กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพนานกว่า 6 ชั่วโมง เพื่อรอเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดำเนินการ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

จากกรณีโซเชียลแชร์ภาพและข้อความว่า นายนพดล สีทองคำ หรือน้าป้อม อายุ 55 ปี เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู แผนกเก็บศพ รหัสนคร71 นั่งเฝ้าศพนานกว่า 6 ชั่วโมง เพื่อรอเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดำเนินการ ต่อมาน้าป้อม​ ถูกย้ายเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในมูลนิธิร่วมกตัญญู สำนักงานใหญ่ จ.สมุทรปราการ จนมีกระแสโพสต์ให้กำลังใจในโซเชียล

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : จนท.กู้ภัยนั่งเฝ้าร่างหนึ่งชีวิตจมน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ดึกยันเช้า เพราะตร.4โรงพักเกี่ยงทำคดี??

 

 

กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

 

นายเอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ หัวหน้าอาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญู และผู้จัดการฝ่ายบุคคล เปิดว่า จริงๆ แล้วไม่ได้มีสอบสวนอย่างเป็นทางการ เพียงแค่พูดคุยสอบถามเกี่ยวกับภาพนั่งรอเจ้าหน้าที่ตำรวจ น้าป้อม ได้เล่ารายละเอียดทุกอย่างให้ฟังทั้งหมด เข้าใจคนทำงาน แต่สิ่งที่เป็นประเด็นคือ บุคคลที่นำภาพไปโพสต์ และบิดเบือนบางคำพูด ไม่รู้ว่ามีจุดประสงค์อะไร ดังนั้น สรุปได้ว่า นายนพดล หรือ น้าป้อม ไม่มีความผิด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

มูลนิธิร่วมกตัญญู ร่อนหนังสือแจงชัด หลังดราม่าถล่ม "น้าป้อม" กู้ภัยนั่งเฝ้าศพถูกสั่งเด้ง

บิ๊กแป๊ะ มาแล้ว ออกชี้แจงปม "น้าป้อม" กู้ภัยนั่งเฝ้าศพถูกสั่งเด้งฟ้าผ่า

เปิดใจ "น้าป้อม" กู้ภัยนั่งเฝ้าศพยันเช้า หลังโดนเด้งฟ้าผ่า กับการทำงานล่าสุด

 

กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

 

ด้าน นายนพดล สีทองคำ หรือ น้าป้อม อายุ 55 ปี เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู แผนกเก็บศพ รหัส71 กล่าวว่า ตอนแรกรู้สึกไม่สบายใจและกังวล หลังมีคำสั่งย้าย ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีทำงานในช่วงเวลากลางคืนมาโดยตลอด ช่วงแรกมีปัญหาเรื่องการปรับเวลานอนเล็กน้อย แต่ตอนนี้ไม่มีความกังวลและยอมรับต่อคำสั่งของคณะผู้บริหาร ความจริงก็ปรากฏ ต้องขอขอบคุณชาวโซเชียล

 

กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

 

ล่าสุดทางเพจเฟซบุ๊กล่าได้ออกมาแสดงความคิดเห้นในด้านกฎหมาย ปมเหตุน้าป้อมนั่งเฝ้าศพแท้จริงแล้วมาจากสาเหตุอะไร โดยระบุข้อความไว้ว่า...ตามกฎหมายให้ #ผู้อื่นซึ่งพบศพ ในที่นี้คือ ลุงป้อม นคร 71 จัดการดังนี้ (1) เก็บศพไว้ ณ ที่ซึ่งพบนั้นเองเพียงเท่าที่จะทำได้ น้าป้อมจะเคลื่อนย้ายศพไปไหนไม่ได้ จึงต้องเก็บ รักษาศพไว้เท่าที่จะทำได้ ก็คือ คลุมผ้าขาว เเละนั่งเฝ้านั่นเเหละ (2) ไปแจ้งความแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเร็วที่สุด น้าป้อม ก็เเจ้งเเล้วตามระบบ โดยเร็วที่สุดด้วย

 

กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

 

