บัณฑิตผู้พิการทางสายตา มุ่งมั่นเรียนจบป.ตรี 3ปีครึ่ง

เรื่องราวอันสุดประทับใจของ สุดยอดคนเก่ง บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย

 เรื่องราวอันสุดประทับใจของ สุดยอดคนเก่ง  คือรายของ นางสาวกมนนัทธ์ ศรีหะจันทร์ บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย ผู้พิการทางสายตาที่ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อความมืดมิดในชีวิต มุ่งมั่นตั้งใจจนประสบความสำเร็จ ใช้เวลาเรียน 3 ปีครึ่ง เป็นหนึ่งเดียวในพี่น้อง ที่ตาบอดและจบการศึกษาระดับปริญญาตรี


   โดย บัณฑิตกมนนัทธ์ เผยว่าภาคภูมิใจที่สามารถเรียนจบปริญญาตรีได้สำเร็จ และยังได้สร้างความปลื้มปิติให้กับครอบครัว ตนเคยเรียนคณะรัฐศาสตร์ โครงการธรรมศาสตร์ช้างเผือก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่เรียนได้เพียง 3 เทอมก็ดรอปเพราะรู้สึกไม่ใช่ทางของตัวเอง ออกไปทำงานและกลับมาเรียนอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะเห็นความสำคัญของการศึกษา ทุ่มเทให้กับการเรียนอย่างเต็มที่โดยไม่ยอมให้สายตาที่มองไม่เห็นมาเป็นอุปสรรคในชีวิต

 

นางสาวกมนนัทธ์ ศรีหะจันทร์ บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย ผู้พิการทางสายตา

 “เราตาบอดมาตั้งแต่กำเนิด เริ่มต้นจากการ ‘ไม่มี’ พอไม่มีมาตั้งแต่แรกก็เกิดความคุ้นชิน เน้นใช้ประสาทสัมผัสด้านอื่นแทน


ตนมองว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับคุณค่าชีวิตของคน ปัจจุบันตลาดแรงงานยังไม่เปิดกว้างให้ผู้พิการได้แสดงศักยภาพเท่าที่ควรนัก การศึกษาจึงเป็นสิ่งที่ช่วยการันตีศักยภาพและความสามารถของเราให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เริ่มจากเมล็ดพันธุ์ อดทน รอคอยเวลา จนเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงา

 

นางสาวกมนนัทธ์ ศรีหะจันทร์ ผู้พิการทางสายตา บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย

 

อยากเป็นกำลังใจให้เพื่อนนักศึกษา อย่าท้อ อย่ามองไกล ให้มองใกล้ๆ ตัวและคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ หากรู้สึกเหนื่อยหรือท้อใจขอให้มองคนที่ยังด้อยกว่าตน เขายังสู้ได้ เราก็ต้องสู้ได้เหมือนกัน

ปัจจุบัน บัณฑิตกมนนัทธ์ ทำงานเป็นคอลเซ็นเตอร์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เตรียมเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เป็นกรณีพิเศษ ในวันที่ 21 มีนาคม 2562 พร้อมวางแผนศึกษาต่อระดับปริญญาโท

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

บัณฑิตสาวตาพิการเล่าวินาที พระเทพฯเสด็จตรงหน้าพระราชทานปริญญากรณีพิเศษ

ยอดมหาบัณฑิต "น้องน้ำเพชร" คว้า ป.โท นิติศาสตร์ ทั้งที่อายุแค่เพียง 21 ปี

บัณฑิตป้ายแดงโพสต์รูปภาพกำลังใจสำคัญที่ทำให้ตั้งใจเรียนไม่เที่ยวเถลไถล!

 

 

ขอบคุณ

PR Ramkhamhaeng University