ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อน"บริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 13

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือน ฉบับบที่ 13 "พายุฤดูร้อน" บริเวณประเทศไทยตอนบน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ

ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย โดยมีผลกระทบตามภาคต่างๆ มีดังนี้

 

วันที่ 18-19 มีนาคม 2562
ภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และหนองคาย
ภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี
ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว      


ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด


 

 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อน"บริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 13

 

ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 11.00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 23.00 น

 

ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกตอนบน โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ควรอยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับเกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย 

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่

 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อน"บริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 13

 

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 12:00 วันนี้ ถึง 12:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่  เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ 
อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ และนครราชสีมา 
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อน"บริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 13

 

ภาคกลาง อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

ภาคตะวันออก มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อน"บริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 13


 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อน"บริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 13

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

มาแน่ กรมอุตุฯ เตือนพายุฤดูร้อน ฉบับที่ 12 เข้าถล่ม 29 จังหวัดทั่วไทย

กรมอุตุฯ เตือนฉบับที่ 10 พายุฤดูร้อนถล่มไทยตอนบน ลูกเห็บตก ลมกระโชกแรง

กรมอุตุฯ เตือน 31 จังหวัด รับมือพายุฤดูร้อน

กรมอุตุฯ เตือนพายุฤดูร้อน เตรียมถล่ม 24 จังหวัด ฟ้าผ่า ลูกเห็บตก ลมกระโชกแรง

กรมอุตุฯ ฉบับ 7 ประกาศเตือน ทั่วไทยเจอพายุฤดูร้อน