มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผย 6 ร้านสายไหมในอยุธยายังตกมาตรฐานซ้ำ พบสารกันบูดเกิน 1,000 มก.

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตรวจสารกันบูดในโรตีสายไหมอยุธยาซ้ำรอบสอง พบร้านเดิมยังตกมาตรฐานซ้ำ สารกันบูดเกิน 1,000 มก./กก. ถึง 6 ร้านจาก 13 ร้าน พบสูงสุดถึง 3,000 มก./กก. จี้หน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินการ ห่วงขายใน กทม.อาจเสี่ยงมากกว่า

วันนี้ (29 พ.ค.) น.ส.ทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้ากองบรรณาธิการ นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดผลทดสอบสารกันบูดในโรตีสายไหม รอบ 2 ว่า จากการสุ่มเก็บตัวอย่างโรตีสายไหม ครั้งแรกเมื่อมี.ค. 2561 พบสารกันบูดกรดเบนโซอิก เกินมาตรฐาน 4 ร้านจาก 10 ร้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ต่อมาหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น สำนักงานสาธารณาสุขจังหวัด (สสจ.) ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้ผู้ประกอบการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ.2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม (มก.) ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม (กก.) และฉบับเพิ่มเติมที่ 389 พ.ศ.2561 ก่อนระบุว่า ทุกร้านมีความปลอดภัย จึงเก็บตัวอย่าง 13 ร้านโรตีสายไหม เพื่อเทียบกับผลสุ่มตรวจครั้งแรก พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างจากร้านเดิม พบว่า ร้านที่เคยตกมาตรฐานครั้งแรก ยังคงตกมาตรฐานซ้ำ 

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผย 6 ร้านสายไหมในอยุธยายังตกมาตรฐานซ้ำ พบสารกันบูดเกิน 1,000 มก.

 

น.ส.ทัศนีย์ กล่าวว่า ผลการตรวจสอบ 13 ตัวอย่างครั้งนี้ พบโรตีสายไหม 6 ตัวอย่างมีปริมาณสารกันบูด ประเภทกรดเบนโซอิกเกิน 1,000 มก. ได้แก่ ร้านเรือนไทย 1,024.60 มก./กก. ร้านไคโร น้องชายบังอิมรอน 1,114.79 มก./กก. ร้านบังหมัด 1,251.81 มก./กก. ร้านวริศรา โรตีสายไหม 1,442.81 มก./กก. ร้านบังเปีย อามีนะห์ แสงอรุณ 1,590.67 มก./กก.และร้านแม่ชูศรี 3,281 มก./กก. ส่วน 7 ตัวอย่างไม่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ ร้านอาบีดีน+ประนอม แสงอรุณ 19.87 มก./กก. ร้านวรรณพร 526.67 มก./กก. ร้านจ๊ะโอ๋ 574.58 มก./กก. ร้านเอกชัย (B.AEK) 575.34 มก./กก. ร้านประวีร์วัณณ์ 620.87 มก./กก. ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอรุณ เจ้าเก่า 751.19 มก./กก. และร้านแกรนด์ โรตีสายไหม (โรตี ล้อเล็ก) 867.70 มก./กก.

 

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผย 6 ร้านสายไหมในอยุธยายังตกมาตรฐานซ้ำ พบสารกันบูดเกิน 1,000 มก.

.

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผย 6 ร้านสายไหมในอยุธยายังตกมาตรฐานซ้ำ พบสารกันบูดเกิน 1,000 มก.

ส่วนปริมาณสีอาหารสังเคราะห์ที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ.2559 อนุญาตให้ใช้ตาร์ตราซีน ได้สูงสุดไม่เกิน 50 มก./กก.สำหรับอาหารในกลุ่มขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลักนั้น พบมีแผ่นแป้งโรตี 2 ตัวอย่างเกินมาตรฐาน ได้แก่ ร้านวรรณพร 59.76 มก./กก.และร้านประวีร์วัณณ์ 57.41 มก./กก. ทั้งนี้ ทางมูลนิธิจึงขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบลงพื้นที่สุ่มตรวจโรตีสายไหมที่วางจำหน่ายในพื้นที่ พร้อมให้ดำเนินการตามกฎหมายกับร้านที่ใช้สารกันบูดหรือสีผสมอาหารสังเคราะห์เกินปริมาณกำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อสร้างความปลอดภัยของอาหารให้กับผู้บริโภค รวมถึงจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้วัตถุเจือปนทางอาหารให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า เพื่อให้ใช้วัตถุเจือปนอาหารได้ถูกต้อง เช่น การใช้เครื่องมือชั่ง ตวง วัด เป็นต้น 

 

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผย 6 ร้านสายไหมในอยุธยายังตกมาตรฐานซ้ำ พบสารกันบูดเกิน 1,000 มก.

