โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว

โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ถูกแชร์และเป็นกระแสโด่งดังไปชั่วข้ามคืน เกี่ยวกับกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Preaw Plearnplearn ได้โพสต์ข้อความ เมื่อเธอเกิดความสงสัยเกี่ยวกับสิ่งใกล้ตัวอย่าง ฉลากซอสหอยนางรมตราแม่ครัว โดยข้องใจว่าฉลากซอสหอยนางรม มีแม่ครัวถือขวดซอสกี่ชั้น? เธอจึงเอาความข้องใจนั้นมาถามตอบในโลกโซเชียลซะเลย 
 

โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว

 

ซึ่งคำถามของเธอมีอยู่ว่า

“สงสัยมานานละว่าที่ฉลากข้างขวดซอสหอยนางรมตราแม่ครัวจะเป็นรูปแม่ครัวถือซอสตราแม่ครัว แล้วขวดซอสที่แม่ครัวถือก็เป็นรูปแม่ครัวถือซอสตราแม่ครัว แล้วขวดซอสของขวดซอสที่แม่ครัวถือก็เป็นรูปแม่ครัวถือซอสตราแม่ครัว…

สงสัยมาตั้งแต่ 5 ขวบ จนตอนนี้ 26 ขวบ วิเคราะห์ไม่ตกจริงๆ ว่าขวดๆ นึงมีแม่ครัวซ้อนในขวดของในขวดของในขวดของในขวดของในขวด….กี่คน”

 

โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว

 

เมื่อโพสต์นี้ถูกแชร์ออกไป ดันเกิดคำถามใหม่ที่น่าสนใจขึ้นมาอีกว่า แล้วผู้หญิงที่ถือขวดซอสตราแม่ครัวในโลโก้อันนี้ เป็นใครกัน สร้างความอยากรู้อยากเห็นให้กับชาวโซเชียลเป็นอย่างมาก ซึ่งวันนี้เรามีคำตอบมาให้ได้รู้กันแล้ว

 

โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว

 

เชื่อว่า “ภาพหญิงวัยกลางคนใส่เสื้อสีแดง คลุมทับด้วยผ้ากันเปื้อนสีขาวยืนปรุงอาหาร” เป็นที่คุ้นตาของคนไทย มาไม่น้อยกว่า 30 ปีแล้ว เพราะนี่ คือโลโก้สินค้า ที่สร้างการจดจำของ ซอสหอยนางรมตราแม่ครัว และเครื่องปรุงรสต่างๆในกลุ่มตราแม่ครัวฉลากทอง

 

โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว

 

โดยได้คำตอบจากทาง บริษัท ตราแม่ครัว จำกัด ดังนี้ว่า แท้จริงแล้วหญิงวัยกลางคนใส่เสื้อสีแดง คลุมทับด้วยผ้ากันเปื้อนสีขาว ถือขวดซอสยืนปรุงอาหารในโลโก้นั้น คือ คุณแม่ง้วย กาญจนวิสิษฐผล ผู้คิดค้นสูตรต้นกำเนิดซอสหอยนางรมและผู้ก่อตั้งบริษัท ตราแม่ครัว จำกัด เจ้าของสินค้าตราแม่ครัว และแม่ครัวฉลากทอง

 

โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว

 

ซึ่งประธานกรรมการบริษัท ณ ขณะนี้ก็คือ “คุณเศรษฐี กาญจนวิสิษฐผล” ผู้บริหารรุ่นที่สอง ที่รับหน้าที่สืบทอดงานจากรุ่นคุณพ่อคุณแม่ (คุณพ่อสถิตย์ – คุณแม่ง้วย กาญจนวิสิษฐผล) 

 

โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว


และวันนี้มีข้อมูลมาให้ได้หายสงสัยกันด้วยว่า ต้นกำเนิดของซอสหอยนางรมเกิดมาได้อย่างไร ทำไมถึงเป็นซอสหอยนางรม และประวัติการก่อตั้งบริษัท ซึ่งเป็นข้อมูลจากทางบริษัท ตราแม่ครัว จำกัด โดยตรง 

