ราชกิจจานุเบกษาประกาศระเบียบกกต. ลักษณะต้องห้ามในการหาเสียง!

ราชกิจจานุเบกษาประกาศระเบียบกกต. ลักษณะต้องห้ามในการหาเสียง!

วันที่ ๒๓ ม.ค. ๒๕๖๒ ที่ผ่านมาเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปพ.ศ. ๒๕๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ และมาตรา ๒๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

 

 

มาตรา๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า“พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๒”

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป

มาตรา ๔ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

 

ราชกิจจานุเบกษาประกาศระเบียบกกต. ลักษณะต้องห้ามในการหาเสียง!

หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๖๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔) มีผลใช้บังคับแล้ว สมควรกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

 

นอกจากนี้ยังเผยแพร่

ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ระบุว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๗๐ มาตรา ๗๑ และมาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๑ ประกอบกับมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๕ ม.ค. ๒๕๖๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
 
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียง และลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๒”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทเฉพาะกาลของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๑ ดังนี้
 
บทเฉพาะกาล
“ข้อ ๑๙ ในการหาเสียงเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายหลังพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๑ ใช้บังคับ ให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองปฏิบัติตามระเบียบนี้นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีผลใช้บังคับจนถึงวันเลือกตั้ง”
 
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒
อิทธิพร บุญประคอง
ประธานกรรมการการเลือกตั้ง

 

ราชกิจจานุเบกษาประกาศระเบียบกกต. ลักษณะต้องห้ามในการหาเสียง!

 

โดยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๑ ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ระบุว่าลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งมีดังนี้
๑. ห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียง
๒. ห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดหาเสียงเลือกตั้งในลักษณะ ดังต่อไปนี้
 
(๑) ผู้ประกอบอาชีพหรือเป็นเจ้าของกิจการเกี่ยวกับรายการทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน สื่อโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร สื่อมวลชน เป็นต้น ใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมือง
กรณีตาม (๑) มิให้ใช้บังคับแก่ผู้สมัครที่ใช้ความรู้ความสามารถทางศิลปะของตน หาเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเองโดยไม่ใช้อุปกรณ์ในการแสดง
(๒) แจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการวาง หรือโปรยในที่สาธารณะ
(๓) หาเสียงเลือกตั้งโดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย หรือปลุกระดม
(๔) ช่วยเหลือเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ให้แก่ผู้ใดตามประเพณีต่างๆ