 

ภก.สันติ โฉมยงค์ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า สำหรับการสุ่มเก็บตัวอย่าง 13 ตัวอย่างเป็นการเก็บตัวอย่างในช่วงเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงมากที่สุดเนื่องจากผู้ประกอบการนิยมนำสินค้าที่จำหน่ายไม่หมดออกจำหน่ายในวันถัดมาและพบว่ามักใส่สารกันบูดปริมาณมาก ประกอบกับปัจจุบันผู้ประกอบการนิยมใส่สารกันบูดในปริมาณมากขึ้นด้วย ดังนั้น จึงขอแนะนำผู้บริโภคเลือกซื้อโรตีสายไหม โดยสังเกตเส้นสายไหมและแผ่นแป้งที่มีสีไม่เข้มจัด เพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภคสีผสมอาหารสังเคราะห์และควรบริโภคในปริมาณเหมาะสม เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับสารกันบูดมากเกินไป โดยเฉพาะในเด็กที่นิยมบริโภคในปริมาณมากหรือคนทั่วไป บางคนหากร่างกายมีการตอบสนองสารเหล่านี้ไว จะเกิดอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อาจทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง และอาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงช็อกเฉียบพลัน หายใตไม่ออก หรือเป็นลมหมดสติได้ 

 

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผย 6 ร้านสายไหมในอยุธยายังตกมาตรฐานซ้ำ พบสารกันบูดเกิน 1,000 มก.

 

“ร้านที่ขายดี หรือร้านที่ผู้คนนิยมซื้อกันมาก จะพบสารกันบูดในปริมาณน้อยกว่าร้านที่อยู่ในตรอกซอยลึกๆ ซึ่งการใส่สารกันบูดอาจจะสัมพันธ์กับปริมาณที่จำหน่ายในแต่ละวันด้วย ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าร้านส่วนใหญ่จะนำแป้งที่นวดมาแล้วและสายไหมมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอาจมีความเสี่ยงใส่สารกันบูดมากกว่า โดยการซื้อโรตีสายไหม ประชาชนควรเลือกซื้อสินค้าสดใหม่ ควรจะเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติไม่เกิน 2-3 วัน หากเกินกว่านั้นไม่แนะนำให้รับประทาน พร้อมให้สังเกตสีของสายไหมและแป้งผิดปกติหรือไม่ หากมีสีเข้มเกินไปสันนิษฐานได้ว่าอาจมีการปริมาณสารกันบูดมาก หรือหากขึ้นราก็ไม่ควรเลือกซื้อ รวมถึงดูความสะอาดของร้านค้าต้องมีความน่าเชื่อถือ ผู้ค้าแต่งกาย สวมใส่เสื้อผ้าสะอาดถูกลักษณะอนามัยหรือไม่” ภก.สันติ กล่าว

 

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผย 6 ร้านสายไหมในอยุธยายังตกมาตรฐานซ้ำ พบสารกันบูดเกิน 1,000 มก.

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ตั้งค่าหัวนักโทษชาย แต่งชุดผู้ป่วย หนีออกจาก รพ.

โหรฟองสนาน ทำนายดวงชะตาเศรษฐีสี่โหงวลัก คนเกิดมามีแนวโน้มมีเงิน ร่ำรวย

หนูน้อยกำลังแข่งขันฟุตบอล เจอดนตรีมันส์ เลยขอออกสเต็ปแดนซ์

หนุ่มชุดข้าราชการลงมากระโดดใส่เก๋งคันหน้าก่อนวิ่งขึ้นรถรีบขับหนี (คลิป)