รศ.ดร.เจษฎา ออกมาแจงอันตรายที่แท้จริงของชาไข่มุข

รศ.ดร.เจษฎา ออกมาแจงอันตรายที่แท้จริงของชาไข่มุข จากประเด็น"ข่าวเด็กจีนปวดท้อง เพราะเม็ดชานมไข่มุกไม่ย่อย" น่าจะเป็นการปั่นข่าวเกินจริง จากสื่อท้องถิ่นในจีน

จากกรณีที่มีการแชร์ข่าวกันในโซเชียลว่า มีรายงานข่าวจากสื่อท้องถิ่นจีน ระบุว่า "เด็กหญิง ชาวจีน มณฑลเจ้อเจียง อายุ 14 ปี ถูกหามส่งโรงพยาบาล เพราะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูกมาหลายวัน แพทย์ทำซีทีแสกนช่องท้อง พบว่าในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และทวารหนัก มีเม็ดชาไข่มุกไม่ย่อย เป็นร้อยลูก เรียงแถวอยู่ เลยให้กินยาถ่าย พร้อมคำเตือนว่า ไข่มุกในชานมซึ่งทำจากแป้งมันสำปะหลังนั้น ย่อยยาก แถมอาจมีส่วนผสมที่เพิ่มความเหนียวเข้าไปอีก อาจเป็นอันตรายต่อระบบย่อยอาหารได้"
 

รศ.ดร.เจษฎา ออกมาแจงอันตรายที่แท้จริงของชาไข่มุข

ซึ่ง รศ.ดร.เจษฎา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้โพสต์แจงความจริงไว้ว่า "เอาล่ะซิ ข่าวนี้ก็ทำเอาคนแตกตื่นกันใหญ่ กลายเป็นไวรัลไปในเว็บเพจของหลายประเทศเอเชียที่นิยมดื่มชานมใส่เม็ดไข่มุก ในบ้านเราก็มีสื่อกระแสหลักทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวทีวีช่องต่างๆ รายงานกับเค้าด้วย

รศ.ดร.เจษฎา ออกมาแจงอันตรายที่แท้จริงของชาไข่มุข

.

รศ.ดร.เจษฎา ออกมาแจงอันตรายที่แท้จริงของชาไข่มุข

แต่ถ้าเราเช็คจากสื่อกระแสหลักของจีน หรือของสำนักข่าวที่เป็นทางการ กลับไม่พบข่าวนี้แต่อย่างไร ... และข่าวทำนองนี้ ที่สื่อท้องถิ่นจีนอ้างว่า "เม็ดไข่มุกกินเข้าไป แล้วพอซีทีแสกนก็เจอนว่ามันไม่ย่อย" แถมอ้างอีกว่า ไข่มุกทำจาก "ยางรถยนต์เก่าและพื้นรองเท้ายาง" ก็เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งผมเคยอธิบายแย้งไว้แล้ว ว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง น่าจะเป็นการเต้าข่าวสร้างเรื่องของสื่อมวลชนท้องถิ่นจีนด้วยซ้ำ (ดู https://www.facebook.com/jessada.denduangboripant/posts/699653113498659?pnref=story)

จริงๆ แล้ว เม็ดไข่มุกนั้น ทำจากแป้งมันสำปะหลัง กวนผสมกับน้ำเชื่อมของน้ำตาลทรายแดง ปรุงแต่งกลิ่นสี แล้วปั้นเป็นเม็ด ก่อนที่จะไปต้มอีกครั้ง (นึกภาพแบบการทำเม็ดบัวลอย) จึงเป็นอาหารที่ย่อยได้ไม่ยากอะไร เพราะร่างกายของคนเราสามารถย่อยแป้งและน้ำตาลได้โดยง่าย

 

รศ.ดร.เจษฎา ออกมาแจงอันตรายที่แท้จริงของชาไข่มุข

(ภาพจากDrama-addict)

