ชาวบ้านจ.แพร่นำตุ๊กตาคิตตี้มาแห่แทนนางแมวมีชีวิต

กลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวน่ารัก ๆ ที่ถุกแชร์กันในโซเชียลขณะนี้ สำหรับกรณีเมื่อผู้ใช้เฟซบุีกชื่อ "Nattapol Gakham" ได้โพสต์ภาพในประเพณีแห่นางแมว

กลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวน่ารัก ๆ ที่ถุกแชร์กันในโซเชียลขณะนี้ สำหรับกรณีเมื่อผู้ใช้เฟซบุีกชื่อ "Nattapol Gakham" ได้โพสต์ภาพในประเพณีแห่นางแมว แต่งานนี้การแห่นางแมวที่ไม่ธรรมดาเพราะไม่ได้ใช้แมวจริง แต่ได้นำตุ๊กตาคิตตี้มาแห่แทนแมวจริง พร้อมกับเขียนบรรยายว่า..."เมืองแพร่เขาแห่นางแมวกั๋นแบบนี้เน้อ น่าฮักแต้ว่า โอมฝนจงฮรรมลงมาฝนฮรรมลงมา เหตุเกิดที่ อ.ลอง จ.แพร่" (เมืองแพร่เขาแห่นางแมวกันแบบนี้นะ น่ารักมาก โอมฝนจงตกลงมา ฝนตกลงมา เหตุเกิดที่ อ.ลอง จ.แพร่)

 

เมืองแพร่ แห่นางแมว

 

ทั้งนี้ ประเพณีแห่นางแมว จะนิยมจัดขึ้นในปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูการหรือฝนแล้ง เพื่ออ้อนวอนขอให้ฝนตกลงมาให้ชาวบ้านสามารถทำไร่ทำสวนได้ สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมวนั้น คนไทยมีความเชื่อว่าฝนตกลงมาเพราะเทวดา เมื่อฝนไม่ตกจึงต้องทำพิธีขอฝนกับเทวดา แต่บางความเชื่อกล่าวว่าเมื่อแผ่นดินแห้งแล้ง สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มีควันและละอองเขม่าควันจะต้องขอน้ำจากเทวดามาช่วยล้างเพราะน้ำฝนเป็นน้ำของเทวดา เนื่องจาก เทโว แปลว่า ฝน นั่นเอง 

 

ประเพณีแห่นางแมว ใช้คิตตี้ แทนแมวจริง


 

ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับแมวนั้น คนไทยเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อนำมาทำพิธีแล้วจะช่วยเรียกฝนให้ตกลงมาได้ หรือถ้าเป็นความเชื่อของชาวอีสานจะมีความเชื่อว่าเมื่อฝนไม่ตกให้ใช้สัตว์ที่มีสีเดียวกับเมฆเรียกฝน จะทำให้ฝนตกลงมาได้เช่นกันและสัตว์ประเภทเดียวที่มีสีเมฆคือแมวสีสวาท

 

แห่คิตตี้ ในประเพณีแห่นางแมว

 

โดยวิธีคือ จับแมวมาใส่ "ตะข้อง" แล้วพากันแห่ตระเวนไปทั่วหมู่บ้าน ในขบวนแห่มีคนตีกลอง ตีกรับ ตีฆ้อง หรือตีฉิ่ง และจะร่วมกันร้องเพลงแห่นางแมว โดยมีคำร้องสั้น ๆ ง่าย ๆ แต่สัมผัสคล้องจองกันดังนี้

 

ชาวบ้านจ.แพร่นำตุ๊กตาคิตตี้มาแห่แทนนางแมวมีชีวิต

 

"นางแมวเอย มาร้องแจ้วแจ้ว

นางแมวขอไก่ ขอไม่ได้ ร้องไห้ขอฝน

ขอน้ำมนต์รดแมวข้าที

มีแก้วนัยน์ตา ออกมาเดือนหก ฝนตกทุกที

มาปีนี้ไม่มีฝนเลย

พ่อตาลูกเขย นอนก่ายหน้าผาก

พ่อหม้ายลูกมาก มันยากเพราะข้าว

คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าหัวห้อย

พาเด็กน้อย มาเล่นนางแมว

มาร้องแจ้วฝนก็เทลงมา ฝนก็เทลงมา"

 

ชาวบ้านจ.แพร่นำตุ๊กตาคิตตี้มาแห่แทนนางแมวมีชีวิต

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

บึงกาฬ งานไหลสงกรานต์!! งานประเพณีสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่ส่งท้ายสงกรานต์คึกคัก

ชาวแสงภาแห่ดอกไม้ใหญ่ ประเพณีเก่าแก่ 470 ปี นักท่องเที่ยวเข้าชมแน่นวัด (มีคลิป)

บางเขนสืบสานประเพณี รดน้ำดำหัว-เทพีสงกรานต์ผู้สูงอายุ

 

ขอบคุณ : Nattapol Gakham