ระเบียบใหม่ขนส่งฯ พักใช้-ถอนใบขับขี่ หนักสุดปรับ 2 แสนบาท

ระเบียบใหม่ขนส่งฯ พักใช้-ถอนใบขับขี่ หนักสุดปรับ 2 แสนบาท

จากกรณีที่กรมการขนส่งทางบกพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการทำผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะจากการขับรถเร็วเกินกำหนด หรือการขับรถผิดกฎจราจร ที่เคยมีการแก้ปัญหาทั้งในเรื่องของ ตักเตือนปรับ ยึดใบขับขี่หรือแม้แต่เพิกถอนใบอนุญาตใบขับขี่ของบุคคลที่กระทำความผิดนั้น แต่ว่าการทำแบบนี้ดูจะไม่ค่อยเป็นผมเท่าที่ควร เลยได้ออกกกฎระเบียบขึ้นมาใหม่โดยการปรับเนื้อหาในระเบียบให้เข้มขึ้นจากเดิม ซึ่งระเบียบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั่นก็คือกรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2561 เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการป้องกันการฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายจราจรอย่างเด็ดขาด

 

ระเบียบใหม่ขนส่งฯ พักใช้-ถอนใบขับขี่ หนักสุดปรับ 2 แสนบาท

(เพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย)

 

ล่าสุด กรมการขนส่งทางบกได้แก้ไขเพิ่มเติมออกระเบียบว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก โดยมีการเพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายสำหรับผู้ที่ทำผิดหรืรอละเมิดหากพบว่าเป็นโทษที่มีความผิดรุนแรง สามารถพิจารณาเพิกถอนได้ทันที


โดยมีรายละเอียดโทษแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งจะแบ่งโทษเป็นความผิดทั่วไป ความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ และความผิดร้ายแรงที่มีโทษจำคุก และมีการแบ่งระดับโทษ เปรียบเทียบ อบรม พักใช้ และเพิกถอน อย่างไรก็ตาม หากพบว่า เป็นโทษที่มีความผิดรุนแรง สามารถพิจารณาเพิกถอนได้ทันที

 

ระเบียบใหม่ขนส่งฯ พักใช้-ถอนใบขับขี่ หนักสุดปรับ 2 แสนบาท

(เพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย) ขอบคุณภาพจาก kapook

 

สาระสำคัญของระเบียบ คือ การเพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมีทั้งความผิดทั่วไป ความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ และความผิดร้ายแรง โดยแบ่งโทษออกเป็นหลายระดับ ตั้งแต่โทษปรับ อบรม พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต

 

กลุ่มความผิดทั่วไป
1) กระทำการอันควรขายหน้าต่อธารกำนัล หรือกระทำการลามกขณะขับรถ
2) สูบบุหรี่ขณะเป็นผู้ที่ขับรถ
3) ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือคอมพิวเตอร์พกพาในขณะขับรถ โดยไม่ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา
4) ไม่ใช้อุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ (ปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ แหล่งจ่ายพลังงานหรือสัญญาณ หรือดัดแปลงให้ไม่สามารถส่งข้อมูลการเดินทางของรถได้)
5) ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนสมรรถภาพ
6) รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตราย โดยฝ่าฝืนข้อห้าม
7) ไม่หยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งขับรถเกินกว่าชั่วโมงการทำงานที่กฎหมายกำหนด
9) กระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารซึ่งชำระค่าโดยสารถูกต้องแล้วต้องลงจากรถก่อนถึงจุดหมายปลายทาง
10) ไม่หยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้หยุดรถ
11) ขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถได้ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร

12) เรียกเก็บค่าขนส่งหรือค่าบริการผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด

 

หากทำผิดครั้งที่ 1 จะถูกปรับและอบรม
ครั้งที่ 2 จะถูกปรับ พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน และอบรม
ครั้งที่ 3 จะถูกปรับ พักใช้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน และอบรม

โดยโทษปรับนั้น จะปรับไม่เกิน 5,000 บาท

 

กลุ่มความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ
1) ทำการขนส่ง เช่นเดียวกับ หรือคล้าย หรือแย่งผลประโยชน์ กับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (เฉพาะกรณีผู้ขับรถเป็นบุคคลเดียวกับผู้ประกอบการขนส่ง)
2) ไม่ใช้เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ (ไม่ล็อกอุปกรณ์ยึดตู้บรรทุกสินค้า ไม่ล็อกอุปกรณ์ต่อพ่วง)
3) ไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณ เมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินหรือไหล่ทาง
4) บรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
5) ขับรถด้วยอัตราความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
6) ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว
7) ขับรถโดยก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น และไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร

 

ข้อ 1) หากเป็นความผิดครั้งที่ 1 จะถูกปรับและอบรม
ครั้งที่ 2 จะถูกปรับ พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน และอบรม
ครั้งที่ 3 ปรับและเพิกถอนใบอนุญาต
โดยโทษปรับนั้นจะปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 200,000 บาท

ระเบียบใหม่ขนส่งฯ พักใช้-ถอนใบขับขี่ หนักสุดปรับ 2 แสนบาท

(เพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย) ขอบคุณภาพจากพันทิพย์

 

ข้อ 2) – 7) หากเป็นความผิดครั้งที่ 1 จะถูกปรับและอบรม
ครั้งที่ 2 จะถูกปรับ พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน และอบรม
ครั้งที่ 3 ปรับและเพิกถอนใบอนุญาต
โดยโทษปรับนั้นจะปรับไม่เกิน 5,000 บาท

 

กลุ่มความผิดร้ายแรง
1) เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นขณะเป็นผู้ขับรถ
2) เสพยาเสพติดให้โทษขณะเป็นผู้ขับรถ
3) เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทขณะเป็นผู้ขับรถ
4) ไม่ใช้เครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ (ใช้อุปกรณ์ตัดสัญญาณความถี่วิทยุ ทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลการเดินทางของรถได้)
ข้อ 1) หากเป็นความผิดครั้งที่ 1 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 30 วัน
ครั้งที่ 2 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 60 วัน
ครั้งที่ 3 จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
และต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 - 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยข้อหาความผิดมีโทษจำคุก ต้องส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี
ข้อ 2) – 3) หากเป็นความผิดครั้งที่ 1 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 30 วัน
ครั้งที่ 2 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 60 วัน
ครั้งที่ 3 จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
และต้องระวางโทษสูงกว่ากฎหมายที่ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกำหนดอีกหนึ่งในสาม โดยข้อหาความผิดมีโทษจำคุก ต้องส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี
ข้อ 4) หากเป็นความผิดครั้งที่ 1 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 30 วัน
ครั้งที่ 2 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 60 วัน
ครั้งที่ 3 จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
โดยโทษปรับนั้นจะปรับไม่เกิน 5,000 บาท

 

ระเบียบใหม่ขนส่งฯ พักใช้-ถอนใบขับขี่ หนักสุดปรับ 2 แสนบาท

(เพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย)


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องร่วมด้วยช่วยกันปฏิบัติตามกฎหมายด้วยความเต็มใจ เพราะความประมาทเพียงนิด อาจทำให้เสียชีวิต บาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหายได้ 

 

ขอบคุณ กรมขนส่งทางบก