จากกรณีที่ ร.ต.อ. อัครเดช ฟูแสง รองสารวัตรสอบสวน สน.บางซื่อ รับแจ้งเหตไฟไหม้ร้านค้าภายในสวนจตุจักร แขวงและเขตจตุจักร กรุงเทพฯ จึงรุดตรวจสอบที่เกิดเหตุพร้อมประสานรถดับเพลิงป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขตจตุจักร และมูลธินิร่วมกตัญญู

จากกรณีที่ ร.ต.อ. อัครเดช ฟูแสง รองสารวัตรสอบสวน สน.บางซื่อ รับแจ้งเหตไฟไหม้ร้านค้าภายในสวนจตุจักร แขวงและเขตจตุจักร กรุงเทพฯ จึงรุดตรวจสอบที่เกิดเหตุพร้อมประสานรถดับเพลิงป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขตจตุจักร และมูลธินิร่วมกตัญญู

ที่เกิดเหตุอยู่บริเวณโครงการ 25 ซอย4 ที่เกิดเหตุพบแสงเพลิงจำนวนมากทั่วบริเวณทั้งโครงการ เจ้าหน้าที่ต้องใช้หัวดับเพลิงกว่า10 หัว เข้าระงับเพลิง โดยใช้เวลานานกว่า1 ชั่วโมงเพลิงจึงสงบ โดยไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต 

 

ผู้ว่าฯ กทม. ลงตรวจพื้นที่ความเสียหายที่ จตุจักร

 


เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากตอนเกิดเหตุร้านค้าทั้งหมดได้ปิดลงหมดแล้ว ซึ่งหลังจากนี้จะประสานเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานเพื่อเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

 

 

ผู้ว่าฯ กทม. ลงตรวจพื้นที่ความเสียหายที่ จตุจักร

ล่าสุดที่ตลาดนัดจตุจักร พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย นายเกรียงพล พัฒนรัฐ ประธานบอร์ดตลาดนัดกรุงเทพมหานคร นายวัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. นายอาฤทธิ์ ศรีทอง ผู้อำนวยการเขตจตุจักร และผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ภายในโครงการตลาดนัดสวนจตุจักร ภายหลังเกิดเพลิงไหม้ร้านค้าภายในโครงการ 25 และ 22 เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น.ของวันที่ 2 มิ.ย. 62 ที่ผ่านมา 

 

 

ผู้ว่าฯ กทม. ลงตรวจพื้นที่ความเสียหายที่ จตุจักร

 


โดย พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นเพลิงไหม้เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น.ที่บริเวณโครงการ 25 และ 22 โดยกินพื้นที่ 200 ตารางวา (ตร.ว.) หรือประมาณ 8,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) ส่วนใหญ่เป็นร้านขายเซรามิก เสื้อผ้าจำพวกผ้าไหม ผ้าแก้ว เครื่องจักรสารจากผักตบและไม้ไผ่ รวมถึงดอกไม้ประดิษฐ์ 

 

 


จากการสันนิษฐานเบื้องต้นเกิดจากไฟฟ้าลัดวรจร ซึ่งจะต้องรอเจ้าหน้าที่จากกองพิสูจน์หลักฐานเข้ามาตรวจสอบสาเหตุอย่างละเอียดอีกครั้ง สำหรับแนวทางเยียวยาผู้ค้าที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุเพลิงไหม้จากการหารือร่วมกับคณะกรรมการควบคุมจัดการตลาดนัดจตุจักรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมาตรการเบื้องต้น กรุงเทพมหานครจะเยียวยาผู้ค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ รวมทั้งสิ้น 110 ราย   

 

 


ทั้งนี้ กทม.จะช่วยดูแลเยียวยาผู้ค้าแผงค้าแผงละ 10,000 บาท รวมเป็นเงินกว่า 1,100,000 บาท ซึ่งกทม.พร้อมเยียวยาให้เสร็จภายในวันศุกร์ที่ 7 มิ.ย.นี้ สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร้านค้ายังประเมินมูลค่าความเสียหายไม่ได้ต้องรอให้เจ้าของแผงค้าเข้าไปตรวจสอบเสียก่อน ในกรณีที่ผู้ค้าบางรายทำประกันอัคคีภัยให้ผู้ค้ารีบแจ้งต่อประกันทันที

