เปิดเงื่อนไขใครเข้าข่ายได้ - ไม่ได้ รับพระราชทานอภัยโทษ หลังประกาศราชกิจจาฯ

จากกรณีวันนี้( 3 พ.ค. 62) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มีใจความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ

จากกรณีวันนี้( 3 พ.ค. 62)  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มีใจความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ 
 

เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒  เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ

 

 


ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป

 

เปิดเงื่อนไขใครเข้าข่ายได้ - ไม่ได้ รับพระราชทานอภัยโทษ หลังประกาศราชกิจจาฯ


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ราชกิจจาฯประกาศพระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
 

สำหรับผู้ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ ต้องมีตัวอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนดในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ 

 

 

 


เว้นแต่ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ และผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ  ทั้งนี้ ผู้ต้องโทษที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป ได้แก่ 1.ผู้ต้องกักขัง 2.ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ 3.ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ โดยกรณีผู้ต้องกักขังซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด และยังไม่ได้รับโทษกักขังแทนโทษจำคุก หรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป  

 

เปิดเงื่อนไขใครเข้าข่ายได้ - ไม่ได้ รับพระราชทานอภัยโทษ หลังประกาศราชกิจจาฯ


ส่วนนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป คือ 1.ผู้ต้องโทษจำคุก ไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ซึ่งมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ 2.ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ได้แก่ เป็นคนพิการทุพพลภาพที่มีลักษณะอันเห็นได้ชัด, เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน โรคไตวายเรื้อรัง หรือโรคจิตซึ่งทางราชการได้ทำการรักษามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน 

 

 

 


ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และแพทย์ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่สามารถจะรักษาในเรือนจำให้หายได้, เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายหรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) ระยะสุดท้าย, เป็นหญิงซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ, เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกิน 3 ปี

 

 


นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หรือเป็นคนมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป, เป็นผู้ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และมีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ, เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม และต้องได้รับต่อไปโทษเหลืออยู่ไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

 

 


สำหรับนักโทษเด็ดขาดที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ คือ 1.นักโทษเด็ดขาดที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษประหารชีวิตที่เคยได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว 2.ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกิน 8 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ภายหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2559 ใช้บังคับในความผิดฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออก หรือผลิต นำเข้า หรือส่งออกเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ 

 

เปิดเงื่อนไขใครเข้าข่ายได้ - ไม่ได้ รับพระราชทานอภัยโทษ หลังประกาศราชกิจจาฯ

 

กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท, ผู้กระทำความผิดซ้ำ และไม่ใช่นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม, นักโทษเด็ดขาดชั้นเลวหรือชั้นเลวมาก, นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษในความผิดตามมาตรา 276 วรรคสาม มาตรา 277 มาตรา 277 ทวิ มาตรา 277 ตรี มาตรา 280 มาตรา 285 และมาตรา 343 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ส่วนนักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษประหารชีวิต ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษลงเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต

 

 

 

นักโทษเด็ดขาดซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว และนักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ และจะพ้นโทษในคราวเดียวกันตามพระราชกฤษฎีกานี้ จะต้องผ่านหรือเคยผ่านการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตามที่กรมราชทัณฑ์หรือกระทรวงกลาโหมกำหนด

 

 

ทั้งนี้มีรายงานว่า มีผู้ที่เข้าข่ายได้รับอภัยโทษเป็นจำนวนมาก ที่น่าสนใจ อาทิ  6 แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ พธม. ได้แก่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อายุ 83 ปี, นายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 70 ปี, นายพิภพธงไชย อายุ 72 ปี, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อายุ 68 ปี, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข อายุ 72 ปี และนายสุริยะใส กตะศิลา อายุ 45 ปี คดียึดทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551 ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก เป็นเวลา  8 เดือน เมื่อวันที่ 13 กพ.2562  แต่สำหรับ นายสนธิ ยังคงถูกคุมขัง เนื่องจากยังต้องโทษในคดีอื่นอยู่

เปิดเงื่อนไขใครเข้าข่ายได้ - ไม่ได้ รับพระราชทานอภัยโทษ หลังประกาศราชกิจจาฯ