นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เผยว่า เตรียมทำฝนหลวง เพื่อบรรเทาลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐาน หรือ PM2.5 ที่เกิดขึ้นทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายในวันที่ 15 มกราคม 2561 นี้

เมื่อกรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ระบุว่า คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจพบสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจพบค่าระหว่าง 56 – 99 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินมาตรฐานทั้งใน กรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้ง จ.นครปฐม นนทบุรี และ สมุทรสาคร
 

ปัญหาฝุ่นละออง

 

ฝุ่นทั่วกรุง

 

ด้านนายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า มีการเตรียมพร้อมปฏิบัติการฝนหลวง โดยจัดชุดฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว 2 หน่วยแล้ว คาดว่าจะเริ่มทำฝนหลวงได้ในวันพรุ่งนี้ (15 ม.ค.62) หากลมพัดมาทางทิศตะวันออก จะใช้หน่วยฝนหลวง จ.ระยอง ในการปฏิบัติการโดยใช้ฐานบินที่ จ.ระยอง บินเข้ามาใกล้กรุงเทพฯ ให้มากที่สุด แต่ต้องบินห่างจากสนามบินนานาชาติไม่น้อยกว่า 50 ไมล์ จึงมาได้แค่ จ.ฉะเชิงเทรา โดยจะเริ่มจากการสร้างเมฆ เลี้ยงเมฆให้อ้วน และปล่อยเมฆมาตามทิศทางลมเข้ากรุงเทพฯ โดยใช้เครื่องบิน คาซ่า จำนวน 2 ลำ ในการดำเนินการ 

 

เครื่องบินทำฝนหลวง

 

นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า การทำฝนหลวงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านทั้งความชื้นและทิศทางลม หากในอากาศมีความชื้นเพียงพอจึงจะดำเนินการได้ ซึ่งนอกจากนี้ยังมีการประสานกับทางกระทรวงสาธารณสุขแจกหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เชื่อว่าสถานการณ์ PM 2.5 ในปีนี้ ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต และยังต้องเฝ้าระวังต่อไปในช่วง 1-2 สัปดาห์จากนี้ 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "บิ๊กตู่"เสียงเข้มปราบฝุ่น PM 2.5 ออกคำสั่งให้กอ.รมน.ลุยสอบโรงงาน ปิดทันทีเจอควันพิษ ลุยจับรถควันดำ ลั่นอย่าให้ถึงขั้นวิ่งวันคู่ วันคี่
- ศูนย์การค้าในเครือซีพีเอ็น ร่วมบรรเทาสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ช่วยฉีดน้ำดูดซับฝุ่นละอองในอากาศ ที่ศูนย์การค้า 20 แห่งทั่วประเทศ

 

เครื่องบินทำฝนเทียม

 

ส่วนกรณีที่กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ประเทศไทย) ระบุว่ากรุงเทพฯมีปัญหามลพิษเป็นอันดับ 9 ของโลก ก็เป็นข้อมูลที่ดี และพร้อมเปิดใจรับฟัง ในส่วนพื้นที่ กรุงเทพฯ ค่า PM 2.5 ที่เกินมาตรฐานนั้น จากผลการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) พบว่า ร้อยละ 50-60 เกิดจากควันดำ รถยนต์ดีเซลที่การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ร้อยละ 35 เกิดจากการเผาในภาคเกษตร และร้อยละ 5 เกิดจากภาคอุตสาหกรรม โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ มีรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลจำนวน 2 ล้าน 5 แสนคน และรถยนต์ทั่วไปจำนวน 9 ล้าน 8 แสนคัน 
 

ฝุ่น PM2.5

 

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5

 

ขอขอบคุณ ขอขอบคุณ จส.100 /  Sunny_Sunny