กรมอุตุฯ ประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 10 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 10 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา"พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 6 มีนาคม 2563)"ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 06 มีนาคม 2563

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 10 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน

 

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้วันที่ 6 มีนาคม 2563  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 10 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 10 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 10 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 10 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน

 

ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 05.00 น.ประกาศฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้(ลงชื่อ) นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ (สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์)  อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 10 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน