ขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ครูพีททำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

จากกรณีเกิดเหตุเครื่องบินรบของกองทัพอากาศที่ใช้ฝึกบินประสบอุบัติเหตุระหว่างการซ้อมบินแล้วตกลงบริเวณพื้นที่เขตรอยต่อระหว่างบ้านเกาะกลาง ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กับบ้านป่าเปอะ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงเย็นวันที่ 11 ก.ค. 62 ทำให้เรืออากาศโท ธีรวัฒน์ คูณขุนทด นักบินที่ 1 บาดเจ็บเล็กน้อย และนาวาอากาศตรี ณฤพล เลิศกุศล นักบินที่ 2 ซึ่งเป็นครูการบิน เสียชีวิต
 

ขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ครูพีททำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

 

สำหรับนาวาอากาศตรี ณฤพล ที่เสียชีวิตนั้น เป็นผู้เสียสละชีวิตตนเอง โดยให้ เรืออากาศโท ธีรวัฒน์ ที่เป็นลูกศิษย์ซึ่งมาฝึกบิน ได้กดปุ่มเพื่อดีดตัวออกจากเครื่องไปก่อน ส่วนตนเองพยายามบังคับเครื่องให้ไปในทิศทางป่า เพื่อไม่ให้ตกลงในชุมชน บ้านเรือนประชาชน แต่ก่อนที่เครื่องจะตกได้พยายามดีดตัวเองออกมาจากเครื่อง แต่ด้วยความสูงที่ไม่ได้ระดับ เพียง 2,000 ฟุต ทำให้ร่มกางไม่ทัน จึงทำให้ร่างของ น.ต.ณฤพล กระแทกเข้ากับต้นไม้และตกลงสู่พื้นเสียชีวิต


ขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ครูพีททำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

.

ขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ครูพีททำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Chanon Ratinawakul” ได้โพสต์คลิปวิดีโอที่กล้องติดตั้งหน้ารถยนต์บันทึกไว้ได้ระหว่างกำลังขับข้ามสะพานป่าแดด-ท่าวังตาล ขาออกเมือง

 

ขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ครูพีททำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

 

ระบุว่าเป็นเวลาประมาณ 15.55 น.ของวันที่ 11 ก.ค. 62 เผยให้เห็นวินาทีที่เครื่องบินของกองทัพอากาศที่เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวกำลังตกลงสู่พื้น 

 

ขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ครูพีททำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

 


ซึ่งคลิปดังกล่าวมีการเผยแพร่ออกไปเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และมีผู้รับชมเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งแสดงความอาลัยต่อนักบินที่เสียชีวิต

 

ขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ครูพีททำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

 

ล่าสุดทางเพจเฟซบุ๊ก "ThaiArmedForce.com" ได้โพสต์ข้อความโดยระบุดังนี้

 

หนึ่งในขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ซึ่งมีกระบวนการฝึกตามหลักสากล คือการพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่สละอากาศยานเป็นสำคัญ


ในทุกเทียวบินต้องมีการประชุมสรุปก่อนขึ้นบิน(Brief)จะต้องมีการระบุถึงการปฏิบัติหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ตั้งแต่พื้นที่การปลดอาวุธ บริเวณลงจอดฉุกเฉินหากเครื่องไม่สามารถประคองมาถึงฐานบินได้ ทั้งหมดเพื่อป้องกันความสูญเสียของประชาชนเป็นหลักสำคัญ 


จากกรณีการสูญเสียอากาศยานขับไล่/ฝึกแบบL-39ZA/ART ในวันนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่นักบินผู้ทำหน้าที่ครูการบิน(IP/Instructor Pilot )ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนนิรภัยการบินอย่างถูกต้อง ตั้งแต่การเกิดเหตุเครื่องยนต์ดับกลางอากาศ ได้มีการแจ้งขานเหตุฉุกเฉิน(Emergency)เนื่องจากL-39อัลบาทรอสแม้จะสูญเสียกำลังขับไปแล้วก็ยังมีแรงยกจากปีกที่สามารถประคองเครื่องให้เข้าหาพื้นที่กองบิน41จังหวัดเชียงใหม่ให้มากที่สุด แต่ด้วยสภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบปัจุบันเต็มไปด้วยชุมชนอยู่เป็นจำนวนมากทำให้นักบินต้องพิจารณาประเมินสภาวะของตัวอากาศยานและเลือกพื้นที่สำหรับการดีดตัวออกจากอากาศยาน เพราะหากดีดตัวออกไปแล้วเครื่องจะอยู่ในสภาวะขาดการควบคุม พื้นที่จุดตกนี้จึงเป็นจุดสุดท้ายที่นักบินจะตัดสินใจสละอากาศยานเพราะหากจากเลยแนวนี้คือแม่น้ำปิงที่ไม่มีชุมชนตั้งอยู่ แม้จะห่างจากพื้นที่กองบิน41ราว3กิโลเมตร แต่โดยรอบพื้นที่สนามบินเชียงใหม่ก็เต็มไปด้วยชุมชนโดยรอบและเครื่องก็สูญเสียแรงขับจนเกือบจะสูญเสียการควบคุมแล้วเช่นกัน


ด้วยขั้นตอนการสละอากาศยานที่ครูการบินต้องให้ศิษย์สละเครื่องก่อน เพื่อให้ครูการบินที่มีทักษะการบินที่สูงกว่าเป็นผู้รักษาอาการเครื่องไว้ให้นานที่สุด จึงเป็นเหตุให้ครูการบินต้องทำการสละเครื่องช้ากว่าระดับความสูงที่ปลอดภัยในการดีดตัว เนื่องจากเก้าอี้ดีดตัวของL-39เป็นแบบVS-1ที่ต้องมีระยะสูงเพียงพอในการจุดระเบิดออกจากเครื่องเพื่อให้ร่มชูชีพกางออกเต็มระบบ แตกต่างจากเก้าอี้ดีดตัวของมาร์ตินเบเกอร์ที่ติดตั้งในF-16,T-50 และกริปเป้นที่กองทัพอากาศมีใช้ในประจำการ
TAFขอร่วมสดุดีการตัดสินใจของนาวาอากาศตรี ณฤพล เลิศกุศล Instructor pilotของฝูงบิน411ที่สามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนได้จนถึงวินาทีสุดท้าย

 

ขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ครูพีททำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

 

ขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ครูพีททำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

 

ขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ครูพีททำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

 

 

 

ขอบคุณ Chanon Ratinawakul