สนธิ ลิ้มทองกุล พ้นกรรมแล้ว  อธิบดีกรมราชทัณฑ์  ยันเข้าเงื่อนไขได้รับการปล่อยตัว  ปัดมีใบสั่งการเมือง

จากกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล น.ส.เสาวลักษณ์ และ น.ส.ยุพิน คนละ 20 ปี ซึ่งคำฟ้องระบุว่า ระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2539 ถึง 31 มีนาคม 2540 จำเลยทั้ง 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท แมเนเจอร์ฯ ได้ร่วมทำสำเนารายงานการประชุมของกรรมการบริษัทที่เป็นเท็จว่า มีมติให้บริษัทเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้กับบริษัท เดอะ เอ็ม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งนายสนธิ จำเลยที่ 1 ถือหุ้นอยู่ รวม 6 ครั้ง จำนวน 1,078 ล้านบาท โดยไม่ได้ขออนุมัติจากมติที่ประชุมกรรมการบริษัท

จากกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล น.ส.เสาวลักษณ์ และ น.ส.ยุพิน คนละ 20 ปี ซึ่งคำฟ้องระบุว่า ระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2539 ถึง 31 มีนาคม 2540 จำเลยทั้ง 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท แมเนเจอร์ฯ ได้ร่วมทำสำเนารายงานการประชุมของกรรมการบริษัทที่เป็นเท็จว่า มีมติให้บริษัทเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้กับบริษัท เดอะ เอ็ม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งนายสนธิ จำเลยที่ 1 ถือหุ้นอยู่ รวม 6 ครั้ง จำนวน 1,078 ล้านบาท โดยไม่ได้ขออนุมัติจากมติที่ประชุมกรรมการบริษัท 
 

และยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงบัญชีไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยไม่ได้นำภาระการค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นบริษัท แมเนเจอร์ฯ ขาดประโยชน์ที่ควรจะได้รับ รวมทั้งเป็นการลวงให้นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ได้รับรู้ถึงการค้ำประกันหนี้ดังกล่าว

 

นายสนธิ ลิ้มทองกุล

 

ล่าสุดพันตำรวจเอก ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่าทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้ทำการปล่อยตัว นายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 72 ปี ผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม ที่ต้องคดีความผิดเกี่ยวกับ กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และอื่นๆ ซึ่งรับโทษมาแล้ว 3 ปี 1 เดือน ขณะที่นายสนธิ อยู่ภายในเรือนจำมีความประพฤติดี ช่วยเหลืองาน ของทางราชการหลายอย่าง และมีความก้าวหน้าในเรื่องการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของกรมราชทัณฑ์ครบถ้วนเรียบร้อย ประกอบกับเป็นผู้ที่มีอายุเกินกว่า 70 ปี และมีโรครุมเร้าหลายอย่าง ตามข้อเท็จจริงแล้วนายสนธิฯน่าจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานอภัยโทษเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

 

 

นายสนธิ ลิ้มทองกุล

 

ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2562 เนื่องจากเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 70 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเข้าข่ายจะต้องได้รับการปล่อยตัวไปตามมาตรา 6 (2)(จ) แต่มีการตีความทางกฎหมายว่านายสนธิฯกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ตามบัญชีแนบท้าย จึงเข้าข้อยกเว้นไม่ปล่อยตัว เพียงแค่ลดโทษลงแทน ต่อมาได้มีนักโทษชายรายหนึ่งยื่นอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการอภัยโทษ โดยโต้แย้งว่าตนเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่สถาบันการเงิน

 

นายสนธิ

 

ดังนั้นจึงไม่เข้าองค์ประกอบตามที่ระบุไว้ในบัญชีแนบท้าย ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้ยื่นเรื่องขอหารือการตีความข้อกฎหมายดังกล่าวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และในวันที่ 3 กันยายน 2562 เวลา 13.30 น ได้มีการประชุมสามฝ่ายประกอบด้วยรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาทั้งสามท่าน หัวหน้าผู้พิพากษาแผนกคดีค้ามนุษย์ หัวหน้าผู้พิพากษาแผนกคดียาเสพติด ผู้แทนอัยการสูงสุด และอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ผลปรากฎว่ายืนยันการตีความทางกฎหมายเป็นคุณกับผู้ร้อง คำร้องของผู้ร้องฟังขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกับกรณีของนายสนธิฯแล้วเป็นข้อเท็จจริงในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น นายสนธิฯจึงเข้าข่ายได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น

 

พระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว


โดย พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เคยให้ข้อมูลคุณสมบัติของผู้เข้าเกณฑ์พักการลงโทษในฐานะผู้ต้องขังชรา ต้องมีอายุ 70 ปี ขึ้นไป  และได้รับโทษจำคุกมาแล้ว 2 ใน 3 ของโทษจำคุก 2 ปี  ส่วนหลักการปล่อยตัวผู้ต้องขังก่อนครบกำหนดตามคำพิพากษามีอยู่ 3 กรณี แบ่งเป็น 


1.เป็นกฎหมายพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในห้วงระยะเวลาเป็นมงคลของแผ่นดินในช่วงต่างๆซึ่งเป็นทำในภาพรวม และต้องมีกระบวนการรอบคอบรัดกุม มีกรรมการคัดเลือกส่งเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณา (ครม.) เสนอต่อไป เพราะเป็นการปล่อยกลุ่มใหญ่ แต่ขณะนี้ยังไม่มี


2.พักการลงโทษกรณีปกติ โดยมีกลไกในการคัดเลือกอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการพักการลงโทษ ซึ่งจะมีปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน มีผู้แทนศาล อัยการสูงสุด สตช. กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ กระทรวงสาธารณสุข ทั้งหมดจะร่วมกันพิจารณา โดยกลุ่มที่เข้าข่ายได้รับการพักโทษจะต้องรับโทษมาแล้ว 1ใน 3 เช่นโทษ 3 ปี ต้องจำคุกมาแล้ว 1 ปี และเหลือโทษไม่เกิน 1 ใน 3 หรือต้องรับโทษที่เหลืออีกไม่เกิน 1 ปี 


3.พักการลงโทษกรณีพิเศษ เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะเป็นผู้อนุมัติ โดยผ่านการกลั่นกร

 

ทั้งนี้ จิตตนาถ ลิ้มทองกุล บุตรชาย กับ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย  ไปเฝ้ารอรับที่เรือนจำอีกด้วย

 

อธิบดี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-“ยิ่งลักษณ์” โพสต์ส่งกำลังใจ คนไทยเผชิญน้ำท่วมปี 62 ภาพ “เอาอยู่” ผุดขึ้นมาทันที 8 ปีแล้ว ยังไม่มีใครทุบสถิติทำเสียหาย??
-มาดามเดียร์ ลั่น เอาจริงเรื่องแก้ปัญหาน้ำ ไม่ใช่ดีแต่พูด กรีดฝ่ายค้านมัวแต่ยุ่งปมถวายสัตย์ ไม่ช่วยเหลือ ปชช.เดือดร้อน
-ส.ส.ฝ่ายค้านดาหน้า กดดันห้ามประชุมลับ “อภิปรายปมถวายสัตย์” วิปรัฐบาลอย่าง “วิรัช” พูดเต็มปาก ใครก้าวล่วง..รับผิดชอบเอง!??
-โฆษกฯไทยศรีวิไลย์ เผย มงคลกิตติ์’เตรียมลงพื้นที่ให้กำลังใจ ปชช. ที่ประสบอุทกภัยจาก พายุโพดุล ช่วงสัปดาห์นี้