เหนือ อีสาน ใต้ ฝนเยอะกว่าภาคอื่น กทม. ตกบ่ายถึงค่ำร้อยละ 20

กรมอุตุฯ เผย ประเทศไทยฝนน้อยในระยะนี้ ยกเว้นภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง ฝนมากกว่าที่อื่นๆ ทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 ม.

วันนี้ (12 ก.ค.) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีปริมาณฝนน้อยในระยะนี้ เว้นแต่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนล่างยังคงมีการกระจายของฝนมากกว่าบริเวณอื่นๆ สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร  ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยามรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนน้อยในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน
 

กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือมีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน กำแพงเพชร และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคกลางมีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

อุตุ

ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูลอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

พยากรณ์อากาศ

อากาศ 7 วันที่ผ่านมา  
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ ซึ่งต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเมื่อเวลา 19.00 น. ของวันเดียวกัน และทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็นพายุโซนร้อน “มูน” (MUN 1904) เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 2 ก.ค. ก่อนเคลื่อนตัวผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยแล้วเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนเมื่อเวลา 04.00 น. ของวันที่ 4 ก.ค. จากนั้นได้เคลื่อนตัวลึกเข้าไปในแผ่นดินแล้วอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเมื่อเวลา 10.00 น. และเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนในวันต่อมา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอ่อนกำลังลง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่น ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนทางตอนบนของภาค

กรมอุตุนิยมวิทยา
อากาศรายเดือน 
คาดหมาย ในเดือนนี้ บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบทั่วประเทศ กับจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากรวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในบางแห่ง สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง ความสูงของคลื่น 2 - 3 เมตรในบางช่วง ส่วนอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ทั้งนี้เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย โดยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ ประกอบกับ ในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ มักจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าใกล้ และอาจจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สรุปเดือนนี้ คาดว่า ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าปกติ ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติ 0.5-1 องศาเซลเซียส 

รายงานสภาพอากาศ

ข้อควรระวัง เดือนนี้ มักจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และอาจเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ แล้วมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนเข้าใกล้ประเทศไทย ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น จึงขอให้ประชาชนติดตามข่าวพยากรณ์อากาศและคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาไว้ด้วย
ฝนตก

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- กรมอุตุ คาดการณ์ ประเทศไทย ฝนลดลง
- กรมอุตุฯ คาดการณ์ มรสุมอ่อนแรง มีฝนลดลง
- กรมอุตุฯเตือน 10 - 14 ก.ค.ไทยตอนบนมีฝนเพิ่ม กทม.ตกหนัก 40-60 ของพื้นที่
- กรมอุตุฯ เตือน 32 จังหวัด มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่