21 มี.ค. 2562 วันวสันตวิษุวัต ที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน

21 มี.ค. 2562 วันวสันตวิษุวัต ที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาบนเฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับวันที่ 21 มีนาคม 2562 ซึ่งตรงกับวันที่เรียกว่า"วันวสันตวิษุวัต" โดยมีช่วงเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้

วันวสันตวิษุวัต

 

ทางเพจระบุข้อความไว้ดังต่อไปนี้

21 มีนาคม นี้ กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน #VernalEquinox

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผย 21 มีนาคม 2562 เป็นวัน “วสันตวิษุวัต” ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า วันที่ 21 มีนาคมนี้ เป็นวัน “วสันตวิษุวัต” (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน “วิษุวัต” (Equinox) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี 

 

ระบสุริยะ

 

แปลเป็นภาษาไทยว่า “ราตรีเสมอภาค” แต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี จึงมีช่วงเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้ สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06:22 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:28 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร)

 

21 มี.ค. 2562 วันวสันตวิษุวัต ที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน

 

นายศุภฤกษ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ในหนึ่งปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี โลกจึงมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ช่วงใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) และช่วงไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม (ระยะห่างเฉลี่ย 152 ล้านกิโลเมตร) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางใกล้-ไกล ในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก ไม่มีผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใด แต่การที่แกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศากับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกจึงรับแสงอาทิตย์ได้ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า ส่วนในฤดูหนาว เวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว

 

ตำแหน่งการตกของดวงอาทิตย์ในรอบปี

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

สถาบันดาราศาสตร์ ชี้เตรียมรับมือ "สภาพอากาศร้อนจัด" เนื่องจาก "ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก" !!! 1 ปี จะมีเพียง 2 วัน

ชาวบ้านแหงนมองท้องฟ้า โคตรผงะ ดวงอาทิตย์ 3 ดวงซ้อน หวั่นจะเกิดเหตุอาเพศ คุณพระช่วย ไขคำตอบร้องอ๋อทันที (คลิป)    
จีนสร้าง "“ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์" เก็บความร้อนได้สูงถึง 100 ล้านองศา

ขอบคุณ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page