ดร.ธรณ์ วอนนักท่องเที่ยว หยุดทำร้ายปะการังฟอกขาวด้วยการเหยียบ

ดร.ธรณ์ วอนผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวมีจิตสำนึก ช่วยกันดูและรักษาท้องทะเลไทย หลังพบภาพประการังฟอกขาวและมีนักดำน้ำไปเหยียบด้านบนซ้ำ ย้ำเสี่ยงปะการังที่บอบช้ำจะตาย

วันนี้ (20 พ.ค.) เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาเตือนผู้ประกอบการท่องเที่ยว หรือนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบทะเลไทย วอนอย่าเหยียบลงไปบนปะการังที่กำลังฟอกขาว เพราะยังไม่มาตรการเอาผิดทางกฎหมาย แต่ปะการังกำลังบอบช้ำจากการฟอกขาวถ้าถูกซ้ำเติมได้อีก จากการท่องเที่ยวที่ไร้สำนึก รวมถึงการให้อาหารปลาเสี่ยงทำให้ระบบนิเวศล่มสลายหนัก ย้ำอย่าเหยียบปะการัง อย่าให้อาหารปลา อย่าทิ้งสมอในแนวปะการัง

 

ดร.ธรณ์ วอนนักท่องเที่ยว หยุดทำร้ายปะการังฟอกขาวด้วยการเหยียบ

 

ซึ่งได้โพสต์ข้อความไว้ว่า "ภาพเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในทะเลไทย ในยามที่ปะการังบอบช้ำจากการฟอกขาว กลับถูกซ้ำเติมจากการท่องเที่ยวไร้สำนึก รวมถึงการให้อาหารปลาที่ทำให้ระบบนิเวศล่มสลายหนักขึ้น นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมต้องมีมาตรการต่างๆ เช่น ใช้กฎหมายควบคุมการท่องเที่ยว ฯลฯ แม้ยังไม่มีมาตรการเหล่านั้นสำหรับสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในตอนนี้ แต่ถ้าเราไม่ช่วยกันดูแลทะเลที่กำลังป่วย ก็คงต้องใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ช่วย

 

ดร.ธรณ์ วอนนักท่องเที่ยว หยุดทำร้ายปะการังฟอกขาวด้วยการเหยียบ

 

ซึ่งแน่นอนว่า อาจส่งผลกระทบต่อการทำมาหากินและการท่องเที่ยว แต่ถ้าไม่ทำเช่นนั้น แล้วจะไปกันทางไหน ? ยังมั่นใจว่า ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวดีๆ มีอยู่เต็มทะเล พวกเขาพวกเธอช่วยกันเป็นหูเป็นตา เช่นภาพนี้ที่เพิ่งส่งมาจากเพื่อนธรณ์จากแนวปะการังแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก หวังว่าคนรักทะเลทุกคนจะช่วยกันดูแล ช่วยกันเตือน ช่วยกันบอกคนที่คงยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อย่าเหยียบปะการัง อย่าให้อาหารปลา อย่าทิ้งสมอในแนวปะการัง ฯลฯ บอกเขาบอกเธอดังๆ ว่า ช่วยกรุณาสงสารทะเลไทยบ้างนะครับ"
 

ดร.ธรณ์ วอนนักท่องเที่ยว หยุดทำร้ายปะการังฟอกขาวด้วยการเหยียบ

 

อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ก่อให้เกิด ปรากฏการณ์แนวปะการัง ฟอกขาว เป็นวงกว้างทั่วโลก มักเกิดจากการที่ อุณหภูมิน้ำทะเล เพิ่มสูงขึ้น, ผลจากความเข้มแสง หรือสองปัจจัยนี้ร่วมกัน ในขณะที่ สาเหตุอื่นๆ มักทำให้เกิด การฟอกขาวของปะการัง เฉพาะพื้นที่เท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ ได้สังเกตพบว่า โดยทั่วไป ปะการัง จะสามารถปรับตัว ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมที่มันอาศัย โดยจะคงสภาพอยู่ได้ถึง ระดับ อุณหภูมิสูงสุด ตามภาวะปรกติ แต่ปะการังจะฟอกขาว หากอุณหภูมิ ขึ้นสูงกว่าระดับสูงสุด จากที่เคยเป็นเพียง ๑ เซลเซียสเท่านั้น สมมุติเช่น อุณหภูมิสูงสุดในอ่าวไทย ตามปรกติอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส หากปีใด อุณหภูมิในอ่าวไทยสูงเกินกว่า 31 องศาเซลเซียส โอกาสที่ ปะการัง จะฟอกขาว ก็ย่อมเกิดขึ้นได้

 

ดร.ธรณ์ วอนนักท่องเที่ยว หยุดทำร้ายปะการังฟอกขาวด้วยการเหยียบ

.

ดร.ธรณ์ วอนนักท่องเที่ยว หยุดทำร้ายปะการังฟอกขาวด้วยการเหยียบ

 

ขอบคุณ Thon Thamrongnawasawat