คุณเศรษฐีเล่าถึงครอบครัวว่า “ผมเติบโตที่จังหวัดชลบุรีบ้านที่มีลูก 8 คน ทุกคนต้องช่วยกันทำงาน แม่เปิดร้านขาย อาหารทะเลแห้งและมีหอยนางรมสด ซึ่งเป็นงานที่ทำมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ ผมกับพี่น้องผู้ชายมีหน้าที่ออกเรือเพื่อที่จะไปทุบหอยนางรมมาให้กลุ่ม ผู้หญิงแกะขายสดๆ หน้าร้าน ซึ่งบางครั้งเราก็ขายของที่ได้มาไม่หมด จึงต้องคิดค้นวิธีถนอมอาหารซึ่งส่วนใหญ่จะเอาไปดอง แต่เมื่อของมันเยอะ คุณพ่อก็คิดว่าจะดัดแปลงหอยนางรมให้กลายเป็นเครื่องปรุงเหมือนกับซีอิ๊ว จึงลองนำไปกวน จากนั้นก็พัฒนาสูตรและกรรมวิธีมาเรื่อยๆ จน กลายเป็นซอสหอยนางรมและใช้ชื่อตราแม่ครัวจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าแรกของประเทศไทย”

 

โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว

 

จากที่เคยคิดแค่เพียงต้องการถนอมอาหาร กลับกลายเป็นเกิดสินค้าใหม่ พื้นที่แกะหอยนางรมสดในบ้านถูกแบ่งไว้สำหรับขายซอสเพิ่ม เติม มีโรงงานขนาดย่อมอยู่หลังหนึ่งชื่อ “จิ้วฮวด” ซึ่งหมายถึง เจริญทันทีทันใด

“เนื่องจากซอสหอยนางรมเป็นสินค้าใหม่ ช่วงแรกๆ จึงขายดีมาก กลายเป็นของที่ต้องมีติดบ้านเช่นเดียวกันน้ำปลา เราเริ่มต้นจากขาย ให้ร้านอาหารละแวกบ้านก่อน เพราะแถบชลบุรีมีร้านอาหารใหญ่ๆ อยู่มากจึงทำให้คนรู้จักเราอย่างรวดเร็ว ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นลูกค้าเดิม ของคุณแม่ และโชคดีชั้นที่สองก็คือ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ท่านซื้อไปทดลองรับประทาน และนำไปเขียนลงในหนังสือ ฟ้าเมืองไทย ในขณะนั้น พร้อมให้เครื่องหมายเชลล์ชวนชิม ซอสของเราจึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง”

 

โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว

 

เมื่อถามถึงที่มาของเครื่องหมายการค้าที่แสนจะคุ้นเคย ก็ได้คำตอบว่า “เราตั้งโรงงานในปี 2519 เป็นแหล่งผลิต แล้วขายผ่านตัวแทน จำหน่ายดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีโลโก้ยี่ห้อของตัวเอง เราพยายามหาสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อให้คนจำได้ สรุปว่าคุณแม่ที่ขายของอยู่หน้าร้านนี่แหละ คือสัญลักษณ์ของเรา จึงตกลงกันว่าจะใช้ภาพของคุณแม่เป็นตราสินค้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา”

 

โฉมหน้า ผู้หญิงบนขวด ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว

 

ในปี 2525 ครอบครัวกาญจนวิสิษฐผลตัดสินใจเปิดบริษัทจำหน่ายผลิตภันฑ์ บริษัทจิ้วฮวด จำกัด และบริษัทชลบุรี ตราแม่ครัว ฉลากทองจำกัด ภายใต้ชื่อผลิตภันฑ์ 

“ตราแม่ครัว” “ตราฉลากทอง” และ “ตราแม่ครัวฉลากทอง” โดยผลิตสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้แก่ซอสพริก ซอสปรุงรส แป้งทอดกรอบ และน้ำส้มสายชู รวมทั้งได้ขยายกิจการเปิดโรงงานทำน้ำปลาและซีอิ๊วขาว