทเรียน

 

รพ.ตึกสูง7ชั้นอยู่ใกล้ทะเล แต่เมื่อพายุพัดผ่าน ยังสมบูรณ์100% ผอ.เผยวิธีรับมือใช้งบแค่พันบาท

 

รพ.ตึกสูง7ชั้นอยู่ใกล้ทะเล แต่เมื่อพายุพัดผ่าน ยังสมบูรณ์100% ผอ.เผยวิธีรับมือใช้งบแค่พันบาท

 

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก : Arak Wongworachat