ว่อนโซเชียล ภาพพระคึกฤทธิ์จับมือแหม่ม บนหน้าหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ

จากกรณีที่ได้มีภาพพระคึกฤทธิ์ ที่ได้จับมือแหม่ม ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเป็นจำนวนมาก ว่าความประพฤติดังกล่าว เข้าข่ายผิดวินัยสงฆ์หรือไม่

จากกรณีที่ได้มีภาพพระคึกฤทธิ์ ที่ได้จับมือแหม่ม ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเป็นจำนวนมาก ว่าความประพฤติดังกล่าว เข้าข่ายผิดวินัยสงฆ์หรือไม่ โดยทาง เฟสบุ๊ค ดร.ณัฐนันท์ สุดประเสริฐ หรือครูนัท ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวโดยระบุข้อความว่า

 

ว่อนโซเชียล ภาพพระคึกฤทธิ์จับมือแหม่ม บนหน้าหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ

 

 

จากกรณีภาพต้นเรื่องในเพจแฉไลน์ฉาวพระคึกฤทธิ์ นัทได้ตามเรื่องต่อ เพราะอยากทราบว่าภาพนี้ตัดต่อมาหรือไม่ จนพบต้นทาง นัทจึงสอบถามไป ทางผู้ให้ข้อมูลแจ้งว่า เป็นภาพจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเยอรมันฉบับหนึ่ง นัทจึงขอให้ช่วยส่งหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวทั้งเล่ม มาให้นัทที่ประเทศไทยค่ะ นัทรอคำตอบอยู่ หวังว่าจะได้ของจริงมาค่ะ เบื้องต้น นัทจึงไม่อาจยืนยันได้ว่าภาพนี้ตัดต่อหรือไม่อย่างไร รอสักหน่อย หากมีความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบนะคะ

 

ภาพพระคึกฤทธิ์จับมือแหม่ม บนหน้าหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ

 

ทั้งนี้ได้มีการพูดถึงเรื่องราวของการกระทำดังกล่าวของพระคึกฤทธิ์ว่า เป็นการต้องอาบัติหรือไม่ โดยระบุข้อความว่า จิตไม่กำหนัด ไม่อาบัติจริงหรือ ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ 
๒. ภิกษุถูกต้องเพราะไม่มีสติ 
๓. ภิกษุไม่รู้ 
๔. ภิกษุไม่ยินดี 
๕. ภิกษุวิกลจริต 
๖. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน 
๗. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา 
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ 

****ไม่มีเรื่องจิตไม่กำหนัด

การที่ภิกษุผู้สัมผัสด้วยกายหญิงจะไม่ต้องอาบัติใดๆ นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ภิกษุไม่ได้เป็นผู้แอ๊คชั่นด้วย เช่น หญิงมาเดินชนภิกษุเอง หญิงมาจับมือภิกษุเองโดยภิกษุไม่ได้ยินดี กรณีมีตัวอย่างตามพระวินัยปิฎก ดังนี้

สมัยนั้น หญิงจำนวนมากจับแขนต่อๆ กันโอบภิกษุรูปหนึ่งพาไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ” “ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ”

 

ภาพพระคึกฤทธิ์จับมือแหม่ม

แต่หากภิกษุเป็นผู้แอ๊คชั่นเอง ถึงอย่างไรก็ต้องมีอาบัติ มากน้อยขึ้นอยู่กับความกำหนัด และวิธีการสัมผัสจับต้อง หากมีความกำหนัดก็อาบัติตั้งแต่สังฆาทิเสสเป็นต้นไป หากไม่กำหนัดก็ต้องอาบัติทุกกฏ กำหนัดหรือไม่ ตนเองเท่านั้นที่รู้

ภิกษุไม่มีกำหนัด จับต้องกายบุตรสาวและน้องสาว ยังเป็นอาบัติทุกกฏ (อาบัติเพราะไม่ควรกระทำ) ดังพระวินัยปิฎก

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องธิดาด้วยความรักฉันพ่อลูก ท่านเกิดความกังวล ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ”

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องน้องสาวด้วยความรักฉันน้องสาว ท่านเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง อาบัติทุกกฏ”

วันนี้จับมือได้ ไปบ้านเมืองที่ต้อนรับทักทายด้วยการสวมกอด หอมแก้ม ก็ต้องทำได้ อ้างไม่กำหนัดงั้นหรือ ความเหมาะสมอยู่ตรงไหนกัน คำถามเหล่านี้ต้องตอบสังคมให้ได้ แค่อาศัยศิษย์ไม่กี่คนอวยในโซเซี่ยลไม่ได้ช่วยอะไร เพราะถึงวันที่สื่อใหญ่ถาม สังคมถาม ศาลถาม ท่านต้องตอบเอง

 

และล่าสุด ศิษย์พระคึกฤทธิ์ รับแล้วว่าภาพจริง ไม่ใช่ภาพตัดต่อค่ะ อ้างเผยแผ่คำสอนถึงเยอรมัน น่าอนุโมทนา ตัวเองยังทำตามสิกขาบทไม่ได้ เจตนาฝ่าฝืนชัดเจน จะไปเผยแผ่คำสอนอะไรได้ เผยแผ่คำสอน ทั้งที่ตนไม่ปฏิบัติตามคำสอน ?

ดูกรจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จม อยู่ในเปือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้

ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ผู้ที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้. ผู้ที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่น ดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

 

ว่อนโซเชียล ภาพพระคึกฤทธิ์จับมือแหม่ม บนหน้าหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟสบุ๊ค ดร.ณัฐนันท์ สุดประเสริฐ

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพระคติธรรมวันอาสาฬหบูชา
-วิธีเพิ่มบุญ วันพระใหญ่ ชีวิตดี เจริญรุ่งเรือง
-วิธีการไหว้ พระภูมิเจ้าที่-ศาลตายาย เพื่อความเจริญรุ่งเรืองให้แก่คนในบ้าน
-ตรีศูล ของทูลพระขวัญจาก รัชกาลที่ 5 ถวายแด่พระจักรพรรดิฟรันซ์ โจเซฟ