การที่ปรากฎภาพเจ้าหน้าที่รัฐ มาถ่ายรูปที่เกิดเหตุ ถามว่าน้าป้อมทิ้งศพ ไปได้ไหม ย่อมได้ หากเจ้าเจ้าหน้าที่รัฐยอมรับดูเเลศพนั้นต่อ ซึ่งเป็นหน้าที่เขาด้วย เเต่เขาไม่รับ น้าปัอมเลยต้องเฝ้าศพต่อ นี่ยังไม่พูดถึงพนักงานสอบสวนเเละเเพทย์ที่จะต้องมาชันสูตรเลย

 

กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

 

"รัฐวิช จิตสุจริตวงศ์" หัวหน้ากลุ่มงานสืบสวนสอบสวนคดีอาญา 1 /ส่วนการสอบสวนคดีอาญา / สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ได้เขียนเอาไว้ดังนี้ “ศพลอยน้ำ” ถือเป็นความตายผิดธรรมชาติ อันได้แก่ ฆ่าตัวตาย ถูกผู้อื่นทำให้ตาย ตายโดยอุบัติเหตุ หรือตายโดยยังมิปรากฏเหตุ เมื่อเกิดขึ้น ณ ที่ใด ให้เป็นหน้าที่ของสามีภริยา ญาติมิตรสหาย หรือผู้ปกครองของผู้ตาย หากยังไม่มีผู้ใดรู้เรื่องการตาย ให้ผู้อื่นซึ่งได้พบศพ จัดการ ดังนี้ (1) เก็บศพไว้ ณ ที่ซึ่งพบนั้นเองเพียงเท่าที่จะทำได้ (2) ไปแจ้งความแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเร็วที่สุด

 

กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

 

ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ย่อมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบโดยเร็วที่สุดเช่นกัน โดยในเรื่องเขตอำนาจการสอบสวนนั้น กรณีศพลอยน้ำ เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่พบ ถือว่าเกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ และเมื่อยังไม่รู้ตัวหรือจับผู้ต้องหายังไม่ได้ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ก็คือ พนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบนั้นเอง

 

กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

 

โดยพนักงานสอบสวนมีหน้าที่จะต้องเริ่มทำการสอบสวนโดยมิชักช้า และรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิด เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์

 

กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

 

ซึ่งในเรื่องการชันสูตรพลิกศพความตายผิดธรรมชาติ กฎหมายกำหนดให้จะต้องมีแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ร่วมทำการชันสูตรพลิกศพกับพนักงานสอบสวนด้วย โดยเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่ต้องแจ้งแก่ผู้มีหน้าที่ไปทำการชันสูตรพลิกศพทราบ ซึ่งในที่นี้ก็คือแพทย์ และก่อนการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้สามี ภริยา ผู้บุพการี หรือญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคนทราบ เท่าที่จะทำได้

 

กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

 

เช่นนี้ กรณีพบศพลอยน้ำ กฎหมาย (ป.วิ.อาญา) จึงกำหนดให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง ทั้งการชันสูตรพลิกศพและการสอบสวนเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุการตายที่แท้จริง รวมไปถึงคนร้ายที่ลงมือฆ่าผู้ตาย (ถ้ามี) นั่นเอง.

 

กางข้อกฎหมาย เหตุ "น้าป้อม" กู้ภัยต้องนั่งเฝ้าศพ และแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของใคร

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"น้าป้อม" ขอบคุณทุกกำลังใจ หลัง"ร่วมกตัญญู"เเถลงผลสอบสวน ไม่มีความผิด

"ร่วมกตัญญู"สรุปผลสอบ"น้าป้อม"นั่งเฝ้าศพแล้ว พร้อมกลับทำหน้าที่เดิมใน1-2 วัน

พยาบาลกู้ชีพ ยื่นหนังสือขอ บิ๊กโจ๊ก ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่กู้ภัย (น้าป้อม) กลับมาทำงานตามเดิม (คลิป)

"แทค ภรัณยู" เคลื่อนไหวกรณี "น้าป้อม" กู้ภัยเฝ้าศพถูกไล่ออก เสนองานให้-ชวนมาอยู่ด้วยกัน

 

ขอบคุณ : บิ๊กเกรียน / ล่า