 

ผู้ว่าฯ กทม. ลงตรวจพื้นที่ความเสียหายที่ จตุจักร

 

นอกจากนี้ พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวต่อไปว่า  นอกจากนี้ กทม.จะเข้าพื้นที่เพื่อก่อสร้างซ่อมแซมแผงค้าที่เสียหายทั้งหมด จำนวน 110 แผง เบื้องต้นประเมินค่าซ่อมแผงละประมาณ 60,000บาทหรือรวมทั้งหมดประมาณ 6,600,000 บาท ซึ่งตามระเบียบผู้ค้าจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าซ่อมแซมเอง แต่กทม.จะออกค่าใช่จ่ายให้ โดยการซ่อมแซมแบ่งออกเป็น 4 ช่วง แบ่งการซ่อมช่วงละไม่เกิน 30 แผง คาดว่าจะซ่อมแซมเสร็จทั้งหมดภายใน 2 เดือน โดยจะดำเนินการให้แล้วเดือน ก.ค. 62 ระหว่างนี้ให้ผู้ค้าไปขายของที่เต็นท์ชั่วคราวที่ กทม.จัดเตรียมให้ 

 

 

ขณะเดียวกัน กทม.จะประสานการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เข้ามาตรวจสอบสายไฟฟ้าเมนหลักทั้งตลาด เนื่องจากจากการตรวจสอบแล้ว สายไฟฟ้าภายในโครงการมีสภาพเก่ามาก รวมถึงขอความร่วมมือเจ้าของแผงค้าแต่ละล็อคเปลี่ยนต่อพ่วงเข้าร้านค้าของตนเองด้วย อีกทั้ง กทม.จะงดเว้นค่าเช่าแผงกับผู้ค้าที่ได้รับความเสียหาย รวมทั้งสิ้น 110 รายเป็นระยะเวลา 1 ปีเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ค้า โดย กทม.มีความเห็นใจผู้ค้าที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี 

 

 

ทั้งนี้ กรณียกเว้นค่าเช่าแผง กทม.ไม่ได้งดเว้นค่าเช่าทั้งตลาด แต่เฉพาะส่วนที่ได้รับความเสียหายเท่านั้น ส่วนที่ไม่ได้รับความเสียหายจะต้องจ่ายค่าเช่าแผงตามปกติรายละ 1,800 บาทเช่นเดิม อย่างไรก็ตาม ภายในวันนี้ยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้

 

 

 

เนื่องจากต้องรอกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เข้าตรวจสอบพื้นที่ภายใน จากนั้นจะผู้ค้าเข้าไปตรวจสอบทรัพย์สินและความเสียหาย พร้อมให้ขนทรัพย์สินที่ไม่ได้รับเสียหายออกจากพื้นที่ และจะให้สำนักสิ่งแวดล้อมเข้าไปทำความสะอาดพื้นที่ให้เรียบร้อย ซึ่ง กทม.จะจัดตั้งเต็นท์ จำนวน 15 หลังเพื่อรองรับผู้ค้าเปิดร้านค้าขายชั่วคราวให้ขายในวันศุกร์-อาทิตย์นี้ เพื่อให้ผู้ค้าทำการค้าขายได้ตามปกติ

 

 

 

อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้ตั้งกองอำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยได้มีการประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เข้ามาสอบปากคำผู้ค้าที่ได้ความรับความเสียหาย พร้อมให้ผู้ค้ากรอกเอกสารเพื่อตรวจพิสูจน์สิทธิยืนยันเป็นผู้ค้าในโครงการดังกล่าว ส่วนมาตรการเยียวยาของ กทม.ในเบื้องต้นผู้ค้ามีความพึงพอใจกับมาตรการดังกล่าว
 

ผู้ว่าฯ กทม. ลงตรวจพื้นที่ความเสียหายที่ จตุจักร