โดยปรกติแล้ว เมื่อเรากินเม็ดไข่มุกซึ่งมีส่วนผสมหลักเป็นแป้งและน้ำตาลเช่นนี้ ปากของเราจะช่วยเคี้ยวให้เม็ดแป้งกลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเอนไซม์อะไมเลสในน้ำลาย (salivary amylase) จะคลุกเคล้าผสมกับอาหาร และทำการย่อยแป้ง ไปตลอดเส้นทางที่ก้อนอาหารเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหารลงไปจนถึงกระเพาะ ซึ่งแม้ว่าน้ำย่อยที่เป็นกรดรุนแรงของกระเพาะเรา จะหยุดการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสไปบ้าง แต่อะไมเลสที่ซึมอยู่ในก้อนอาหารนั้นแล้วก็จะทำงานย่อยแป้งต่อไป

 

รศ.ดร.เจษฎา ออกมาแจงอันตรายที่แท้จริงของชาไข่มุข

 

จากนั้น เมื่ออาหารที่ย่อยที่กระเพาะส่วนนึงแล้ว เคลื่อนที่ต่อไปที่ลำไส้เล็ก กระบวนการย่อยแป้งก็จะทำงานอย่างเต็มที่ในบริเวณลำไส้เล็กนี้ โดยผนังลำไส้เล็กจะปล่อยเอนไซม์เด็กซตรินเนส (dextrinase) และกลูโคอะไมเลส (glucoamylase) มาย่อยแป้งและโพลีซัคคาไรด์ (polysaccharide) ให้กลายเป็นโอลิโกซัคคาไรด์ (oligosaccharide) จากนั้นเอนไซม์อะไมเลสจากตับอ่อน (pancreatic amylase) และเอนไซม์อื่นๆ จากตับอ่อน (pancreas) จะย่อยโอลิโกซัคคาไรด์ต่อไป จนสุดท้ายได้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ก่อนที่ลำไส้เล็กจะดูดซึมไปใช้งานในร่างกาย

 

รศ.ดร.เจษฎา ออกมาแจงอันตรายที่แท้จริงของชาไข่มุข

 

ดังนั้น การที่ข่าวเรื่อง "เด็กหญิง 14 ปี มีเม็ดไข่มุกเต็มลำไส้ ไปจนถึงทวารหนัก" นั้น ก็คงเป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะถึงแม้ว่าเธอจะกลืนเม็ดไข่มุกเข้าไปเยอะๆ โดยไม่เคี้ยวเลย แล้วมันก็ผ่านกระเพาะอาหารไปได้ ยังไงเสีย เม็ดแป้งน้ำตาลพวกนี้ ก็ต้องโดนย่อยจนเกลี้ยงหมดที่ลำไส้เล็กแล้ว ไม่หลงเหลือมาเป็นเม็ดๆ ที่ลำไส้ใหญ่ หรือจนถึงลำไส้ตรงเพื่อออกทวารหนึกส่วนรูปซีทีแสกนที่เป็นข่าวกันนั้น ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรูปเอ็กซเรย์ช่องท้องทั่วไป ก็คือแนวของลำไส้ใหญ่ ผมถามเพื่อนๆ หมอแล้ว (เช่น คุณหมอแมว) พบว่า มันก็น่าจะเป็นแค่ก้อนของกากอาหารที่ค้างอยู่ในลำไส้ (พูดง่ายๆ ก็คือ อึ) นั่นแหล่ะ) .. กินยาถ่าย เดี๋ยวก็ดีขึ้น

สรุปก็คือ เรื่องที่บอกว่า "เม็ดไข่มุก ย่อยยาก ตกค้างในลำไส้ยันทวารหนัก จนปวดท้องได้นั้น" ผมเชื่อว่าพูดเกินไปเยอะครับ แต่อย่างไรเสีย เวลากินชานมไข่มุกนั้น ก็ควรเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนครับ เคยเห็นมีเหตุในต่างประเทศมาแล้ว ที่เด็กดูดเม็ดไข่มุกเข้าไป ไม่เคี้ยวเสียก่อน แล้วดันเข้าไปติดในหลอดลม จนเป็นอันตรายมาแล้ว ปล. อ่อ .. อันตรายจริงๆ จากชานมไข่มุกคือ มันมีน้ำตาล แป้ง ไขมัน สูงมาก กินกันน้อยๆ หน่อยก็ดีนะครับ"


ขอบคุณ Jessada Denduangboripant