เครนถล่มพระราม 3 เสียชีวิต 5 ราย จนท.เร่งตรวจสอบ (คลิป)

นอกเหนือจากเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วไปที่เกิดขึ้นแทบจะทุกวัน อุบัติเหตุจากการก่อสร้าง ช่วงนี้จะเห็นว่าเริ่มจะถี่ขึ้น และนำมาซึ่งการสูญเสียตามมา อย่างเหตุการณ์เครนถล่น ย่านพระราม 3 เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สลด ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิด ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 5 ราย ซึ่งเครนนี้มีการติดตั้งเพิ่มเติมในการขึ้นไปก่อสร้างคอนโดโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย

เมื่อวานนี้ ได้เกิดเหตุการณ์เครนพังถล่มบริเวณ ถนนพระราม 3 ซอย 45 จนทำให้ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ถึง 5 ราย ที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารคอนโดพบเครนสูงประมาณ 60 เมตร สภาพหักพังลงมา จากการตรวจสอบพบว่ากำลังก่อสร้างคอนโดสูง 35 ชั้น ได้ให้ตำรวจในพื้นที่ให้ตรวจสอบอย่างละเอียดในขั้นตอนการก่อสร้าง ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าบุคคลใดเป็นคนกระทำความผิด ต้องให้เจ้าหน้าที่กรมโยธา กรุงเทพมหานครแจ้งความ เบื้องต้นตำรวจได้ประสานญาติผู้บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตให้รับทราบแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นชาวไทย และมีชาวต่างด้าวเพียง 1 รายมีใบอนุญาตถูกต้อง  ซึ่งกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นที่อาคารคอนโดฯ ที่ขอการก่อสร้างขนาด 35 ชั้น   รวมทั้งกำลังจะสร้างชั้นที่ 14-15 ต่อ ทำให้ต้องมีการต่อเครนให้มีความสูงขึ้น และจากการสืบสวนทราบว่า ได้มีการต่อเครนเพิ่มเติมเพิ่งเสร็จไม่กี่วัน หลังจากต่อเครนเสร็จแล้ว เมื่อวานนี้จึงได้มีการทดลองในการใช้ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมา

จากข้อมูลทราบว่า อาคารนี้เป็นการขออนุญาตก่อสร้างคอนโดจำนวน 35 ชั้น ซึ่งได้ขออนุญาตกับสำนักงานโยธาเมื่อเดือนเมษายน 2561 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานโยธาได้อนุญาตแล้ว หลังจากที่มีการก่อสร้างในวันที่ 23 มกราคม เวลา 12.50 น. ได้เกิดเหตุเครนถล่มลงมา นอกจากนี้ ทางรองผู้ว่า กทมฯได้รวบรวมเอกสารเพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับผู้รับเหมาก่อสร้างเนื่องจากเครนที่ติดตั้งในขั้นตอนดังกล่าวจะต้องมีการขออนุญาตติดตั้งเครนกับทางสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครและสำนักงานโยธา แต่กลับพบว่าไม่มีการขออนุญาตใดๆ จึงจะต้องดำเนินคดีในการติดตั้งเครนโดยไม่รับอนุญาต มีความผิดตาม พ.ร.บ. 2522 ซึ่งจะมีโทษทั้งทางอาญาและทางเปรียบเทียบปรับ

พอเกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาทบทวนกันหน่อยแล้ว คำถามคือระบบการก่อสร้างของเรามันแย่ หรือปัญหามันอยู่ตรงไหน จนท.เขต หรือผู้เกี่ยวข้องปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นซ้ำๆได้อย่างไร ถ้าคุณผู้ชมยังจำกันได้ ก่อนหน้านี้ไม่นาน ก็เกิดเหตุการณ์ตึกแถวรามคำแหงถล่ม ขณะนื้รื้องานก่อสร้าง แล้วมิหนำซ้ำการก่อสร้างเหล่านี้ ก็ยังเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบเรื่องของฝุ่น pm 2.5 อีกด้วย หากจะบูรณาการก็ต้องบูรณาการร่วมกัน ทั้งความปลอดภัย การก่อสร้างอาคารต่างๆ ตามมา

เมื่อวานนี้ทางวิศวกรรมสถานแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่เดินทางเข้าตรวจสอบในจุดเกิดเหตุเครนหักโคล่นและถล่มลงมาจนมีผู้เสียชีวิต 5 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้ใช้เวลาเข้าตรวจสอบประมาณ 1 ชั่วโมง   รศ.เอนก เปิดเผยว่า ในวันนี้ทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เดินทางมาตรวจสอบยังจุดเกิดเหตุพบว่ามีการติดตั้งเครนจำนวน 2 ตัว ซึ่งเครนที่เกิดเหตุนั้นพบว่าเป็นการพังถล่มลงมาของทาวเวอร์เครน ชนิดที่เรียกว่าเครนคอห่าน หรือ Gooseneck เป็นเครนที่ถือว่ามีความแข็งแรงมากกว่าเครนปกติ

 

อย่างไรก็ตาม จากสถิติอุบัติเหตุที่เกิดกับเครนทั้งหมด มักเกิดขึ้นในช่วงของขั้นตอนการติดตั้ง ถึงร้อยละ 95  แต่กลับไม่มีกฎหมายควบคุมบังคับให้มีวิศวกรคอยควบคุม  ขณะกำลังติดตั้ง ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ขณะนี้ วสท.กำลังเร่งรณรงค์และเปิดอบรมวิศวกร ให้มีความเชี่ยวชาญในการติดตั้งเครนให้มากขึ้น ส่วนอาคารที่กำลังก่อสร้างหลังจากนี้เจ้าของโครงการจะต้องให้วิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญตรวจสอบอีกครั้งว่าได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบต่อไป

ทั้งนี้หากเราไปดูข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจากเครนถล่มที่ผ่านมา พบว่ามีหลายเหตุการณ์พอสมควร ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2561 กับอุบัติเหตุเครนก่อสร้างคอนโดมิเนียมสูง ริมถนนเทพารักษ์ พังถล่ม เป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เนื่องจากมีการชำรุดเสียหาย ทำให้มีส่วนประกอบบางส่วนตกลงมาสู่พื้น

 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 กับเหตุการณ์อุปกรณ์ ทาวเวอร์เครนโรงแรมดังพัทยาชำรุดขณะติดตั้ง ร่วงจากยอดสูงตึก 5 ชั้น ทำให้คนงานเสียชีวิต 1 ราย  จากการตรวจสอบสภาพเครนพบว่าเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับการม้วนสายสลิง ตกลงมาพังด้านล่าง อุปกรณ์ก่อสร้างตกเกลื่อนพื้นกระจัดกระจาย รวมไปถึงนั่งร้านที่ตกลงมาพังกับพื้น 3 ตัว และติดคาที่เครนอีก 1 ตัว

 

30 สิงหาคม 2561 กับเหตุการณ์ เครนขนาดใหญ่ในไซต์งานก่อสร้างอาคารทรุด ล้มลงมาทับอาคารที่กำลังก่อสร้าง จุดเกิดเหตุ ใกล้กับแยกพระราม 9 ส่วนที่เกิดเหตุอยู่ภายในโครงสร้างคอนโดมิเนียมสูง 8 ชั้น ซึ่งในโครงการมีอาคารทั้งหมด 4 หลัง จุดเกิดเหตุอยู่อาคารที่ 2 ชั้นที่ 7 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย