หนูน้อยวัย 3 ขวบ หวิดตาปอดเพราะฟันผุ

เตือนผู้ปกครองอย่างมองข้ามเรื่องฟันผุของลูกๆ หลังผอ.รพ.สิชล โพสต์เคสตัวอย่าง หนูน้อยวัย 3 ขวบ หวิดตาบอดเพราะติดเชื้อรุนแรง

ทุกคนคงรู้จักดีกับโรคฟันผุหรือบ้างก็เรียกว่า "แมงกินฟัน", "ฟันเป็นแมง", "ฟันเป็นรู" หรือ "ฟันเป็นโพรง" เป็นโรคที่พบได้บ่อยประมาณ 80% ของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่ชอบกินของหวานหรือน้ำตาลและไม่ได้แปรงฟันให้สะอาด สถานการณ์ฟันผุของคนไทยค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะจากการสำรวจคุณภาพช่องปากของคนไทยเมื่อปี พ.ศ.2550 พบว่าเด็กอายุ 3 ขวบ ประมาณ 66% ฟันเริ่มผุแล้ว คือฟันน้ำนมยังขึ้นมาไม่นานก็เริ่มผุ จากนั้นพอเริ่มโตขึ้นอายุได้ประมาณ 5-6 ขวบ จะพบฟันผุได้มากขึ้นเป็น 82% แต่พอเริ่มโตขึ้นมาหน่อยหรืออยู่ในช่วงวัยรุ่น จำนวนผู้ที่เป็นโรคฟันผุจะลดน้อยลงอย่างมาก เพราะในวัยนี้จะเริ่มมีการใส่ใจไปพบหมอฟันหรือเพื่อดัดฟัน จึงทำให้ใกล้ชิดกับหมอมากขึ้น 
 

หนูน้อยวัย 3 ขวบ หวิดตาปอดเพราะฟันผุ

 

ซึ่งล่าสุดได้มีเฟชบุ๊ก "Arak Wongworachat" ผอ.โรงพยาบาลสิชล อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ได้โพสต์ข้อความเอาไว้ว่า

 

หนูน้อยวัย 3 ขวบ หวิดตาปอดเพราะฟันผุ

 

"#ฟันผุติดเชื้อรุนแรงหนองขึ้นตาหวิดบอด #ฟันผุอย่ามองข้าม  ผู้ป่วยเด็กชายอายุ3ขวบเศษ มาด้วยเป็นไข้ ปวดตาซ้าย ตาบวมแดงมาก ตาปิด มองเห็นรางๆ ตรวจในช่องปาก ฟันน้ำนมผุทั้งปาก  มารดา ญาติ ชอบหาอมยิ้มให้เด็กดูด จะได้ไม่ร้องกวน ไม่ค่อยได้แปรงฟัน ไม่ได้เข้าโรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็กเล็ก  เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ใบหน้า พบมีหนองในไซนัสและเบ้าตา รากฟันบน ต้องผ่าตัดถอนฟันทั้งปากที่ผุ ระบายหนองออก ให้ยาต้านเชื้อทางเส้นเลือดอยู่หลายวัน"
 

หนูน้อยวัย 3 ขวบ หวิดตาปอดเพราะฟันผุ

หนูน้อยวัย 3 ขวบ หวิดตาปอดเพราะฟันผุ

การป้องกันการเกิดฟันผุมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง เช่น ในเด็กเล็ก หรือผู้ที่มีภาวะปากแห้งจากน้ำลายน้อย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราสามารถป้องกันฟันผุได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ในคนทั่วไปเราสามารถป้องกันฟันผุด้วยตนเองได้ โดยการหมั่นสังเกตมองฟันด้วยตาเปล่า เพื่อตรวจหาบริเวณที่ผิวฟันเป็นรู ผิวฟันมีการเปลี่ยนเป็นสีดำ ร่วมกับการมีอาการปวดฟัน

 

หนูน้อยวัย 3 ขวบ หวิดตาปอดเพราะฟันผุ

 

- รับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล (คาร์โบไฮเดรต) ให้น้อยลง โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้งอย่างเช่นมันฝรั่งทอด ของขบเคี้ยว ถึงแม้จะไม่มีน้ำตาล แต่ก็เป็นบ่อเกิดทำให้เกิดฟันผุได้เช่นกัน ถ้าเปรียบเทียบกับช็อกโกแลตแล้ว มันฝรั่งยังอาจทำให้ฟันผุได้ง่ายกว่าอีกด้วย เพราะบางคนเคี้ยวเพลิน โดยคิดไปเองว่าเค็ม ๆ กรอบ ๆ ไม่มีน้ำตาล ไม่น่าจะทำให้ฟันผุ แต่ความจริงแล้วตรงกันข้ามเลย
- หลีกเลี่ยงหรือลดความถี่ของการอมหรือจิบของกินที่มีน้ำตาล รวมถึงขนมหวานที่เหนียวหนึบติดฟันได้ง่าย เช่น ลูกอม ทอฟฟี่ น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำหวาน น้ำผลไม้ นม ของหวาน ผลไม้อบแห้ง เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันอยู่ในสภาวะที่เป็นกรดเป็นเวลานาน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้ลองใช้วิธีหาอาหารชนิดอื่นที่มีฤทธิ์เป็นด่างมาละลายฤทธิ์เป็นกรด เช่น ทานช็อกโกแลตที่มีถั่วหรืออัลมอนด์เป็นส่วนผสมแทนการทานช็อกโกแลตเพียงอย่างเดียว หรือทานก๋วยเตี๋ยวก็ใส่น้ำตาลแค่ 1 ช้อน ในก๋วยเตี๋ยวจะมีหมู ไก่ หรือปลา ซึ่งเป็นด่างที่ช่วยลดความเป็นกรด มีถั่วงอกหรือผักบุ้งที่ช่วยขัดฟันและมีน้ำที่ช่วยเจือจางความเป็นกรด เป็นต้น
พยายามรับประทานอาหารเฉพาะมื้อหลักแทนการรับประทานอาหารว่างบ่อย ๆ เพื่อช่วยลดจำนวนครั้งที่ฟันจะผลิตกรดที่ย่อยอาหารออกมา
- แปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งในตอนเช้าและก่อนนอน หรือถ้าเป็นไปได้แปรงทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร ซึ่งรวมถึงหลังอาหารมื้อเที่ยงด้วย เพื่อช่วยทำความสะอาดในพื้นที่ที่ทำความสะอาดได้ยาก เช่น พื้นผิวร่องฟัน ซอกฟัน และพื้นที่ใต้เหงือก
- ควรใช้ไหมขัดฟัน (Dental floss silk) ขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง เพื่อช่วยทำความสะอาดซอกฟันที่ขนของแปรงสีฟันเข้าไปไม่ถึง ด้วยการเอาเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ออกจากซอกฟัน
หลังรับประทานอาหารทุกครั้งควรบ้วนปากในทันที

 

หนูน้อยวัย 3 ขวบ หวิดตาปอดเพราะฟันผุ


- ควรใช้ฟลูออไรด์ ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบของยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือยาเม็ดที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ (Fluoride) ถ้าใช้ชนิดกิน ควรปรึกษาทันตแพทย์ถึงขนาดและวิธีการใช้ เพราะถ้าใช้มากเกินไปอาจทำให้ฟันตกกระ หรือถ้ากินในขนาดสูงมาก ๆ อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ โดยฟลูออไรด์นี้จะช่วยเสริมสร้างผิวเคลือบฟันให้แข็งแรง แต่จะได้ผลดีสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 14 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ในวัยที่ฟันกำลังเจริญเติบโต
- สำหรับเด็กไม่ควรดูดนมจากขวดหรือดูดนมแม่จนหลับ เพราะจะทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย
การเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของ Xylitol จะช่วยลดการเกิดฟันผุได้ เนื่องจากสารชนิดนี้สามารถยับยั้งการใช้น้ำตาลของเชื้อแบคทีเรีย
- หมั่นไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำทุก 6-12 เดือน เพื่อจะได้ตรวจพบฟันผุตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ที่มักไม่มีอาการอะไรและรักษาให้หายก่อนที่โรคจะลุกลามมากขึ้น รวมไปถึงการตรวจช่องปาก ขูดหินปูน และทำความสะอาดฟัน ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรคฟันผุ ช่วยป้องกันและยับยั้งปัญหาในช่องปากและฟันอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น (โดยทั่วไปทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ทุกคนมาตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุก 6 เดือน หรืออาจบ่อยกว่านี้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เช่น ทุก ๆ 3 เดือนครั้งในรายที่มีความเสี่ยง)

 

หนูน้อยวัย 3 ขวบ หวิดตาปอดเพราะฟันผุ

 

อย่างไรก็ตามผู้ปกครองควรใส่ใจและดูแลเรื่องการแปลงฟันของเด็กๆ เพราะดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็มีอันตรายกับลูกน้องของคุณได้ เพราะฉะนั้นควรดูแลและป้องกันกันตั้งแต่เรื่องเล็กๆนะค่ะ

 

ขอบคุณ Arak Wongworachat//medthai